งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความหมายของการวิจารณ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความหมายของการวิจารณ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความหมายของการวิจารณ์

2 ตาม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ. ศ. 2525 ให้ความหมายของคำนี้ว่า
ตาม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ ให้ความหมายของคำนี้ว่า...คำตัดสินสิ่งที่เป็น ศิลปกรรมหรือ วรรณกรรม โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงามความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่นเขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมากสมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่นคนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ ตาม พจนานุกรม

3 การวิจารณ์ หมายถึง การพิจารณาเทคนิคหรือกลวิธีที่แสดงออกมานั้น ให้เห็นว่าน่าคิด น่าสนใจ น่าติดตาม มีชั้นเชิงยอกย้อนหรือตรงไปตรงมา องค์ประกอบใดมีคุณค่าน่าชมเชย องค์ประกอบใดน่าท้วงติงหรือบกพร่องอย่างไร การวิจารณ์ สิ่งใดก็ตามจึงต้องใช้ความรู้ มีเหตุมีผล มีหลักเกณฑ์และมีความรอบคอบด้วย ตามปกติแล้ว เมื่อจะวิจารณ์สิ่งใด จะต้องผ่านขั้นตอนและกระบวนการของการวิเคราะห์สาร วินิจสาร และประเมินค่าสาร ให้ชัดเจนเสียก่อนแล้ว จึงวิจารณ์แสดงความเห็นออกมาอย่างมีเหตุมีผลให้น่าคิด น่าฟังและเป็นคำวิจารณ์ที่เชื่อถือได้สารที่ได้รับจากการฟังมีมากมาย

4 การวิจารณ์ที่พบในชีวิตประจำวัน
1.ข่าวและสารประชาสัมพันธ์ 2.ละคร 3.การสนทนา คำสัมภาษณ์บุคคล 4.คำปราศรัย การบรรยาย บทอภิปราย โอวาท 5.งานประพันธ์ร้อยกรองประเภทต่างๆ

5 ลักษณะของการวิจารณ์   1. การวิจารณ์เป็นการถ่ายทอดความคิดเห็น ชี้จุดเด่น จุดด้อยตลอดจนความรู้สึกเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เช่น ผลงานด้านศิลปกรรม งานวรรณกรรม ข่าวสารบ้านเมือง เหตุการณ์ในสังคม เรื่องราวของบุคคล เป็นต้น อย่างสมเหตุสมผล มีข้อมูลสนับสนุนความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีอคติต่อสิ่งที่วิจารณ์ เช่น หนังสือที่เราจะวิจารณ์นั้นมีอะไร ให้เนื้อหาสาระแก่ผู้อ่านมากน้อยเพียงใด เป็นต้น

6   2. เป็นข้อเขียนที่ชัดเจนในการบอกให้ผู้อ่านทราบถึงรายละเอียด ของสิ่งนั้น ดังนั้นผู้วิจารณ์ต้องมีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับเรื่องที่วิจารณ์ เป็นอย่างดี เช่น การวิจารณ์วรรณกรรม จะต้องรู้ว่าเป็นหนังสือประเภทใด ใครเป็นผู้แต่ง มีเนื้อเรื่อง วิธีการแต่ง การใช้ภาษาเป็นอย่างไร เป็นต้น แล้วจึงสามารถวินิจฉัยคุณค่าของสิ่งที่จะวิจารณ์ได้ว่าดีหรือไม่อย่างไร

7 3. เป็นข้อเขียนที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย น่าอ่าน ทำให้ผู้อ่านติดตามอ่านจนจบ   ใช้ถ้อยคำอย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช้ถ้อยคำในเชิงประจาน หรือโจมตีผู้เขียนอย่างรุนแรง นอกจากนี้ บทวิจารณ์ที่ดีจะต้องให้ความรู้ ความคิด ข้อเสนอแนะ แก่ผู้อ่าน ชี้ให้เห็นคุณค่าพิเศษที่อยู่ในงานเขียนเรื่องนั้น

8 โครงสร้างของการวิจารณ์
      1.  ชื่อเรื่อง (Tlttle)  ควรตั้งชื่อเรื่องที่เรียกร้องความสนใจของผู้อ่านและสื่อความหมายได้ชัดเจน  เช่น ตั้งชื่อตามชื่อหนังสือที่ต้องการวิจารณ์ ตั้งชื่อตามจุดมุ่งหมายของเรื่อง ตั้งชื่อด้วยการให้ประเด็นชวนคิด ชวนสงสัย เป็นต้น          

9 2.  ความนำหรือประเด็นที่จะวิจารณ์ (Lead or Issue)  หรือบทนำ  เป็นการเขียนนำเกี่ยวกับเรื่องที่จะวิจารณ์ เช่น ถ้าเป็นการวิจารณ์วรรณคดี  ต้องบอก ชื่อวรรณคดี ผู้แต่ง ประเภท ความเป็นมาของเรื่อง และอาจเขียนอธิบายและจูงใจที่ทำให้ผู้วิจารณ์สนใจวรรณคดีเรื่องนี้

10 3.  เนื้อเรื่อง (Body)  เป็นส่วนแสดงความคิดเห็นและรายละเอียดในการวิจารณ์ โดยนำเสนอจุดเด่น และจุดบกพร่องของเรื่องอย่างมีหลักเกณฑ์และมีเหตุผล หากต้องการเล่าเรื่องย่อของวรรณคดีหรือรรณกรรม ที่นำมาวิจารณ์ ควรเขียนเล่าเรื่องอย่าง

11   4. บทสรุป (Conclusion) เป็นย่อหน้าสุดท้ายของบทวิจารณ์ เป็นการเขียนสรุปความคิดทั้งหมดที่วิจารณ์และให้แง่คิด หรือข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน นอกจากนี้บทสรุปยังช่วยให้ผู้อ่านได้ทบทวนประเด็นสำคัญของเรื่องและความคิดสำคัญของผู้วิจารณ์ แม้ว่าผู้อ่านอาจจะไม่ได้อ่านบทวิจารณ์ทั้งบท แต่ได้อ่านบทสรุปก็สามารถทราบเรื่องของวรรณคดีหรือวรรณกรรมที่นำมาวิจารณ์ รวมทั้งความคิดเห็นของผู้วิจารณ์ที่มีต่อวรรณคดีหรือวรรณกรรมเรื่องนั้นได้

12 อ้างอิง http://sirimajan.exteen.com/20090816/entry-1


ดาวน์โหลด ppt ความหมายของการวิจารณ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google