งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โครงการพัฒนาฝ่าย/ศูนย์ ในสังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนา ณ อาคารสุวรรณวาจกกสิกิจ ด้วยกิจกรรม 5 ส โดย นาง พจนันท์ ร่มสนธิ์ (เลขานุการสถาบันวิจัยและพัฒนา)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โครงการพัฒนาฝ่าย/ศูนย์ ในสังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนา ณ อาคารสุวรรณวาจกกสิกิจ ด้วยกิจกรรม 5 ส โดย นาง พจนันท์ ร่มสนธิ์ (เลขานุการสถาบันวิจัยและพัฒนา)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โครงการพัฒนาฝ่าย/ศูนย์ ในสังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนา ณ อาคารสุวรรณวาจกกสิกิจ ด้วยกิจกรรม 5 ส โดย นาง พจนันท์ ร่มสนธิ์ (เลขานุการสถาบันวิจัยและพัฒนา)

2 กิจกรรม 5 ส

3 5 ส คืออะไร 5 ส เป็นแนวคิดการจัดความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ในสถานที่ทำงาน เพื่อก่อให้เกิดสภาพการทำงานที่ดี ปลอดภัย มีระเบียบเรียบร้อย อันจะนำไปสู่การ เพิ่มผลผลิต และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่สูงขึ้น

4 วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 5 ส
พัฒนาความคิดในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง สร้างทีมงานที่ดี ให้ทุกคนมีส่วนร่วม ฝึกความสามารถในการเป็นผู้นำ เตรียมพร้อมรับการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเพื่อคุณภาพและมาตรฐานที่สูงขึ้น

5 ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม 5 ส
สถานที่ทำงานสะอาดและเป็นระเบียบมากขึ้น การปฏิบัติงานในสำนักงานง่าย สะดวก และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ทุกคนทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานสามารถเห็นการปรับปรุงได้ชัดเจน ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการปรับปรุงอื่นๆ บุคลากรมีระเบียบวินัยยิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ช่วยในการบำรุงรักษาอุปกรณ์ สร้างทัศนคติที่ดี บุคลากรมีความภาคภูมิใจ เสริมภาพพจน์องค์กร

6 ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม 5 ส
ประกาศเป็นนโยบายหน่วยงาน ให้ความรู้ ฝึกอบรม ดูงาน แก่บุคลากร จัดตั้งคณะกรรมการ 5 ส ติดโปสเตอร์รณรงค์การจัดกิจกรรม จัดแบ่งและทำผังพื้นที่รับผิดชอบ ถ่ายภาพก่อนทำกิจกรรม สำรวจพื้นที่รับผิดชอบ ตั้งหัวข้อในการปรับปรุงแก้ไข

7 ตั้งมาตรฐาน 5 ส มีการตรวจเช็คพื้นที่โดยผู้บริหารอยู่เสมอ ถ่ายภาพหลังทำกิจกรรม รายงานผลการดำเนินกิจกรรม ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องการประกวดพื้นที่ การวัดผล

8 5 ส. ส.1 สะสาง (SEIRI) ส. 2 สะดวก (SEITON) ส. 3 สะอาด (SEISO) ส. 4 สุขลักษณะ (SEIKETSU) ส. 5 สร้างนิสัย (SHITSUKE)

9 สะสาง คือ การแยกของที่ต้องการออกจากของที่ไม่ต้องการ และขจัดของที่ไม่ต้องการทิ้งไป
โดยการ สำรวจสิ่งของเครื่องใช้ อุปกรณ์ในสถานที่ทำงาน แยกของที่ต้องการและไม่ต้องการออกจากกัน ขจัดของที่ไม่ต้องการทิ้ง

