ระบบสารสนเทศ เพื่อการบริหาร (Management Information System)
ความหมายของ ระบบ MIS ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
สารสนเทศช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้บริหาร ช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นปัญหาและโอกาสได้เร็วขึ้น ช่วยให้ผู้บริหารมีเวลาสำหรับการวางแผนได้มากขึ้น ช่วยให้ผู้บริหารใช้เวลาในการพิจารณาปัญหาที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้น ช่วยให้ผู้บริหารควบคุมการดำเนินงานได้ดีขึ้น
การตอบสนองของระบบสารสนเทศ กับผู้บริหารในองค์กร ระดับสูง EIS DSS MIS ผู้บริหารระดับกลาง TPS ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ พนักงานประจำภายในองค์กร
การนำไปใช้งานสามารถแบ่งได้ 4 ระดับ ดังนี้ การนำไปใช้งานสามารถแบ่งได้ 4 ระดับ ดังนี้ 1. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในการวางแผนนโยบาย กลยุทธ์ และการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง 2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในส่วนยุทธวิธีในการวางแผนการปฏิบัติและการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง 3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในระดับปฏิบัติการและการควบคุมในขั้นตอนนี้ผู้บริหารระดับล่างจะเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน 4. ระบบสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล
ลักษณะของระบบ MIS ระบบMIS จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน ระบบMIS จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กร ระบบMIS จะช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ ระบบMIS จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร ระบบMIS ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการใช้งานของบุคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
กระบวนการทำงานของ MIS MIS มีการประสานงานที่ดี กับ ระบบอื่นภายในองค์กร รวมถึง การเข้าใจถึงสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรแล้ว จะเห็นว่า MIS มีส่วนสำคัญในการช่วยให้องค์กร บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้โดยช่วยจัดเตรียม สารสนเทศ ที่ถูกต้อง เป็นประโยชน์ ซึ่งถือได้ว่า เป็น ทรัพยากรที่มีมูลค่ามากที่สุด แก่ ผู้ใช้ หรือ ผู้บริหารองค์กร ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ - การวางแผนกลยุทธ์ ( Strategic Planning ) - การควบคุมการบริหาร ( Management Control ) - การควบคุมด้านปฏิบัติการ ( Operational Control )
ระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคล 1. ในระดับกลยุทธ์ ช่วยในการวางแผนกำหนดความต้องการด้าน กำลังคนในระยะยาว 2 . ในระดับกลวิธี ช่วยให้ผู้บริหารสามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ การว่าจ้างบุคลากร การจัดสรรตำแหน่งงาน และการชดเชยค่าจ้างแก่บุคลากรได้ 3. ในระดับปฏิบัติการ ช่วยติดตามความก้าวหน้าในการว่าจ้าง การฝึกอบรม และการโอนย้ายหรือเลื่อนของบุคลากรในองค์กร
ระบบสารสนเทศในงานผลิต 1. ในระดับกลยุทธ์ ช่วยในการวางแผนกำหนดความต้องการด้านกำลังคนในระยะยาว เช่น จะตั้งโรงงานใหม่หรือจะลงทุนใช้เทคโนโลยีอะไรใหม่ 2. ในระดับกลวิธี ช่วยในการวางแผนทรัพยากรการผลิต 3. ในระดับปฏิบัติการ ช่วยในการสนับสนุนการทำงานในการ ผลิต เช่น ในการควบคุมการผลิต การบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์
ส่วนประกอบของ MIS ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems : TPS) ระบบการจัดการรายงาน (Management Reporting System : MRS) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support system : DSS) ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information Systems) (OIS)
ตัวอย่างขององค์กรที่ใช้ระบบ MIS ในองค์กร CMU-MIS ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ CMU-MIS จะประกอบด้วย ระบบงานบุคคล ระบบงานนักศึกษา ระบบงานหลักสูตรและแผนการศึกษา ระบบงานวิจัย ระบบงานอาคารสถานที่และสาธารณูปโภค ระบบงานวิเทศสัมพันธ์ ระบบงานงานการคลังและพัสดุ
สรุป MIS เป็นระบบที่สร้างสารสนเทศขึ้นมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ ประสานงาน และการควบคุม โดยใช้ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ได้แก่ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ และผู้ใช้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ เพื่อการดำเนินการจัดการ ตัดสินใจ เพื่อให้ได้งานที่ มีประสิทธิภาพ ที่รวมสารสนเทศจากภายในและภายนอก อดีต ปัจจุบันและอนาคต
END