Chapter 3 Set a Server by Linux
การสร้างไดเร็กทอรี่ : mkdir command เราสามารถสร้าง directory เพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการเก็บงานสำหรับการทำงานของเรา ในการสร้าง directory จะต้องคำนึงถึงชื่อและตัวอักษรเล็ก-ใหญ่ ห้ามใช้ชื่อสงวนของระบบ รูปแบบการใช้คำสั่ง mkdir [options] directories
mkdir command mkdir member เป็นการสร้างไดเร็กทอรี่ที่ชื่อ member mkdir exchange เป็นการสร้างไดเร็กทอรี่ที่ชื่อ exchange แต่ถ้าชื่อที่ใช้สร้าง directory ไปซ้ำกับ directory เก่าที่มีอยู่แล้ว จะแสดงข้อความเตือน mkdir : cannot create directory ‘exchange’: File exists
mkdir command เราสามารถสร้าง sub-directory ได้โดยใช้คำสั่ง mkdir /home/thira/exchange/currency ในที่นี้เป็นการสร้าง ไดเร็กทอรี่ย่อย (sub-directory) currency ภายใต้ directory exchange. หากเราสร้างไดเร็กทอรี่ย่อยบนไดเร็กทอรี่ที่ไม่มีอยู่จริง เช่น สร้าง sub-directory map บน directory nature แต่ directory nature ไม่มีอยู่บนระบบ ระบบจะแสดงข้อความแจ้งเตือนดังนี้
mkdir command #mkdir /home/thira/nature/map #mkdir : cannot create directory ‘/home/thira/nature/map’ : No such file or directory
mkdir command นอกจากนี้เรายังสามารถสร้าง directory หลาย ๆ ตัวเพียงคำสั่งเดียวได้ เช่น จะสร้าง directory ที่ชื่อ myname และ yourname ให้พิมพ์คำสั่งดังนี้ mkdir myname yourname option ที่น่าสนใจคือ - option p (-p) เอาไว้สร้าง sub-sub-directory ที่อยู่ภายใต้ sub-directory เพียงครั้งเดียว เช่น
mkdir command เราต้องการสร้าง directory app ให้อยู่ภายใต้ sub-directory software โดยที่ในระบบยังไม่มี directory software มาก่อน แต่ตอนนี้เราทำงานอยู่ที่ directory thira คำสั่งที่ใช้มีดังนี้ #mkdir –p /thira/software/app
การลบไดเร็กทอรี่ : rmdir command เราสามารถจะสั่งลบ directory ได้โดยที่ไม่ต้องการออกไปจากระบบได้ โดยใช้คำสั่ง rmdir (remove directory) สามารถลบได้ทั้งไดเร็กทอรี่เปล่า หรือไดเร็กทอรี่ที่มีไฟล์ข้อมูลอยู่ก็ได้ รูปแบบคำสั่ง rmdir [options] directories เช่น หากเราต้องการลบ directory nature เราก็จะใช้คำสั่ง # rmdir nature
rmdir command ภายใต้ directory nature ไม่มีไฟล์เก็บอยู่ ก็จะสามารถลบได้เลยทันที แต่หากเราต้องการลบ directory ที่มีข้อมูลอยู่ด้วย เราจะต้องลบไฟล์ที่มีอยู่ใน directory ทั้งหมดก่อน แล้วจึงค่อยลบ directory
การจัดการไฟล์ (File Management) ในการจัดการไฟล์ มีหลาย command ที่น่าสนใจ แต่จะเน้นในเรื่องของ การคัดลอกไฟล์ (copy file) การลบไฟล์ (remove file) การย้าย-เปลี่ยนชื่อไฟล์ (move/rename file)
การคัดลอกไฟล์ คำสั่งที่ใช้ในการ copy file คือ คำสั่ง cp (cp command) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการก๊อปปี้ไฟล์ข้อมูล ซึ่งเราสามารถจะ copy ทีละไฟล์ หลาย ๆ ไฟล์ในคราวเดียวกัน หรือแม้กระทั่งการก๊อปปี้ไฟล์ไปไว้ยังไดเร็กทอรี่ที่เราต้องการ รูปแบบการใช้คำสั่ง cp [options] filename1 filename2 cp [options] filename1 directory
การคัดลอกไฟล์ option ที่น่าสนใจคือ Option i (-i) เป็นการสั่งให้แสดงข้อความถาม กรณีที่ต้องมีการเขียนทับไฟล์เดิม โดยตอบ y หากต้องการเขียนทับ Option p (-p) ใช้ในการแก้ไขไฟล์และสิทธิ์การใช้งาน ข้อมูลเหมือนกับไฟล์เดิมที่ copy มา Option r (-r) เป็นการสั่ง copy ทั้งไดเร็กทอรี่ (รวมทั้งไฟล์และไดเร็กทอรี่ย่อยที่อยู่ภายในด้วย)
การคัดลอกไฟล์ เช่น cp thira.txt meaw.txt - เป็นการ copy file thira.txt ไปยังไฟล์ meaw.txt ที่อยู่ใน directory เดียวกัน แต่เวลาในการแก้ไขไฟล์จะเป็นเวลาปัจจุบัน ไม่ใช่เวลาของไฟล์เดิม cp thira.txt /home/thira/meaw.txt - เป็นการ copy file thira.txt ไปยังไฟล์ meaw.txt ใน directory home, sub-directory thira
การคัดลอกไฟล์ cp –p thira.txt /home/thira/meaw.txt เป็นการ copy file thira.txt ไปยังไฟล์ meaw.txt ที่อยู่ใน directory home, sub-directory thira แต่เวลาในการแก้ไขไฟล์ จะเป็นเวลาของไฟล์เดิม ไม่ใช่เวลาปัจจุบัน นอกจากนี้ยังถามย้ำว่า จะให้เขียนทับไฟล์เดิมไหม cp –r /var/named/* /home/thira/computer - เป็นการ copy file ทั้งหมดใน directory name รวมทั้ง directory ย่อยภายใน ไปไว้ยังไดเร็กทอรี่ computer ซึ่งอยู่ภายใต้ directory /home/thira
Permission จะเห็นได้ว่า โหมดจะถูกกำหนดโดยตัวอักษร 10 ตัว จะเห็นได้ว่า โหมดจะถูกกำหนดโดยตัวอักษร 10 ตัว d – r w – r w – r - 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ตัวที่ 1 บอกถึงความเป็นไดเร็กทอรี่หรือไฟล์ ตัวที่ 2-10 จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 3 ตัว ซึ่งจะใช้ในการบอกถึง Permission หรือสิทธิในการใช้งาน Read (อ่านได้), write (เขียนหรือแก้ไขได้), execute (เรียกให้ทำงานได้) โดยจะใช้ตัวอักษร r,w,x แทน ถ้าไม่ได้รับสิทธิอันไหน จะใช้เครื่องหมาย “ – “ ในช่องนั้น
Permission ตัวที่ 2,3,4 บอกถึง permission ของ user (เจ้าของ) ตัวที่ 5,6,7 บอกถึง permission ของ group (กลุ่ม) ตัวที่ 8,9,10 บอกถึง permission ของ other (บุคคลนอกเหนือจากที่ได้กำหนดไว้) เราจะใช้ตัวอักษร u, g และ o ในการกำหนดสิทธิ์ให้กับผู้ใช้