10 ในการสะสางควรพิจารณาดังนี้
ของไม่ใช้ไม่มีค่า ถ้าทิ้งได้ควรทิ้งไปเลย ของไม่ใช้แต่ไม่มีค่า ขายโดยทำให้ถูกระเบียบ ของที่จะเก็บหรือของที่ใช้ เก็บแบบมีป้ายบอก(ส 2) ของส่วนตัวไม่เกี่ยวกับงาน เก็บกลับบ้าน / บริจาค ของหน่วยงานที่ไม่ได้ใช้/เกินความจำเป็น ส่งคืนพัสดุจัดเก็บ สำรวจ แยก ขจัด เหลือเฉพาะของที่จำเป็น

11 สะดวก คือ การจัดวางสิ่งของต่างๆ ในที่ทำงานให้เป็นระเบียบ เพื่อความสะดวกและปลอดภัย
โดยการ ศึกษาวิธีเก็บวางสิ่งของโดยคำนึงถึงความปลอดภัย คุณภาพและประสิทธิภาพ กำหนดที่วางให้แน่ชัด โดยคำนึงถึงการใช้เนื้อที่ เขียนป้ายชื่อแสดงสถานที่วางและเก็บสิ่งของเครื่องใช้ อุปกรณ์ เขียนแผนผังรวมแสดงสถานที่วางและเก็บของเครื่องใช้ อุปกรณ์

12 สะอาด คือ การทำความสะอาดเครื่องจักรอุปกรณ์และ สถานที่ทำงาน พร้อมทั้งตรวจสอบขจัดสาเหตุ ของความไม่สะอาดนั้น ๆ โดยการ .ทำความสะอาดสถานที่ทำงาน .กำหนดแบ่งเขตพื้นที่ .ขจัดสาเหตุอันเป็นต้นตอของขยะ ความสกปรก เลอะเทอะ .ตรวจเช็คเครื่องใช้ อุปกรณ์ด้วยการทำความสะอาด

13 สุขลักษณะ คือ การรักษาความสะอาด ดูแลสถานที่ทำงานและปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะ
โดยการ ขจัดมลภาวะซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพจิตของพนักงาน เช่น อากาศเป็นพิษ เสียงดังเกินไป แสงสว่างไม่เพียงพอ ควันและเขม่าฟุ้งกระจายทั่วไป เป็นต้น ปรับแต่งสถานที่ทำงานให้เป็นระเบียบ สะอาดหมดจดยิ่งขึ้น มีบรรยากาศร่มรื่น น่าทำงาน เปรียบเสมือนที่พักผ่อน พนักงานแต่งกายให้ถูกระเบียบ สะอาด หมดจด

14 สร้างนิสัย คือ การรักษาและปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ 4 ส
สร้างนิสัย คือ การรักษาและปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ 4 ส. จนเป็นนิสัย และมีวินัยในการทำงาน โดยการ ฝึกอบรมพนักงานให้ความรู้ ความเข้าใจ ต่อกฎระเบียบ มาตรฐานการทำงานต่างๆ การตอกย้ำเรื่องนี้อย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องเป็นประจำ เพื่อให้สามารถปฏิบัติ จนเป็นนิสัย

15 หัวใจของ 5 ส สะสาง : มั่นใจว่ามีแต่ของที่จำเป็นเท่านั้นในปริมาณที่พอเหมาะ สะดวก : มีที่สำหรับของทุกสิ่ง และของทุกสิ่งต้องอยู่ในที่ ของมัน สะอาด : การทำความสะอาดคือการตรวจสอบ สุขลักษณะ : กำหนดมาตรฐานและปรับปรุงให้ดีขึ้น สร้างนิสัย : การมีทัศนคติที่ดี เพื่อการทำงานเป็นทีม

16


ดาวน์โหลด ppt โครงการพัฒนาฝ่าย/ศูนย์ ในสังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนา ณ อาคารสุวรรณวาจกกสิกิจ ด้วยกิจกรรม 5 ส โดย นาง พจนันท์ ร่มสนธิ์ (เลขานุการสถาบันวิจัยและพัฒนา)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google