PLANT CONCRETE คอนกรีตผสมเสร็จ
ลักษณะสถานที่โรงงาน
คอนกรีตผสมเสร็จคืออะไร คอนกรีตผสมเสร็จคือส่วนของปูนซีเมนต์ หิน ทราย น้ำ และสารผสมเพิ่มอื่นๆ ที่ผสมกันเบ็ดเสร็จจากโรงงาน ซึ่งตั้งอยู่นอกหรือในหน่วยงานก่อสร้าง โดยรวมถึงการจัดส่งไป ณ หน่วยงานก่อสร้างโดยรถผสมคอนกรีต ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าธุรกิจคอนกรีตผสมเสร็จเป็นทั้งการขายผลิตภัณฑ์และบริการ
กระบวนการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ การผลิตคอนกรีตผสมเสร็จที่ได้มาตรฐาน จะเริ่มจากการตรวจสอบคุณสมบัติของส่วนผสมต่างๆ ได้แก่ หินทรายที่ได้เลือกจากแหล่งที่มีคุณภาพดี มีส่วนคละถูกต้องตามมาตรฐาน มาจัดกองเก็บไม่ให้ผสมกัน ส่วนปูนซีเมนต์จะถูกเก็บในไซโลอย่างมิดชิด และน้ำยาผสมคอนกรีตจะถูกบรรจุในภาชนะเฉพาะอย่างมิดชิดเช่นกัน วัตถุดิบดังกล่าวจะถูกลำเลียงไปสู่การผลิตต่อไป
กระบวนการผลิตจะเริ่มจากการ ลำเลียง หิน ทราย ปูนซีเมนต์ และสารผสมอื่นๆ ผ่านเครื่องชั่งให้มีน้ำหนักถูกต้องตามที่ออกแบบไว้ โดยขั้นตอนนี้จะคำนึงถึงความชื่นของหินทรายด้วย เพราะหินทรายอาจจะไม่อยู่ในสภาพที่ออกแบบ หรือสภาพอิ่มตัว ผิวแห้ง ซึ่งจะต้องปรับน้ำหนักหินทราย และน้ำให้ถูกต้อง ส่วนน้ำและน้ำยาผสมคอนกรีตจะผ่านเครื่องชั่งหรือเครื่องวัดปริมาตร แล้วนำเข้ามาผสมด้วยกันในเครื่องผสมคอนกรีต ซึ่งจะต้องผสมคอนกรีตที่กำหนด ให้มีความสม่ำเสมอ และรวดเร็ว คอนกรีตที่ผสมเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะถูกลำเลียงลงสู่รถผสมคอนกรีตเพื่อนำไปส่งยังหน่วยงานก่อสร้าง
กระบวนการผลิตสามารถเขียนเป็นแผนภาพได้ดังนี้
โรงงานผสมคอนกรีตทั่วๆไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ 1.โรงงานแนวตั้ง Vertical Production Plant วัตถุดิบถูกบรรจุไว้ในไซโล เมื่อต้องการใช้งาน วัตถุดิบเหล่านี้จะถูกปล่อยลงสู่เครื่องชั่งน้ำหนักด้วยน้ำหนักของตัวมันเอง จากนั้นจะถูกลำเลียงสู่เครื่องผสมหรือรถผสมคอนกรีต
โรงงานลักษณะนี้ได้แก่ โรงงานแบบ Toll Silo และ Tower Plant
โรงงานแนวนอน Horizontal Production Plant โรงงานลักษณะนี้วัตถุดิบจะถูกเก็บ และลำเลียงมาชั่งน้ำหนักและผสมโดยใช้สายพานหรือสกรู หินทรายอยู่ใน Start-Pattern หินทรายถูกลำเลียงเก็บไว้ใน Pocket ไซโล
โรงงานแบบ In-Line Silo (Mobile) โรงงานลักษณะนี้ได้แก่ โรงงานแบบ Star และโรงงานแบบ In-Line Silo (Mobile) เป็นต้น โรงงานแบบ Star โรงงานแบบ In-Line Silo (Mobile)
รถผสมคอนกรีต มีอยู่ 2 ประเภท คือ 1.รถกวนคอนกรีต (Truck Agitator) ใช้บรรทุกคอนกรีตที่ผสมเสร็จเรียบร้อยจากโรงงานไปยังหน่วยงานก่อสร้าง ซึ่งโม่จะหมุนระหว่างการเดินทางด้วย มีใบปาดทำหน้าที่เพื่อป้องกันไม่ให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว
2.รถผสมคอนกรีต (Truck Mixer) ใช้งานเช่นเดียวกันกับรถกวนคอนกรีต แต่รถประเภทนี้ภายในจะมีใบผสมซึ่งสามารถใช้ผสมคอนกรีตได้ ขนาดของรถผสมคอนกรีตทั่วไปที่ใช้ในประเทศไทย จะมีความจุ 5-7 ลบ.ม.
สรุป เทคโนโลยีในการผสมคอนกรีตนี้เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ขาดไม่ได้เพราะเป็นความสะดวกสบายอย่างหนึ่งของงานก่อสร้างต่างๆ ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน และที่สำคัญทำให้การทำงานนี้รวดเร็วขึ้น จึงทำให้คอนกรีตผสมเสร็จนี้เป็นสิ่งจำเป็นมาก
สมาชิกในกลุ่ม 1.น.ส. จิราวดี งามจิตร์ เลขที่ 3 1.น.ส. จิราวดี งามจิตร์ เลขที่ 3 2.น.ส. ปองหทัย ไชยสืบ เลขที่ 6 3.นาย วิบูลย์ สุวดิษฐ์ เลขที่ 11 4.นาย อรรถพล อินทรเรืองศรี เลขที่ 15