แผนปฏิบัติราชการการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ. ศ แผนปฏิบัติราชการการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน วิสัยทัศน์ “พัฒนาคนให้มีคุณภาพด้วยการศึกษาเชิงบูรณาการบนพื้นฐานความร่วมมือของเครือข่ายการศึกษาและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อความยั่งยืนบนรากฐาน ด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ” พันธกิจ ส่งเสริมการศึกษาเพื่อพัฒนา การท่องเที่ยวและบริการ ส่งเสริมการศึกษาเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี การเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม ส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อ พัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน ขับเคลื่อน ติดตามและประเมินผลการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนำนโยบายของรัฐบาล และของกลุ่มจังหวัดไปสู่การปฏิบัติ สร้างพลังเครือข่ายทางการศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เยาวชนและประชาชนได้รับการเสริมสร้างด้านคุณภาพ และความรู้ด้านภาษาด้วยความร่วมมือเชิงบูรณาการ ร่วมกับธุรกิจภาคบริการ อุตสาหกรรม และการเกษตร เยาวชนและประชาชน ได้รับการพัฒนา และส่งเสริม การเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยมีทักษะพื้นฐาน การอ่านออก เขียนได้ และมีภูมิคุ้มกันในการคิดอย่างมีเหตุผล เยาวชนและประชาชนมีความรู้ ความสามารถและมีทักษะชีวิต คุณภาพในการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพบนพื้นฐานของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยที่เชื่อมโยงกับ เทคโนโลยีสมัยใหม่ เป้าประสงค์ 1. ร้อยละของเยาวชนและประชาชนที่เข้าศึกษาอบรมด้านการท่องเที่ยว และการบริการ 2. จำนวนสถานศึกษา/สถานประกอบการที่จัดหลักสูตรการศึกษา ศิลปะ และวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว 3. ร้อยละของนักศึกษาและประชาชนที่เข้าศึกษาและฝึกอาชีพด้านเกษตร อุตสาหกรรม 4. จำนวนสถานศึกษา/สถานประกอบการที่จัดหลักสูตรการฝึกอาชีพ ด้านการเกษตรอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน(ไบโอดีเซล) อุตสาหกรรมด้านอาหารและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น 5. ร้อยละของกลุ่มด้อยโอกาสนอกระบบโรงเรียนที่ได้รับการศึกษา 6. ร้อยละของกลุ่มผู้ไม่รู้หนังสือที่ได้รับการศึกษา7. จำนวนและร้อยละของนักเรียนและประชาชน ที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ลดลง 8. จำนวนและร้อยละของนักเรียน นักศึกษา ที่ออกกลางคันลดลง 9. ร้อยละของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 วิชาหลัก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพิ่มขึ้น 2 % ต่อปี 10. ร้อยละของสถานศึกษาที่ผ่านเกณฑ์ประเมินคุณภาพ 11. ร้อยละของนักเรียน นักศึกษา ประชาชน ได้รับการเสริมสร้างประชาธิปไตย คุณธรรม จริยธรรม การแก้ปัญหายาเสพติดและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเชิงนิเวศน์ 12. หน่วยงาน/สถานประกอบการ/เยาวชนและประชาชน มีความพึงพอใจในการมีส่วนร่วม การพัฒนาคุณภาพของเยาวชน และประชาชนตามแผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัด 13. ร้อยละของโครงการ/กิจกรรม ที่นำไปสู่การปฏิบัติ และเกิดประโยชน์ต่อเยาวชนและประชาชน ตามแผนปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด 14. จำนวนหน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษาที่ดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ ภาครัฐแนวใหม่ ตัวชี้วัด ประเด็นยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์เชิงรุก (S-O Strategies) 1. พัฒนาศักยภาพของเยาวชนและประชาชน รองรับการเป็นประชาคมอาเซียน รวมทั้งการ ท่องเที่ยวและบริการ เพื่อเพิ่มคุณภาพและ พัฒนาความเป็นสากลของการศึกษาและการให้ บริการในการพัฒนาสิ่งดึงดูดใจและผลิตภัณฑ์ การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ยุทธศาสตร์เชิงรุก (S-O Strategies) 2. ส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา เพื่อเพิ่มมูลค่า ด้านการท่องเที่ยวและเกษตรอุตสาหกรรม กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ยุทธศาสตร์แก้ปัญหา (W – O Strategies) 3. ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ขั้นพื้นฐานทั้งสายสามัญและสายอาชีพ สถานศึกษา ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ยุทธศาสตร์แก้ปัญหา (W – O Strategies) 4. การสร้างโอกาสทางการศึกษา และการเรียนรู้ ตลอดชีวิตกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ยุทธศาสตร์เชิงปรับเปลี่ยน (S-T Strategies) 5. ระดมทรัพยากรทุกภาคส่วนเพื่อสร้างกลไก ในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝังอันดามัน กลยุทธ์ พัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียน และประชาชนสู่การศึกษาและอาชีพ พัฒนาการเพิ่มศักยภาพ ด้านการท่องเที่ยว และบริการด้านวิจัย พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา พัฒนาคุณภาพและทักษะชีวิต การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติและการบริหารจัดการ ภาครัฐแนวใหม่ที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน แผนงานหลัก แผนงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนงานขยายโอกาสทางการศึกษา แผนงานส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษา แผนงานส่งเสริมและสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด กลุ่มยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษา สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษา ที่ 10 www.inspect10.moe.go.th