โครงงาน : เพื่อสื่อการสอนเรื่องระบบสัทอักษรจีน HANYU PINYIN
ที่มาของโครงงาน : การเรียนเรื่องระบบสัทอักษรจีน เป็นพื้นฐานของผู้ที่จะเรียนวิชาภาษาจีน ในการอ่านออกเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ที่เป็นส่วนประกอบของระบบสัทอักษรจีนให้ถูกต้องและชัดเจนนั้นมีความยากในระดับ หนึ่ง ซึ่งถ้าออกเสียงไม่ชัดเจนหรือไม่ถูกต้องแล้ว การที่จะพูดสื่อสารเป็นภาษาจีนนั้นก็จะยากขึ้น เพื่อ เป็นการช่วยให้การเรียนวิชาภาษาจีน ในเรื่องของระบบสัทอักษรจีนนั้นง่ายขึ้น จึงเกิดการคิดเพื่อที่จะทำ สื่อในการสอนอ่านออกเสียงระบบสัทอักษรจีนขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยในการฝึกอ่านออก เสียงของนักเรียนในการเรียนเรื่องระบบสัทอักษรจีน
วัตถุประสงค์ของโครงงาน : เพื่อศึกษาการใช้พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ในการอ่านออกเสียงระบบสัทอักษรจีน เพื่อทำสื่อที่เหมาะสมกับนักเรียนในการอ่านออกเสียงระบบสัทอักษรจีน เพื่อแก้ปัญหานักเรียนที่อ่านออกเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ที่อ่านออกเสียงไม่ถูกต้อง ไม่ ชัดเจน เพื่อฝึกทักษะการทำงานร่วมกันและใช้ทักษะการใช้เครือข่ายเทคโนโลยี
ระบบสัทอักษรจีน HANYU PINYIN ภาษาจีนในปัจจุบัน ได้ใช้ระบบ Hanyu Pinyin Fang’an 汉语拼音 方案 ( สัทอักษรภาษาจีน ) ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ต้องใช้ในการเรียนภาษาจีน ประกอบด้วย : 1. พยัญชนะ 23 เสียง 2. สระเดี่ยว 6 เสียง สระผสม และ สระนาสิก 3. วรรณยุกต์ 4 เสียง 4. การผสมคำและการอ่านพินอิน
วิธีในการทำโครงงาน : ร่วมมือกับเพื่อนๆในกลุ่มระดมความคิดในการคิดที่จะนำเสนอสื่อออกมาในรูปแบบใด ค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบสัทอักษรจีนจากสื่อและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น หนังสือ อินเตอร์เน็ต เวปไซต์ ที่มี เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง นำความรู้ที่ได้มารวบรวมแล้วช่วยกันจัดทำบัตรคำพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ จัดทำแผ่นภาพการผสมคำและการ อ่านพินอิน และการจัดเตรียมวีดิโอที่เกี่ยวข้องจากเวปไซด์ Youtube เพื่อใช้ในการอัดวีดิโอการสอน นำเสนอด้วย การนำสื่อที่จัดทำนั้นมาทำการอัดวีดิโอการสอนโดยมีการแสดงบทบาทสมมติเป็นครูผู้สอน 1 คน และสมาชิก ในกลุ่มคนอื่นๆ ก็เป็นนักเรียน นำผลงานขึ้นโพสต์ในเวปไซด์ Krusorndee.net นำเสนอผลงานในชั้นเรียนให้กับครูผู้สอนรายวิชาภาษาจีน โดยใช้ Power Point
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ : ให้นักเรียนกลุ่มอื่นๆในชั้นเรียนเดียวกันประเมินว่าโครงงานชิ้นนี้ ใช้ในการช่วยอ่านออกเสียงได้ หรือไม่ การอ่านออกเสียง พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ในระบบสัทอักษรจีน ถูกต้อง และชัดเจนดีขึ้น ได้ฝึกทักษะการใช้เครือข่ายเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการนำเสนอผลงาน
อ้างอิงแหล่งข้อมูล หนังสือภาษาจีน : ข้อมูลจาก : http://www.google.co.th/search (ค้นหารูปภาพประกอบผลงาน) www.chinesetimeschool.com/th- th/articles/pinyin-song/ (วีดิโอเนื้อหา ) Krusorndee.net (นำเสนอผลงานผ่านเวปไซด์) หนังสือภาษาจีน : 1. หนังสือสัมผัสภาษาจีน ม.ต้น เล่ม 1 2. หนังสือ Mine Map Chinese