งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กฎหมายแรงงาน นพ. จรัส โชคสุวรรณกิจ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กฎหมายแรงงาน นพ. จรัส โชคสุวรรณกิจ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กฎหมายแรงงาน นพ. จรัส โชคสุวรรณกิจ
กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางอาชีวเวชศาสตร์ฯ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

2

3 รัฐธรรมนูญ พระ ราช บัญญัติ พระ ราช กำหนด พระ ราช กฤษฎีกา กฎ กระทรวง ระเบียบ ข้อ บังคับ ประกาศ คำ สั่ง

4 กฏหมายแรงงานที่สำคัญ มี 6 ฉบับ ดังนี้ คือ

5

6 ปัญหาการวินิจฉัยผู้ป่วยที่เกิดจากการทำงาน
การวินิจฉัยมากเกินไป หรือ น้อยเกินไป การให้การวินิจฉัยว่าเป็น Occupational Disease หรือ Work Related Disease มีหลักเกณฑ์ทางวิชาการ และ ทางกฏหมายอย่างไร? การวินิจฉัยโรคที่เกิดจากการทำงาน การวินิจฉัยมากเกินไป เช่น คนงานอาจจะมีอาการอื่นๆ ซึ่งเป็นโรคที่ไม่เกี่ยวกับสารเคมี แต่ให้การวินิจฉัยว่าเป็นจากสารเคมี ซึ่งทำให้ไม่ได้รักษาโรคที่เป็นแท้จริงและทำให้เกิดความเข้าใจผิด หรือการวินิจฉัยน้อยเกินไป คือคนงานเป็นโรคที่เกิดจากการทำงานแต่แพทย์ไม่ได้ให้การวินิจฉัย ทั้งสองอย่างนี้เป็นสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง ในการวินิจฉัยภาวะดังกล่าวอาจมีผลกระทบกระเทือนถึงคนงาน นายจ้าง หรือแม้แต่รัฐบาลซึ่งดูแลเรื่องกองทุนทดแทน ทั้งนี้ในการวินิจฉัยให้ถูกต้องจะต้องขึ้นอยู่กับการชำนาญของแพทย์ และบนรากฐานวิชาการที่แท้จริง ประเด็นที่สองที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยคือ การให้การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยป่วยจากสารเคมีนั้นเป็นการวินิจฉัยแบบ cause และ effect หรือ etiologic diagnosis ซึ่งการจะบอกว่าอะไรเป็นสาเหตุของอะไรนั้น ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มากในวงนักวิชาการในแขนงต่างๆ ผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษอาจจะไม่แสดงอาการ หรือมีอาการรุนแรงมาก ขึ้นอยู่กับกลไกการเกิดโรคและความต้านทานของร่างกาย ผู้ป่วยอาจจะเป็นโรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายๆ กับภาวะสารเป็นพิษ ทำให้เข้าใจผิดก็ได้

7 ในการวินิจฉัยแบบ cause และ effect หรือ etiologic diagnosis ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่มากในวงนักวิชาการ เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษอาจจะไม่แสดงอาการ หรือมีอาการรุนแรงมาก ขึ้นอยู่กับกลไกการเกิดโรคและความต้านทานของร่างกาย หรือ ผู้ป่วยอาจจะเป็นโรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายๆ กับภาวะสารเป็นพิษ

8 ตัวอย่าง การให้การวินิจฉัยภาวะเป็นพิษจากสารเคมี
1. สารเคมีนั้นทำให้เกิดอาการของผู้ป่วยได้หรือไม่ (toxic syndrome) 2. ประวัติสัมผัสสารเคมี (exposure)  3. ระดับสารเคมีในเลือด (toxic level) การวัดระดับสารเคมี ในเลือดหรือในเนื้อเยื่อ 4. โรคอื่นที่อาจจะเป็นสาเหตุของอาการนั้นๆ (underlying diseases) 5. การหยุดการสัมผัสสารเคมีและการรักษา (detoxification and treatment) น่าที่จะทำให้อาการต่างๆ ดีขึ้น  ในการให้การวินิจฉัยภาวะเป็นพิษจากสารเคมีดังนี้  1. สารเคมีนั้นทำให้เกิดอาการของผู้ป่วยได้หรือไม่ (toxic syndrome)   ขั้นตอนนี้เป็นการวิเคราะห์อาการแสดงของโรคจากการซักประวัติ และตรวจร่างกาย และระยะเวลาที่เกิดอาการนั้นๆ เทียบกับภาวะเป็นพิษจากสารเคมีนั้นๆ จากหนังสือ ตำรา หรือ รายงานในวารสารการแพทย์  โดยที่ดูว่าอาการดังกล่าวเข้ากันได้กับภาวะเป็นพิษหรือไม่ และพบได้บ่อยมากน้อยเพียงใด  2. ประวัติสัมผัสสารเคมี (exposure)  ผู้ป่วยได้สัมผัสกับสาร เคมีนั้นๆ มากน้อยเพียงใดโดยดูกับระดับของสารเคมีในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ชนิดของงาน ระยะเวลาในการทำงานในแต่ละราย เวลาที่ผู้ป่วย ทำงานทั้งหมด และสภาพการใช้เครื่องป้องกันสารเคมีหรือสุขลักษณะที่เกี่ยวข้อง  3. ระดับสารเคมีในเลือด (toxic level) การวัดระดับสารเคมี ในเลือดหรือในเนื้อเยื่อต่างๆ เป็นการยืนยันการวินิจฉัยภาวะเป็นโรค จากสารเคมีนั้นๆ โดยเฉพาะกรณีที่ระดับของสารเคมีอยู่ในเกณฑ์ที่ สูงมาก  4. โรคอื่นที่อาจจะเป็นสาเหตุของอาการนั้นๆ (underlying diseases) ในคนงานทั่วไปอาจจะมีโรคอยู่ด้วย โรคนั้นๆ อาจจะเป็น สาเหตุของการที่ผู้ป่วยเป็นโดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ดังนั้นจะ ต้องพยายามแยกว่าอาการนั้นๆ เป็นจากสารเคมีหรือโรคของผู้ป่วย เอง  5. การหยุดการสัมผัสสารเคมีและการรักษา (detoxification and treatment) การที่ผู้ป่วยหยุดสัมผัสสารเคมี และได้รับการ รักษาที่ถูกต้องน่าที่จะทำให้อาการต่างๆ ดีขึ้น 

