ภาษาทางสื่อ วิทยุโทรทัศน์ หน่วยที่ 4 ภาษาทางสื่อ วิทยุโทรทัศน์
วัตถุประสงค์การเรียน 1. เพื่อให้นิสิตมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะสำคัญของสื่อวิทยุโทรทัศน์ 2. เพื่อให้นิสิตมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ภาษาในสื่อวิทยุโทรทัศน์
ลักษณะสำคัญของสื่อโทรทัศน์ * เป็นสื่อใกล้ตัว และมีอิทธิพลสูง * เป็นสื่อที่ให้ทั้งภาพและเสียง สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้มาก * ใช้ง่าย ทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกใกล้ชิดเสมือนเป็นสื่อส่วนตัว * มีอิทธิพลในการชักจูงกลุ่มเป้าหมายได้ดี
* ปัจจุบันเทคนิคการผลิตสื่อโทรทัศน์นำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ระบบดิจิทัลมาใช้ ทำให้สามารถสร้างภาพที่ดูเหมือนจริง ตื่นตาตื่นใจ จนบางครั้งอาจจะเกินจากความเป็นจริง * สื่อโทรทัศน์ได้สร้างมายาภาพลวงตาให้เห็น และอาจเกิดความเชื่อสิ่งที่สื่อสร้างขึ้นว่าเป็นของจริง ดังนั้นผู้ชมจะต้องรู้ให้เท่าทัน
ประเภทของสถานีโทรทัศน์ สถานีโทรทัศน์ของรัฐ (state television) สถานีโทรทัศน์เชิงพาณิชย์ (commercial television) สถานีโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก (subscription television)
สถานีโทรทัศน์ของรัฐ
สถานีโทรทัศน์เชิงพาณิชย์
สถานีโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก
วัตถุประสงค์ของการจัดรายการวิทยุโทรทัศน์ เพื่อการเสนอข่าวสาร เพื่อการถ่ายทอดความรู้ เพื่อเสนอความบันเทิง เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
ผลกระทบของสื่อโทรทัศน์ ด้านข่าว - gatekeeper ผู้รักษาช่องทางของข่าวสาร - agenda setting ผู้กำหนดวาระของสังคม
ด้านการเมือง - การหาเสียงผ่านทางสื่อโทรทัศน์ - การนำเสนอผลงานของพรรคการเมือง
ด้านการบริหาร - เป็นสื่อสำหรับการบริหารประเทศ ของฝ่ายบริหาร/รัฐบาล
ด้านเพศและความรุนแรง - เกิดการปลูกฝังทัศนคติ - ก่อให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ
ด้านบันเทิง - ก่อให้เกิดการเลียนแบบทางความคิดและพฤติกรรม ทั้งในเชิงบวกและลบ
- กระตุ้นให้เกิดการบริโภคเกินความจำเป็น / สังคมบริโภคนิยม ด้านการโฆษณาสินค้า - เป็นแหล่งรายได้ ผลกำไรของกิจการ - กระตุ้นให้เกิดการบริโภคเกินความจำเป็น / สังคมบริโภคนิยม -โฆษณาเป็นตัวกำหนดเนื้อหาของรายการโทรทัศน์
การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารทางโทรทัศน์ เนื้อหารายการโทรทัศน์ควรมุ่งเน้นเพื่อการพัฒนาในด้านต่าง ๆ แก่ผู้ชม เนื้อหารายการโทรทัศน์ควรมุ่งนำเสนอให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย เช่น รายการสำหรับเด็กไม่ควรนำเสนอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก หรือก่อให้เกิดการเลียนแบบ ชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย
เนื้อหารายการโทรทัศน์ไม่ควรชี้นำความคิด ค่านิยม หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ผิดแก่ผู้ชม เช่น การแต่งกายของวัยรุ่น ค่านิยมในการใช้ชีวิตคู่ของวัยรุ่น การใช้ความรุนแรงในการต่อสู้ ความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ฯลฯ เนื้อหารายการไม่ควรเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ให้ข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ผู้ชม
พยายามสอดแทรกเนื้อหาสาระไปพร้อมกับความบันเทิงเพื่อให้เกิดการพัฒนาความรู้แก่ผู้ชม และไม่ให้เกิดความน่าเบื่อ การใช้ถ้อยคำ ภาษา สำนวน ควรคำนึงถึงความถูกต้องตามหลักภาษาไทย
ไม่ควรใช้คำที่หยาบคาย สองแง่สองง่าม ภาษาสแลง ผิดความหมาย ไม่ถูกต้อง คำฟุ่มเฟือย ภาษากำกวม การออกเสียงควรจะชัดถ้อยชัดคำ ถูกต้องตามอักขระภาษาและคำควบกล้ำ การนำเสนอภาษาเขียนผ่านทางสื่อโทรทัศน์ควรคำนึงถึงความถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ การสะกด วางรูปสระ วรรณยุกต์ การันต์ การเว้นวรรคตอน
นอกจากนี้ควรพิจารณาถึงหลักจรรยาบรรณวิชาชีพนักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ รวมถึงควรที่จะทราบเกี่ยวกับกฎหมายวิทยุและโทรทัศน์ เพื่อนำไปใช้ประกอบพิจารณาภาษาที่ปรากฏทางสื่อโทรทัศน์
คำถามท้ายหน่วยที่ 4 1. อธิบายถึงผลกระทบของสื่อวิทยุโทรทัศน์ 2. ยกตัวอย่างภาษาที่ไม่เหมาะสมในสื่อวิทยุโทรทัศน์ พร้อมให้เหตุผลอธิบายสนับสนุนว่า ตัวอย่างที่ยกมานั้นมีการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมอย่างไรบ้าง