การผลิตและการใช้สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การปฐมพยาบาลบาดแผลและข้อเคล็ด โดย นางทิพวรรณ โชติสิงห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สาระที่ 1 การเจริญเติบและพัฒนาการของมนุษย์ มาตรฐาน พ 1.1 เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว มาตรฐาน พ 2.1 เข้าใจและเห็นคุณค่าของชีวิต ครอบครัว เพศศึกษาและมีทักษะ ในการดำเนินชีวิต สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ แลการป้องกันโรค มาตรฐาน พ 4.1 เห็นคุณค่า และมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรคและการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต มาตรฐาน พ 5.1 ป้องกัน และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้ยา สารเสพติด และความรุนแรง
สื่อการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง การปฐมพยาบาลบาดแผลและข้อเคล็ด วัตถุประสงค์การผลิตสื่อ เพื่อใช้สอนนักเรียน ม.6 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต มาตรฐาน พ 5.1 ป้องกัน และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้ยา สารเสพติด และความรุนแรง เพื่อให้นักเรียนมีผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ดังนี้ 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจวิธีการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ 2. เพื่อให้รู้วิธีในการปฐมพยาบาลบาดแผล ข้อเคล็ด ข้อแพลง 3. เพื่อให้นักเรียนสามารถปฏิบัติการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บข้อเคล็ด ข้อแพลง บาดแผลได้ 4. เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้ไปช่วยเหลือผู้อื่นและถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นได้
การผลิตและการใช้สื่อการเรียนการสอน ประเภทสื่อ : สื่อประสม แผ่นใบความรู้เรื่องการทำแผล,การปฐมพยาบาลข้อเคล็ด ข้อแพลง และอุปกรณ์ทำแผล,หุ่นจำลองแขนและขา ถุงมือยาง ผ้ายืด ผ้าสามเหลี่ยม ระยะเวลาในการใช้สื่อ : 1 คาบเรียน ( 50 นาที) ขั้นตอนการผลิตสื่อ 1. กำหนดเนื้อหาสาระการเรียนรู้ ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และมาตรฐานการเรียนรู้ 2. จัดทำใบความรู้เรื่องการทำแผล การปฐมพยาบาลข้อเคล็ด ข้อแพลง โดยถ่ายรูปจริงจากนักเรียนที่ได้รับอุบัติเหตุสาธิตการปฐมพยาบาล 3. จัดทำหุ่นแขนและขาจำลอง โดยใช้ยางพาราหล่อรูปจากแขนและขาจริง ,ถุงมือยาง 4. เตรียมอุปกรณ์การทำแผล ผ้ายืด ผ้าสามเหลี่ยม และหุ่นจำลองแขน ขา ถุงมือยาง ขั้นตอนการใช้สื่อ 1. ใช้ประกอบการบรรยายในวิชาสุขศึกษา ให้แก่นักเรียน ม.6 โดยต้องเตรียมใบความรู้ ,อุปกรณ์ทำแผล ,ผ้ายืด ผ้าสามเหลี่ยม และหุ่นจำลองแขน ขา ถุงมือยาง 2. สาธิตการปฐมพยาบาลและให้นักเรียนฝึกปฏิบัติการปฐมพยาบาลบาดแผล ข้อเคล็ดและแพลง
การผลิตและการใช้สื่อการเรียนการสอน เหตุผลที่เลือกใช้สื่อ 1. สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียนได้ทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการปฐมพยาบาลบาดแผล ข้อเคล็ด ข้อแพลงได้มากขึ้น 2. ครูสามารถทำได้เอง ไม่เสียค่าใช้จ่ายมาก 3. นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติและได้ทำกิจกรรมในการถ่ายทอดแก่ผู้อื่นได้ วิธีการประเมินการใช้สื่อ โดยการตรวจสอบเนื้อหาสาระจากหัวหน้ากลุ่มสาระฯ และจากนักเรียนที่ฝึกปฏิบัติในเรื่องดังนี้ 1. ตอบสนองวัตถุประสงค์การเรียน เนื้อหาชัดเจน เข้าใจง่าย และทันสมัย 2. ภาพประกอบทำให้เข้าใจมากขึ้นและกระตุ้นให้น่าสนใจ 3. สื่อหุ่นจำลองฝึกปฏิบัติได้เสมือนจริงและทำให้มีทักษะมากขึ้น 4. นำสื่อดังกล่าวออกให้แก่สาธารณชนได้เรียนรู้และประเมินจากผู้ทดลองเรียน
ใบความรู้
หุ่นจำลองข้อมือ ข้อเท้า หุ่นจำลองข้อมือ ข้อเท้าใช้ฝึกพันผ้าข้อมือเคล็ด ข้อเท้าแพลง
บรรยากาศการใช้สื่อฝึกปฏิบัติในการเรียนการสอน สไลด์ภาพต่อ
บรรยากาศการใช้สื่อกับผู้ทดลองเรียน สไลด์ภาพต่อ
สวัสดี