งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เทคนิคการรวบรวมข้อมูล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เทคนิคการรวบรวมข้อมูล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เทคนิคการรวบรวมข้อมูล
รศ.ดรุณ หาญตระกูล

2 ก. เทคนิคการสัมภาษณ์ เตรียมประเด็นคำถามล่วงหน้า (ไม่ใช่ถามไปเรื่อยๆ)
2. สร้างบรรยากาศการสัมภาษณ์ให้เป็นกันเอง (กัลยาณมิตร) 3. ควรใช้คำถามปลายเปิด (เพื่อหลีกเลี่ยงการชี้นำ) 4. บางครั้งอาจต้องใช้การสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ

3 ก. เทคนิคการสัมภาษณ์ (ต่อ)
5. ควรบันทึกสั้นๆขณะสัมภาษณ์ (อาจบันทึกอากัปกริยาของผู้ให้การ สัมภาษณ์ด้วย) 6. ข้อควรคำนึงตลอดเวลาในการสัมภาษณ์ -ไม่มีผู้ใดชอบการตรวจสอบ -ไม่มีผู้ใดต้องการให้ข้อบกพร่องถูกตรวจพบในสถาบันการศึกษาตนเอง - ผู้ให้ข้อมูลทุกคนมีความรู้สึก ความวิตกกังวล ความกลัว ความตื่นเต้น ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จะมีปฏิกิริยา คือ...

4 ก. เทคนิคการสัมภาษณ์ (ต่อ)
- ตอบไม่ตรงคำถาม - ค้นหาเอกสารที่ผู้ประเมินต้องการไม่พบ - ตอบในสิ่งที่ตนเองไม่ได้ทำ 7. ให้รู้สึกเป็นการร่วมมือกันช่วยกันค้นหาข้อบกพร่องหรือจุดอ่อน เพื่อพัฒนาคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น (เต็มใจ รู้สึกการประเมินมีคุณค่าและเป็นประโยชน์)

5 ท่าทาง/คำถามที่พึงระวัง
ในการสัมภาษณ์ 1. คำถามชวนทะเลาะ : รู้สึกถูกกล่าวหา หรือเป็นฝ่ายผิด 2. ท่าทีกระหยิ่มยิ้มย่องเมื่อตรวจพบข้อบกพร่อง 3. ท่าทียกตนข่มท่าน หรือยัดเยียดความคิดเห็นส่วนตัวให้ผู้ให้ข้อมูลว่าต้องทำท่าอย่างนั้น อย่างนี้ แทนที่จะชี้ให้เห็นเพียงสภาพจริงที่เกิดขึ้น 4. แสดงกิริยาที่ไม่สุภาพ/ไม่ให้เกียรติผู้ให้ข้อมูล

6 เทคนิคการตั้งคำถาม/ข้อสงสัย
1. เตรียมประเด็นคำถาม และถามตามประเด็น 2. ตั้งคำถามที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ตรงประเด็น 3. ถามให้ตรงกับผู้รับผิดชอบ 4. ควรใช้คำถามปลายเปิด ไม่ควรใช้คำถามเชิงชี้นำ 5. ไม่ถามเชิงเปรียบเทียบกับสถานศึกษาอื่น 6. ไม่ถามคำถามที่ทำให้เกิด ถามแตกแยกในหน่วยงาน

7 เทคนิคการตั้งคำถาม/ข้อสงสัย (ต่อ)
7. ค้นหาคำตอบทางอ้อมโดยการพูดคุย ควรเตรียมคำถามไว้ก่อนล่วงหน้า เพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อน 9. ตั้งคำถามเชิงสร้างสรรค์ 10.ถามให้สั้น ฟังให้มาก และจดบันทึก 11.ตั้งคำถามให้ตรงกับมาตรฐานที่จะ ตรวจสอบ 12.ไม่ถามประเด็นที่มีหลักฐานชัดเจน หรือรู้ชัดแล้ว

8 ข. เทคนิคการสังเกต 1. กำหนดประเด็นในการสังเกตสถานการณ์หนึ่งๆให้ชัดเจน
2. คำนึงอยู่เสมอว่าสังเกตในประเด็นต่างๆเพื่อสรุปผลในมาตรฐาน/ตัวบ่งชี้ใด 3. การสังเกตแต่ละห้องเรียน ควรใช้เวลาประมาณ 20 นาที โดยดูให้ครอบคลุมทุกชั้น ทุกกลุ่มสาระ