9 การวินิจฉัยภาวะเป็นโรคจากการทำงาน
definite คือ อาการเป็นโรคจากการทำงานเข้าได้กับ criteria ที่กล่าวมาแล้วชัดเจน probable คือ อาการนั้นๆ ค่อนข้าง typical ที่เกิดจากสารเคมีและผู้ป่วยไม่มี underlying disease ที่อธิบายอาการนั้นๆ possible คือ อาการค่อนข้าง typical ที่เกิดจากสารเคมี แต่ผู้ป่วยมี underlying disease ที่อาจอธิบายอาการของผู้ป่วยได้ doubtful คือ อาการที่เกิดขึ้นไม่น่าที่จะเกิดจากสารเคมีนั้นๆ และน่าจะเป็นจากอาการของโรคของผู้ป่วยเอง ในการวินิจฉัยภาวะเป็นโรคจากการทำงาน บ่อยครั้งแพทย์ไม่สามารถจะให้การวินิจฉัยให้แน่นอนได้ การวินิจฉัยจึงต้องแบ่งตามโอกาสของความน่าจะเป็น เช่น definite คือ อาการเป็นโรคจากการทำงานเข้าได้กับ criteria ที่กล่าวมาแล้วชัดเจน probable คือ อาการนั้นๆ ค่อนข้าง typical ที่เกิดจากสารเคมีและผู้ป่วยไม่มี underlying disease ที่อธิบายอาการนั้นๆ possible คือ อาการค่อนข้าง typical ที่เกิดจากสารเคมี แต่ผู้ป่วยมี underlying disease ที่อาจอธิบายอาการของผู้ป่วยได้ doubtful คือ อาการที่เกิดขึ้นไม่น่าที่จะเกิดจากสารเคมีนั้นๆ และน่าจะเป็นจากอาการของโรคของผู้ป่วยเอง

10 เมื่อมีการวินิจฉัยโรคจากการทำงาน
ต้องจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้าง ประกอบด้วย 1. ค่ารักษาพยาบาล  2. ค่าทดแทนระหว่างหยุดงานรักษาตัว  3. ค่าทดแทนสมรรถภาพ  4. ค่าทำศพ  5. ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน

11 การออกใบรับรองแพทย์ที่เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน  เพื่อให้มีการจ่ายเงินทดแทนให้กับลูกจ้างนั้น จะต้องประกอบด้วย  1. การเจ็บป่วยนั้นมีอาการอย่างไรและเป็นโรคอะไร  2. การเจ็บป่วยนั้นเกิดเนื่องกับการทำงานหรือไม่  3. ผู้ป่วยจะต้องใช้เวลารักษาตัวนานเท่าไร  4. มีการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานเท่าไร 

12 มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานตรวจแรงงาน กับออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้             การแต่งตั้งพนักงานตรวจแรงงาน จะกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่และเงื่อนไขในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยก็ได้             กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

13 มาตรา ๙๕ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้นายจ้างต้องจัดสวัสดิการในเรื่องใด หรือกำหนดให้การจัดสวัสดิการในเรื่องใดต้องเป็นไปตามมาตรฐานได้

14 การออกใบรับรองแพทย์อันเป็นเท็จอาจมีความผิดตามกฎหมายต่างๆ ดังนี้
1. พรบ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ มีความผิดตั้งแต่ว่ากล่าว ตักเตือนจนถึงเพิกถอนใบอนุญาต 2. พรบ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท 3. กฎหมายอาญา ต้องระวางโทษไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท เป็นต้น


ดาวน์โหลด ppt กฎหมายแรงงาน นพ. จรัส โชคสุวรรณกิจ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google