สารสกัดเมล็ดสะเดาที่มีผลต่อการยับยั้งการวางไข่ ของแมลงวันผลไม้ Neem Seed Kernel Extracts as Antioviposition of Tephritid Fruit Fly
ไม้ผลหลายชนิดของประเทศประสบปัญหาการเข้าทำลายของแมลงศัตรู ทำให้ไม้ผลได้รับความเสียหาย เกษตรกรส่วนมากจะมุ่งเน้นการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะต้องสั่งซื้อมาจากต่างประเทศทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเกินความจำเป็น ที่สำคัญสารเคมีนำมาซึ่งความเสียหายต่อสภาพแวดล้อม ต่อสุขภาพของประชาชนและยังเป็นปัญหาในการส่งออกพืชผลทางการเกษตรของประเทศไทยในปัจจุบัน ทำให้ประเทศสูญเสียรายได้และสูญเสียดุลการค้าเป็นจำนวนมาก
แมลงวันผลไม้ศัตรูของไม้ผล แมลงวันผลไม้เป็นแมลงวันที่มีขนาดเล็ก ส่วนหัว อก และท้องมีสีน้ำตาลอ่อน ที่สันหลังอกมีแถบสีเหลืองทองเป็นแห่งๆส่วนอกกว้าง 2 มิลลิเมตร ส่วนท้องกว้าง 3 มิลลิเมตร ปีกใสจากปลายปีกข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง กว้าง 15 มิลลิเมตร
แมลงวันผลไม้ศัตรูของไม้ผล แมลงวันผลไม้อยู่ในอันดับ Diptera วงศ์ Tephritidae ขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณได้เกือบตลอดทั้งปี ทำลายผลผลิตได้ทุกระยะ มีพืชอาหารหลายชนิด ที่มา : Barton Park (2006)
วงจรชีวิตแมลงวันไม้ ที่มา : สังวรณ์ กิจทวี (2545)
สะเดา สะเดาเป็นไม้ยืนต้นอยู่ในวงศ์ Meliaceae สกุล Azadirachta สะเดาอินเดีย สะเดาเป็นไม้ยืนต้นอยู่ในวงศ์ Meliaceae สกุล Azadirachta ในประเทศไทยพบ 3 ชนิด ได้แก่ สะเดาไทย 1. สะเดาอินเดีย (Azadirachta indica A. Juss) 2. สะเดาไทย (Azadirachta indica A. Juss var. siamensis) 3. สะเดาช้างหรือไม้เทียม (Azadirachta exelsa Jack) สะเดาช้าง
สารสกัดจากสะเดา สารอะซาดิแรคติน(azadirachtin) ซาแลนนิน (salannin) นิมบิน (nimbin) อนุพันธุ์อื่นๆ
ผลของสารสกัดจากสะเดา การยับยั้งการวางไข่ (egg-laying) การยับยั้งกระบวนการลอกคราบ (molt disrupting effect) การยับยั้งการกิน (antifeedant effect) ผลต่อการเคลื่อนไหวและการบิน
การทดลองเกี่ยวกับการยับยั้งการวางไข่ของแมลงวันผลไม้ การใช้สารสกัดจากเมล็ดสะเดาในรูปแบบต่างๆ ที่ความเข้มข้นแตกต่างกัน เพื่อทดสอบความสามารถในการยับยั้งการวางไข่ของแมลงวันผลไม้
แมลงที่ใช้ในการทดลอง Bactrocera cucurbitae สารที่ใช้ในการทดลอง NSKS EtOH. NSK Neem oil EtOH. oil Acet. DNSKT การทดลองแบบ CRD ( Complete Random Design) RCB (Randomized completely Block)
ผลการยับยั้งการวางไข่ TABLE 1. Effect of neem seed kernel extracts on the oviposition by Bactrocera cucurbitae under choice test conditions Concn. %Increase(+) ordecrease(-) in oviposition vs water with emulsifier (control) (%) NSKS EtOH. NSK Neem oil EtOH. oil Acet. DNSKP 20.0 -100* -100* -100* -100* -100* 10.0 -35.3* -99.6* -66.3* -100* -100* 5.0 -33.5* -63.4* -51.4* -93.6* -84.3* 2.5 +1.8ns -53.2* -48.9* -47.0* -83.0* 1.25 +10.6ns -42.0* -26.4* -43.9* -53.4* Untreated Control +5.6ns +7.0ns +7.8ns -14.0ns +17.1ns Means of three replications. *,Significant; ns, not significant; comparison by LSD. ที่มา : Singh, S. and Singh, R.P. (1998)
ผลการยับยั้งการวางไข่ TABLE 2. Effect of neem seed kernel extracts on the oviposition by Bactrocera cucurbitae under no-choice test conditions Concn. Number of eggs laid /10 females (%) NSKS EtOH. NSK Neem oil EtOH. oil Acet. DNSKP 20.0 10.3a 2.00a 10.0a 2.0a 1.33a 10.0 38.0b 8.3b 28.0b 5.3a 7.7b 5.0 45.0b 42.3c 29.0b 27.7b 26.0c 2.5 47.7b 49.0c 34.0bc 31.3bc 32.0c 1.25 51.7bc 53.7c 46.7c 48.3c 36.3c Water with Emulsifier 91.0cd 98.7d 96.7d 75.3d 84.0d Untreated Control 92.3d 99.7d 101.3d 85.7d 87.7d Means of three replications. Within columns, means followed by a common letter do not differ significantly (p=0.05) by DMRT ที่มา : Singh, S. and Singh, R.P. (1998)
สรุป การควบคุมแมลงวันผลไม้โดยการใช้สารฆ่าแมลงเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบันเพราะสามารถให้ผลการควบคุมรวดเร็วแต่ในทางตรงกันข้ามสารฆ่าแมลงจะส่งผลต่อการตกค้างในสิ่งแวดล้อมและผู้ใช้โดยตรง แต่การใช้สารสกัดจากเมล็ดสะเดา จะมีผลทำให้แมลงที่ถูกฉีดพ่นไข่ได้น้อยลง ตลอดจนยังมีผลทำให้ไข่ที่วางไม่สามารถฟักออกเป็นตัว ทำให้ความสามารถในการผลิตลูกหลานของแมลงลดลง จึงทำให้แมลงวันผลไม้มีจำนวนลดลง ผลผลิตไม่ได้รับความเสียหาย และยังสามารถลดการใช้สารฆ่าแมลงและลดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่งด้วย
นำเสนอโดย... นายจรัญ เจียรประวัติ รหัส 4740024 นายจรัญ เจียรประวัติ รหัส 4740024 อาจารย์ที่ปรึกษาสัมมนา รองศาสตราจารย์ ดร.สุรไกร เพิ่มคำ ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90112 โทร. 074-286101-2