9 ข. เทคนิคการสังเกต (ต่อ)
4. ข้อควรคำนึงของการสังเกต - สิ่งที่เห็นอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริง : การเดินแถว , การเคารพธงชาติ - อย่าด่วนสรุปจากสิ่งที่เห็น : สภาพการเรียน การสอน - อย่ามองข้ามสิ่งเล็กน้อย : สีหน้าท่าทีของนักเรียนในชั้น , แผนการสอน, สื่อ - มองให้ทะลุ : การใช้บริการในห้องสมุด - มองอย่างเป็นกลาง : ตีความร่วมกับข้อมูลจากแหล่งอื่น

10 ค. เทคนิคการวิเคราะห์เอกสาร
1. อ่านให้เห็นภาพรวมของเอกสาร 1 รอบ 2. ควรทำความเข้าใจนิยามศัพท์ที่สถานศึกษาใช้ให้มากที่สุด 3. อ่านในส่วนสาระโดยละเอียด 4. จุดที่ไม่ชัดเจนที่พบในเอกสารควรบันทึกเพื่อสอบถาม/เก็บข้อมูลด้วยวิธีอื่นต่อไป 5. อ่านอย่างวิเคราะห์ โดยให้เชื่อมโยงกับประเด็นการตรวจสอบและเอกสารประกอบอื่นๆ

11 ข้อบกพร่องในการวิเคราะห์เอกสาร
1. ใช้เวลาอ่านมากเกินไป 2. ไม่ทราบว่าจุดใดคือประเด็นที่สำคัญควรค้นหา หรือควรขอดู 3. อ่านเสร็จแล้วลืมจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานอ้างอิง 4. มักจะพอใจแต่เพียงการมีอยู่ของเอกสาร ไม่ได้ศึกษาลงไปในรายละเอียด 5. ขาดความเป็นคนช่างสังเกต ช่างคิด

12 ง. เทคนิคการเขียนแบบสอบถาม
กำหนดขอบข่ายของสิ่งที่จะถาม : ให้ชัดเจนและครอบคลุมเป็นหัวข้อใหญ่ 2. กำหนดข้อคำถามในแต่ละด้าน : ที่จะเป็นและสำคัญ 3. พิจารณาและจัดลำดับข้อคำถาม : ความชัดเจน และเหมาะสม 4. จัดวางรูปแบบและคำชี้แจง

13 ง. เทคนิคการเขียนแบบสอบถาม (ต่อ)
5. ควรมีการประเมินแบบสอบถามก่อนนำไปใช้ - ข้อความที่ใช้มีความชัดเจนเพียงใด ควรแก่การถามหรือไม่ คำถามนั้นตีความได้หรือไม่ และครอบคลุมครบถ้วนหรือไม่ - รูปแบบเหมาะสมชัดเจนหรือไม่ ให้ความสะดวกมากน้อยเพียงใด - คำชี้แจง ละเอียดพอหรือไม่

14 จ. เทคนิคการรายงานผลการประเมิน ด้วยวาจา 1. จุดมุ่งหมายและประโยชน์
1.1 เพื่อให้เกิดการสื่อสาร 2 ทาง 1.2 มีโอกาสที่จะตอบข้อซักถาม อธิบายเพิ่มเติม จนเข้าใจชัดเจนได้ 1.3 ผู้บริหารสามารถทำความเข้าใจในผลการประเมินได้อย่างรวดเร็ว 1.4 ผู้ประเมินสามารถสรุปผลงานและยุติการประเมินนั้นได้อย่างรวดเร็ว

15 2. เนื้อหาของรายงาน ..หลักที่สำคัญ 3 ประการ..
2.1 ความถูกต้องครบถ้วน : ครบตามวัตถุประสงค์ 2.2 ความต่อเนื่อง : เรียงลำดับน่าสนใจ เข้าใจง่าย 2.3 ความกลมกลืน : ข้อมูลต่าง ๆ ไม่ขัดแย้งกัน

16 3. ข้อควรปฏิบัติ : รายงานด้วยวาจา
3.1 มีการเตรียมแผนการนำเสนออย่างดี 3.2 ใช้อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ แผนภูมิ ช่วย 3.3 เริ่มต้นการรายงานให้น่าสนใจ (เราจะบอกอะไรแก่เขา) 3.4 ให้ใช้วิธีพูดกับผู้รับฟังรายงาน

17 3. ข้อควรปฏิบัติ : รายงานด้วยวาจา (ต่อ)
3.5 หันหน้าให้ผู้ฟังตลอดเวลา (สังเกต อ่านปฏิกิริยาของผู้ฟังได้) 3.6 ระมัดระวังบุคลิกภาพของผู้บรรยาย - การแต่งกาย - การพูด - ท่าทาง


ดาวน์โหลด ppt เทคนิคการรวบรวมข้อมูล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google