กลุ่มที่ ๓ เรื่อง โรคไม่ติดต่อ ประชุมกลุ่มย่อยสรุปผลการติดตามและประเมินผลกระบวนการทำงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค กลุ่มที่ ๓ เรื่อง โรคไม่ติดต่อ
สถานการณ์การที่ลงไปประเมินผล กระบวนการดำเนินงาน : จุดเด่น วิเคราะห์สภาพปัญหาโดยคณะกรรมการที่ประกอบด้วยตัวแทนจาก ทุกภาคส่วน มีการวางแผนยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด โดยการบูรณาการทุกภาคส่วน มีการถ่ายทอดแผนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติชัดเจน มีการใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ระดับตำบลมากขึ้น
สถานการณ์การที่ลงไปประเมินผล กระบวนการดำเนินงาน : จุดด้อย ไม่ได้นำข้อมูลด้านอื่น เช่น ข้อมูลพฤติกรรมเสี่ยง การข้อมูลในการนำมาวิเคราะห์สภาพปัญหา ไม่ใช้ Evidence based การจัดลำดับความสำคัญ การจัดทำแผนปฏิบัติการไม่ใช้แนวคิดของแผนยุทธศาสตร์ เน้นนโยบายส่วนกลางเป็นหลัก การถ่ายทอดแผนสู่อำเภอเป็นลักษณะ Top down เป็นส่วนใหญ่ การดำเนินงานแก้ไขปัญหาไม่ต่อเนื่อง
สถานการณ์การที่ลงไปประเมินผล การบูรณาการ มีการบูรณาการ - กิจกรรมในระดับอำเภอ/ตำบลชัดเจน ขาดการบูรณาการ - กิจกรรมในระดับจังหวัด - เป้าหมาย และงบประมาณ
สถานการณ์การที่ลงไปประเมินผล ผลลัพธ์การดำเนินงาน ผลลัพธ์ไม่ชัดเจนในทุกระดับ เน้นการประเมินกระบวนการของกิจกรรมมากกว่า ยังไม่มีการประเมินมาตรการที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา การสรุปบทเรียนจากการดำเนินงาน เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนา ปรับปรุงยังมีน้อย
ข้อเสนอแนะ จัดทำคลังข้อมูลที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์ปัญหาให้เป็นปัจจุบัน และสามารถเข้าถึงได้ พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับศูนย์วิชาการเขต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพ เพื่อใช้ในการติดตามสถานการณ์โรค NCD ควรมีกลุ่มงานที่รับผิดชอบติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย สนย. ควรเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาศักยภาพของจังหวัดในการจัดทำแผนบูรณาการเชิงรุก กรมวิชาการที่เกี่ยวข้องควรมีการบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ แผนงานโครงการ และเป้าหมายการดำเนินงานให้ชัดเจน ศูนย์วิชาการเขตและหน่วยงานส่วนกลาง ควรมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนบูรณาการของจังหวัด
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (ต่อ) ระดับอำเภอควรพัฒนาบทบาท สสอ.ในการแปลงนโยบาย และยุทธศาสตร์ของจังหวัดสู่การปฏิบัติ พัฒนาศักยภาพทีมติดตามประเมินผลระดับเขตอย่างต่อเนื่องทุกปี ควรมีการนำข้อสรุปการนำเสนอจากการประชุม P&P มาใช้ประโยชน์ในปีถัดไป ควรกำหนดตารางเวลาที่แน่นอนในการประเมิน เพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ขอบคุณ