หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวรรณคดีเปรียบเทียบ เนื้อหา มีเนื้อหารายวิชาที่ทันสมัย หลากหลาย และที่เป็นการบูรณาการองค์ความรู้เกี่ยวกับ วรรณคดีศึกษาเข้ากับการศึกษาวัฒนธรรมทั้งในระดับสากลและพื้นถิ่น เป็นการศึกษาที่มีลักษณะเป็นสหวิทยาการ บูรณาการศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ มานุษยวิทยา นิเทศศาสตร์ วัฒนธรรมศึกษา สตรีศึกษา จิตวิทยา ฯ เนื้อหารายวิชาคลอบคลุมหลายบริบทวัฒนธรรม เพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างบริบทวัฒนธรรมต่างๆ การศึกษาเน้นการทำวิทยานิพนธ์ ส่งเสริมให้นิสิตทำงานตามความสนใจอย่างเต็มที่ด้วยการค้นคว้า วิเคราะห์ วิจารณ์และวิจัย และมีโอกาสทำงานอย่างใกล้ชิดกับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
ตัวอย่างรายวิชา 2210624 สัมมนาวรรณคดีกับสิทธิมนุษยชน 2210624 สัมมนาวรรณคดีกับสิทธิมนุษยชน ความสำคัญของวรรณคดีในฐานะสื่อที่นำเสนอประเด็นสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก บทบาทของ นักเขียนในการสร้างจิตสำนึกและรณรงค์เรียกร้องสิทธิมนุษยชนผ่านวรรณกรรม การวิเคราะห์วิจารณ์งานวรรณกรรมคัดสรร 2210710 วรรณคดีแนวหลังอาณานิคม ความสัมพันธ์ระหว่างจักรวรรดินิยมกับวรรณคดีแนวหลังอาณานิคม บทบาทของวรรณกรรมในการสร้างอัตลักษณ์ชาติและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ทฤษฎีแนวหลังอาณานิคมและการวิจารณ์วรรณคดี 2210717 สัมมนาวรรณกรรมสตรี ขบวนการเรียกร้องสิทธิสตรีและอิทธิพลที่มีต่อวรรณกรรมสตรีในวัฒนธรรมตะวันตก แนวคิดสตรีนิยมและอิทธิพลที่มีต่อ วรรณกรรมสตรีในวัฒนธรรมตะวันออก วรรณกรรมสตรีคัดสรรและผู้เขียน 2210720 สัมมนาทฤษฎีวรรณคดี ทฤษฎีวรรณคดีที่สำคัญ วิเคราะห์ทฤษฎีวรรณคดีที่น่าสนใจและนำมาประยุกต์ใช้ในการวิจารณ์วรรณกรรม 2210724 สัมมนานวนิยาย พัฒนาการเกี่ยวกับแนวคิดและกลวิธีของนวนิยายทั้งตะวันออกและตะวันตก 2210762 สัมมนาวรรณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สัมมนาวรรณกรรมของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยให้ความสำคัญกับแนวคิด เนื้อหา รูปแบบและอิทธิพล วิเคราะห์วรรณกรรมเอกเฉพาะเรื่อง
นิสิต ประวัติศาสตร์ฯ กระตุ้นให้เกิดความหลากหลายในการแลกเปลี่ยนความคิด นิสิตมาจากสาขาวิชาที่หลากหลายเช่น วิทยาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ วรรณคดีศึกษา ประวัติศาสตร์ฯ กระตุ้นให้เกิดความหลากหลายในการแลกเปลี่ยนความคิด รายวิชาที่ทันสมัยเปิดโอกาสให้นิสิตได้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานต่างประเทศที่มีความสนใจที่สอดคล้องกัน นับเป็นการเปิดโลกทัศน์ ทางวิชาการและประสบการณ์ชีวิตที่มีค่า นิสิตสามารถพัฒนาศักยภาพในการวิจัย ใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญที่ได้จาก ประสบการณ์การค้นคว้าวิจัยเพื่อประกอบอาชีพได้หลากหลาย มีความเข้าใจวัฒนธรรมและสังคม มีความรับผิดชอบและคุณธรรมต่อวัฒนธรรมและ สังคม
ตัวอย่างวิทยานิพนธ์ (2548) ผู้ประพันธ์ (2546) ไพโรจน์ นุชพะเนียด. พัฒนาการของผู้หญิงในบริบทของความหลากหลายทางวัฒนธรรม (2549) นารีมา แสงวิมาน. นวนิยายของนะญีบ มะห์ฟูซ: ผลกระทบของจักรวรรดินิยมที่มีต่อการเมืองและสังคมอียิปต์ (2548) วิศิษย์ ปิ่นทองวิชัยกุล. เดอะ ไลท์ ออฟ เอเชีย ของเซอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์: ภูมิปัญญาตะวันออกในโลกตะวันตก นิพนธ์ ศศิภานุเดช. ขุนเขาแห่งจิตวิญญาณ ของเกาสิงเจี้ยน: ความสัมพันธ์ระหว่างตัวบทและทฤษฎีวรรณคดีของ ผู้ประพันธ์ (2546) อุมารินทร์ ตุลารักษ์. บททำขวัญเรือและพิธีทำขวัญเรือของชาวไทยภาคใต้ : การสร้างสรรค์และการถ่ายทอด (2544, ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดี ประจำปี 2545) ศิริพร ศรีวรกานต์. การศึกษาเปรียบเทียบทิลล์ ออยเลนชะปีเกลกับศรีธนญชัยในฐานะนิทานมุขตลก (2542, ตีพิมพ์ 2544, 2548 โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)