Computer graphic
กราฟิก = ? คอมพิวเตอร์ = ?
ความหมาย คอมพิวเตอร์ / กราฟิก มาจาก กราฟิก คือ ภาพหรือสิ่งที่เราเห็นเป็นเส้น สี เสียง รูปแบบการสื่อสารรูปแบบหนึ่ง ที่ใช้ศิลปะมาเกี่ยวข้อง เพื่อให้การสื่อสาร ระหว่างผู้สื่อสาร กับ ผู้รับสาร เข้าใจตรงกัน กับ คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผลและแสดงผลข้อมูล
คอมพิวเตอร์ + กราฟิก = ?
ความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก การสร้างและการจัดการกับภาพกราฟิก เช่น ข้อมูลในรูปของเส้นกราฟ แผนภาพ แผนภูมิ โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการทำให้อยู่ในรูปแบบที่ชัดเจนและเข้าใจง่ายมากขึ้น
ประวัติของคอมพิวเตอร์กราฟิก ปี 1940 คอมพิวเตอร์แสดงภาพกราฟิกโดยใช้เครื่องพิมพ์ โดยรูปภาพที่ได้เกิดจากการนำตัวอักษรมาประกอบกันเป็นรูปภาพ
การวิจัยพัฒนาคอมพิวเตอร์กราฟิก ปี 1949 สถาบันเอ็มไอที (Massachusette Institute Technology) ได้พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เวิร์ลวินด์ (Whirlwind) รวมเทคโนโลยีเรดาร์และคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน
ประวัติของคอมพิวเตอร์กราฟิก ปี 1950 มีการพัฒนาโดยใช้คอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดภาพ CRT (Cathode Ray Tube) เป็นส่วนแสดงผลแทนเครื่องพิมพ์เนื่องจากทำให้การติดต่อระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น
ประวัติของคอมพิวเตอร์กราฟิก ปี 1950 ระบบ SAGE ของกองทัพอากาศของสหรัฐอเมริกาสามารถแปลงสัญญาณจากเรดาร์ให้เป็นภาพบนจอคอมพิวเตอร์ได้ระบบนี้เป็นระบบกราฟิกเครื่องแรกที่ใช้ปากกาแสง (Light Pen)
ประวัติของคอมพิวเตอร์กราฟิก ปี 1950-1960 มีการทำวิจัยเรื่องเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกเป็นจำนวนมากและต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบของระบบกราฟิกสมัยใหม่
ประวัติของคอมพิวเตอร์กราฟิก ปี 1968 บริษัท Tektronix ได้ผลิตจอภาพแบบเก็บภาพไว้ได้จนกว่าต้องการจะลบ (Storage Tube CRT) ซึ่งระบบนี้ไม่ต้องการหน่วยความจำและระบบการวาดซ้ำจึงทำให้มีราคาถูก
ประวัติของคอมพิวเตอร์กราฟิก ปี 1970 เป็นช่วงที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เริ่มมีราคาลดลงมากทำให้ฮาร์ดแวร์ของระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกมีราคาถูกลงตามไปด้วยทำให้คอมพิวเตอร์กราฟิกเริ่มแพร่หลายมากขึ้น
ระบบกราฟิกแบบอินเทอร์แอคทีฟ ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วนคือ คอมพิวเตอร์ จอภาพสำหรับการแสดงภาพ อุปกรณ์ข้อมูล ข้อมูลจากผู้ใช้และอุปกรณ์สำหรับพิมพ์ภาพ
จอภาพสำหรับการแสดงภาพ เป็นชนิดเดียวกับจอภาพ CRT ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญคือ ปืนอิเลกตรอน (Electron Gun) ซึ่งเมื่อร้อนจะปล่อยประจุลบออกมา ประจุลบจะวิ่งไปหาประจุบวกซึ่งอยู่ที่จอภาพที่ฉาบดวยสารฟอสเฟอร์ระหว่างที่ประจุลบวิ่งไปนั้นจะต้องผ่านระบบปรับโฟกัส และระบบเบี่ยงเบนประจุ ซึ่งเป็นตัวบังคับให้ประจุลบวิ่งกระทบจอในตำแหน่งที่ต้องการได้
จอภาพแบบแรสเตอร์สแกน ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป โดยแบ่งหน้าจอออกเป็นจุดเล็ก ๆ จำนวนมาก ซึ่งเป็นส่วนประกอบของภาพที่เรียกว่าพิกเซล (Pixel: Picture Elements)
จอภาพแบบไม่ต้องการการรีเฟรช (Direct-view Storage Tube (DVST) เป็นจอภาพ CRT ที่ไม่ต้องการการรีเฟรชเนื่องจากจอภาพมีคุณสมบัติพิเศษสามารถทำให้จุดสว่างบนจอภาพคงอยู่ได้นานถึงประมาณ 1 ชั่วโมงไม่จางหายไปแบบจอ CRT ทั่วไป
จอภาพแบบผลึกเหลว (Liquid-crystal Display (LCD) เป็นจอภาพที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากจอภาพแบบ CRT คือ เป็นจอภาพที่ไม่ต้องการมีหลอดภาพแบบจอภาพ CRT ทำให้จอภาพแบบนี้มีความหนาลดลง
อุปกรณ์รับข้อมูล แป้นพิมพ์ (Keyboard) เมาส์ (Mouse) จอยสติกส์ (Joystick) ปากกาแสง (Light pen) ดิจิไตเซอร์ (Digitizer)
อุปกรณ์การแสดงผล จอภาพ (Display) เครื่องพิมพ์ (Printer) เครื่องวาด (Plotter)
อุปกรณ์การแสดงผล