หลักเกณฑ์ในการป้องกันการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุน
การดำเนินการ เพื่อกำหนดเป็นมาตรฐานให้บริษัทจัดการสามารถดำเนินธุรกิจในการจัดการกองทุนของตนด้วยความโปร่งใส และคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสำคัญ สำนักงานได้ออกประกาศที่ สน. 29/2549 เรื่อง การกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุนและหลักเกณฑ์ในการป้องกัน ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2549
สาระสำคัญ กำหนดหลักปฏิบัติในการจัดการกองทุนเพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการบริหารจัดการกองทุน แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ การลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ (proprietary trading) การทำธุรกรรมของกองทุนกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (affiliated transaction) การรับผลประโยชน์ตอบแทนเนื่องจากการที่กองทุนใช้บริการบุคคลอื่น (soft commission) การลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของพนักงาน (staff dealing)
1. การลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ บริษัทจัดการสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ใด ๆ ได้ โดยต้องมี holding period เกิน 1 ปี เว้นแต่ การลงทุนในเงินฝาก หรือตราสารเทียบเท่า ตราสารที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปีและถือจนครบกำหนด หน่วยลงทุนเพื่อบริหารสภาพคล่องของกองทุน ในกรณีที่ไม่สามารถจำหน่ายทรัพย์สินเพื่อรองรับการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนได้ ทั้งนี้ หากมีเหตุจำเป็นและสมควรที่ไม่อาจถือทรัพย์สินไว้เกิน 1 ปีได้ ให้บริษัทจัดการขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทและรายงานต่อ ก.ล.ต. ภายใน 5 วันทำการนับแต่วันที่จำหน่ายทรัพย์สินนั้น
1. การลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ กรณีที่บริษัทจัดการบริหารพอร์ตการลงทุนของ บริษัทจัดการเอง ต้องจัดให้มีระบบงานเพื่อพอร์ตบริษัท ที่มีประสิทธิภาพโดยต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. ก่อนเริ่มลงทุน
2. การทำธุรกรรมของกองทุนกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง กองทุนรวม (ข)(2) >30% บริษัทแม่ (ข)(1) >50% >50% >5% (จ) + (ฉ) > 30% บริษัทจัดการ (ง) (จ) (ช) >10% (ฉ) (ค) (ฌ) กองทุน (ญ) กองทุนรวม >10% (ซ)
ผู้มีอำนาจถือหุ้น > 5% / รวมกัน >10% / 2. การทำธุรกรรมของกองทุนกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง กองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการ เป็นที่ปรึกษา (ง) (ค) (ข) ผู้มีอำนาจถือหุ้น > 5% / รวมกัน >10% / เป็นกรรมการ กองทุนส่วนบุคคล (ก) ผู้มีอำนาจจัดการ
2. การทำธุรกรรมของกองทุนกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (ง)(2) กองทุนรวมอสังหาฯ >30% (ง)(1) >5% (ค) (1)(ฌ) (ก) (ข) >10% บริษัทจัดการ (จ) กองทุนรวมอสังหาฯ
2. การทำธุรกรรมของกองทุนกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง เงื่อนไขการทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (1) เป็นธุรกรรมที่เป็นประโยชน์ที่ดีที่สุดสำหรับกองทุนในขณะนั้น (2) เป็นธุรกรรมที่จำเป็นและเป็นประโยชน์กับกองทุน (3) เป็นธุรกรรมในลักษณะที่เป็นธรรมเนียมทางค้าปกติ (at arm’s length transaction) (4) ถ้าเป็นธุรกรรมระหว่างกองทุนภายใต้การจัดการ (cross trade) ต้องเหมาะสมกับลักษณะและนโยบายของกองทุนที่เข้าเป็นคู่สัญญา
2. การทำธุรกรรมของกองทุนกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (5) หากเป็นธุรกรรมระหว่างกองทุนรวมกับบริษัทจัดการ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. (6) ธุรกรรมที่ไม่มีราคาตลาดต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือลูกค้าก่อนการทำธุรกรรมด้วย
3. การรับผลประโยชน์ตอบแทน เนื่องจากการที่กองทุนใช้บริการบุคคลอื่น บริษัทจัดการจะรับผลประโยชน์ใด ๆ เพื่อกองทุนได้ โดยผลประโยชน์นั้นต้องมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ และเป็นประโยชน์ต่อกองทุน ในการจัดสรรผลประโยชน์ให้แก่กองทุนต้องกระทำด้วยความเป็นธรรม และคำนึงถึงนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้นด้วย
4. การลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของพนักงาน จัดให้มีระบบงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อดูแลให้พนักงานในบริษัทมีมาตรฐานในการปฏิบัติงานตามแนวปฏิบัติที่สมาคมกำหนดเกี่ยวกับการควบคุมการซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงานในบริษัทจัดการ กำหนดมาตรการทางวินัยหากพนักงานของตนไม่ปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว และ จัดให้มีการชดใช้ความเสียหายกรณีที่การไม่ปฏิบัติตามของพนักงานก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน