สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การคำนวณกระแสเงินสด คำนวณกระแสเงินสดเพื่อใช้ประเมินโครงการลงทุน (Capital budgeting)
Advertisements

ค่าของทุน The Cost of Capital
สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
บทที่ 1 ลักษณะของระบบบัญชี
บทที่ 1 เรื่อง การฝากขาย Chollada Advance I : Consign.
บทที่ 14 เครื่องมือและเครื่องทุ่นแรงในงานบัญชี
บทที่ 7 ระบบบัญชีเกี่ยวกับการขายและลูกหนี้
บทที่ 12 ระบบบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ถาวร
การขายผ่อนชำระและการเช่าซื้อ
บทที่ 4 การร่วมค้า การร่วมค้า หมายถึง การประกอบกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจ
บทที่ 10 ระบบบัญชีเกี่ยวกับการควบคุมสินค้าคงเหลือ
การจัดการเงินทุนหมุนเวียน
การบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่อง
สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
บทที่ 3 การเปลี่ยนแปลงในส่วนของ ผู้เป็นหุ้นส่วน
สินทรัพย์หมุนเวียน-สินค้า เงินสด+หลักทรัพย์+ลูกหนี้
ข้อสังเกตที่พบจากการตรวจ ระบบการควบคุมคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี (engagement level) 5 มกราคม 2555.
การออกแบบการวิจัยการเขียนเค้าโครงการวิจัย
Research Problem ปัญหาการวิจัย
Statement of Cash Flows
การเปิดเผยข้อมูลและ นโยบายการบัญชี
การบันทึกรายการปรับปรุง
การวิเคราะห์รายการค้า และหลักการบันทึกบัญชี
บทที่ 8 การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce)
หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ
สถานการณ์ด้านการเงินการคลัง
การตีราคาสินค้าคงเหลือ และ ต้นทุนขาย
การปฏิบัติเกี่ยวกับบัญชีเกณฑ์คงค้าง
บทที่ 12 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ประเภทของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
บทที่ 8 ระบบบัญชีสินทรัพย์ถาวร
การบัญชีขั้นกลาง 1 (Intermediate Accounting 1)
บทที่ 4 งบการเงิน.
ระบบบัญชีเดี่ยว.
บทที่ 6 การบัญชีสำหรับกิจการซื้อ-ขายสินค้า
การบันทึกรายการค้าในสมุดบัญชี
การทำความเข้าใจกับงบทดลอง
นางสาววรนุช ชัยกิตติภรณ์ หัวหน้าสนง.ตรวจบัญชีสหกรณ์ชลบุรี
ระบบบัญชี.
โครงร่างการวิจัย (Research Proposal)
Chapter8 การบัญชีและการวิเคราะห์งบการเงิน
บทบาทของการบริหารการเงิน (The Role Financial Management)
บทที่ 1 หลักการและหน้าที่ทางการเงิน
บทที่ 4 ผลตอบแทนและความเสี่ยง (1)
บทที่ 3 คณิตศาสตร์การเงิน (3)
บทที่ 5 การวางแผนการผลิต.
หน่วยที่ 4 รายการปรับปรุงและงบทดลอง หลังรายการปรับปรุง
สินค้าคงเหลือ.
หน่วยที่ 4 รายการปิดบัญชีและงบการเงินของกิจการอุตสาหกรรม
บทที่ 6 การปิดบัญชี การปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป
เทคนิคการจำแนกหมวดบัญชี
ระบบบัญชีเดี่ยวและสินค้า
ระบบการเรียกเก็บหนี้
FM FM
วิชาการบัญชีสินค้าและระบบบัญชีเดี่ยว
การบันทึกบัญชีและการจัดทำรายงานการเงิน
บทที่ 3 กระบวนการวิจัยตลาดและการกำหนดปัญหาการวิจัย
หน่วยที่ 3 การบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป
การรวมธุรกิจ.
บทที่ 3 เงินสดและการควบคุมเงินสด
ลักษณะโครงการวิจัยที่ดี
ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1
ชื่อกิจการ เจ้าของกิจการ.
การวัดการวิจัยในการตลาด
วิชาระบบบัญชีเดี่ยวและสินค้า
บทที่ 1 บทบาทของการวิจัยตลาด
วิทยาศาสตร์หมายถึงอะไร
กรณีศึกษาบริษัท ผู้พิทักษ์ความสะอาด จำกัด
ใบสำเนางานนำเสนอ:

สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย School of Accounting www.accounting.crru.in.th

สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย School of Accounting Accounting Theory AC 4103 Asst.Prof. Dr. Panchat Akarak www.accounting.crru.ac.th

หัวข้อสำคัญ บทที่ 2 โครงสร้างของทฤษฎีการบัญชี ความหมายของทฤษฎีการบัญชี วิธีการสร้างทฤษฎีการบัญชี โครงสร้างของทฤษฎีการบัญชี CRRU

ความหมายของทฤษฎีการบัญชี ความหมายของทฤษฎี (Theory) พจนานุกรรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี 2542 ทฤษฎี หมายถึง ความเห็น การเห็นด้วย และลักษณะที่คิดคาดเอาตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์ ข้อมูลในภาคปฏิบัติซึ่งเกิดมาจากอย่างระเบียบ” CRRU

ความหมายของทฤษฎีการบัญชี ความหมายของทฤษฎี (Theory) Kohler and Eric (1963) ทฤษฎี ประกอบด้วยสัจพจน์และกำหนดขึ้นจากกฎที่เป็นรูปนัย และที่เป็นอรูปนัย เพื่ออธิบายความจริงหรือการกระทำที่เป็นรูปธรรม(Concrete Operation)และนามธรรม(Abstract Operation) CRRU

ความหมายของทฤษฎีการบัญชี ความหมายของทฤษฎี (Theory) ทฤษฎี หมายถึง องค์ความรู้ซึ่งเกิดจากการเชื่อมโยงแนวคิด ซึ่งเป็นนามธรรมหลายแนวคิดเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบแบบแผน และสามารถนำไปใช้ในการอธิบายหรือพยากรณ์ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ CRRU

ความหมายของทฤษฎีการบัญชี คุณสมบัติของทฤษฎี(Theory) มี 3 ประการดังนี้ 1. สามารถอธิบายความจริงหลักของปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นได้ 2. สามารถอธิบายความจริงหลักนั้นออกมาเป็นกฎหรือ ความจริงอื่นได้ 3. สามารถทำนายหรือพยากรณ์ปรากฎการณ์เหล่านั้นได้ CRRU

ความหมายของทฤษฎีการบัญชี ความหมายการบัญชี (Accounting) คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชี “การบัญชี คือกิจกรรมบริการ ซึ่งมีหน้าที่ในการให้ข้อมูลหรือสารสนเทศเชิงปริมาณโดยมีลักษณะเป็นข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ” CRRU

ความหมายของทฤษฎีการบัญชี ความหมายการบัญชี (Accounting) คณะกรรมการศัพท์บัญชี “การบัญชี คือศิลปะการบันทึก การจัดประเภทแลชะการสรุปในลักษณะที่มีนัยสำคัญและในรูปของจำนวนเงินของรายการและเหตุการณ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของลักษณะทางการเงินและการแปลความหมายของผลลัพท์ดังกล่าว” CRRU

ความหมายของทฤษฎีการบัญชี ความหมายการบัญชี (Accounting) สมาคมบัญชีของสหรัฐอเมริกา (AAA) “การบัญชีเป็นกระบวนการของการระบุ การวัดมูลค่าและการสื่อสารข้อมูลหรือสารสนเทศทางเศรษฐกิจเพื่อให้ผู้ใช้สารสนเทศนั้นมีดุลยพินิจและตัดสินใจ” CRRU

ความหมายของทฤษฎีการบัญชี ความหมายทฤษฎีการบัญชี (Accounting Theory) ทฤษฎีการบัญชี หมายถึง กลุ่มของแนวคิด สมมติฐานและหลักการบัญชีต่าง ๆ ซึ่งเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาและใช้ในการประเมินวิธีปฏิบัติทางการบัญชี ตลอดจนพัฒนาวิธีปฏิบัติทางการบัญชี เพื่อให้สามารถใช้อธิบายและคาดคะเนเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในอนาคตได้ CRRU

ความหมายของทฤษฎีการบัญชี ความหมายทฤษฎีการบัญชี (Accounting Theory) ทฤษฎีไม่ได้อธิบายการปฏิบัติทางการบัญชีทุกอย่าง ทฤษฎีเกิดจากเหตุผล การปฏิบัติทางบัญชีทุกอย่างไม่ได้เกิดจากเหตุผล ทฤษฎีขึ้นอยู่กันอธิบายแนวความคิดและเหตุผลมากกว่าวิธีทางเทคนิค CRRU

ความหมายของทฤษฎีการบัญชี ความหมายทฤษฎีการบัญชี (Accounting Theory) ความจริงอาจอธิบายโดยอาศัยทฤษฎีการบัญชี ภายใต้ข้อสมมติ 1. ข้อเท็จจริงทางการเงินที่แสดงในงบการเงิน 2. แนวคิดที่นำมาประยุกต์กับการแสดงข้อมูลทางการบัญชี 3. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของกิจการหนึ่งกับกิจการอื่น CRRU

ลักษณะของทฤษฎีการบัญชี ลักษณะของทฤษฎีการบัญชี (The Nature of Accounting Theory) สรุปได้ 3 ระดับดังนี้ 1. ทฤษฎีการบัญชีมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างหรือรูปแบบของกระบวนการบันทึก และวิธีการที่ใช้ในการจัดทำงบการเงินและการรายงานทางการเงิน เรียกว่า “ระดับโครงสร้าง” CRRU

ลักษณะของทฤษฎีการบัญชี ลักษณะของทฤษฎีการบัญชี (The Nature of Accounting Theory) สรุปได้ 3 ระดับดังนี้ (ต่อ) 2. ทฤษฎีการบัญชี เน้นเนื้อหาทางเศรษฐกิจที่เกิดจากเหตุการณ์ทางการบัญชี เรียกว่า “ระดับการตีความ” CRRU

ลักษณะของทฤษฎีการบัญชี ลักษณะของทฤษฎีการบัญชี (The Nature of Accounting Theory) สรุปได้ 3 ระดับดังนี้ (ต่อ) 3. ทฤษฎีการบัญชีเน้นความจำเป็นของผู้ใช้งบการเงินเพื่อตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจและผู้ทำงบการเงินใน “ระดับปฏิบัติ” CRRU

ลักษณะของทฤษฎีการบัญชี Professor Vernon Kam ทฤษฎีการบัญชี (The Accounting Theory) แบ่ง ได้ 2 ระดับ ดังนี้ 1. ระดับพื้นฐาน ได้แก่มาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยหน่วยงานให้ปฏิบัติ 2. ระดับสูง การวิเคราะห์ วิจัยเชิงลึก เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของข้อมูลทางการบัญชีและการตัดสินใจของผู้ใช้ข้อมูล CRRU

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการบัญชี หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป GAAP หมายถึง แนวคิดหรือวิธีการที่เห็นพ้องต้องกันในการปฏิบัติกับรายการทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น มาตรฐานการบัญชี TAS หมายถึง หลักการบัญชีและวิธีปฏิบัติทางการบัญชีที่รับรองทั่วไป ประเพณีนิยม หมายถึง ข้อความหรือกฎที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ CRRU

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการบัญชี กฎข้อบังคับ หมายถึง การอยู่ในระเบียบแบบแผนและข้อบังคับ สมมติฐาน หมายถึง ข้อความซึ่งได้รับการยอมรับโดยไม่ต้องพิสูจน์ สัจพจน์ หมายถึง ข้อความที่เป็นจริงโดยไม่มีข้อสงสัย CRRU

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการบัญชี ข้อสมมติ หมายถึง ข้อความหรือหลักการพื้นฐานซึ่งไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริง แต่เป็นที่เชื่อและยอมรับกันว่าเป็นความจริง วิธีปฏิบัติ หมายถึง การกระทำ ขั้นตอน วิธีปฏิบัติ หรือเหตุการณ์ที่กระทำต่อเนื่องกันไป นโยบาย หมายถึง กฎ ข้อบังคับหรือหลักเกณฑ์ที่ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ CRRU

การสร้างทฤษฎีการบัญชี 1. วิธีที่ใช้ในการสร้างทฤษฎีมี 2 วิธี ดังนี้ 1.1 Descriptive Theory of Accounting or Positive Theory ใช้อธิบายรายการหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคืออะไร ไม่เกี่ยวข้องกับมูลค่า 1.2 Normative Theory of Accounting or Normative Theory ใช้อธิบายการบัญชีควรเป็นอย่างไร และควรปฏิบัติอย่างไร จะเกี่ยวข้องกับมูลค่า CRRU

การสร้างทฤษฎีการบัญชี 1. วิธีที่ใช้ในการสร้างทฤษฎีมี 2 วิธี ดังนี้ สรุป ต้องใช้ทั้งสองวิธี การสร้างทฤษฎีต้องใช้ทั้งสองวิธีประกอบกันในการประเมินวิธีปฏิบัติทางการบัญชี (Descriptive Theory) และ การเลือกวิธีปฏิบัติทางการบัญชีที่ควรใช้นำไปปฏิบัติ(Normative Theory) CRRU

การสร้างทฤษฎีการบัญชี 2. แนวทางในการสร้างทฤษฎีการบัญชี มีดังนี้ 1.การสร้างทฤษฎีจากการพิจารณาหลักการทั่วไปหรือนิรนัย(Deductive Approach or Reasoning or Logical Approach) 2.การสร้างทฤษฎีจากการพิสูจน์หรืออุปนัย(Inductive Approach or Reasoning) CRRU

การสร้างทฤษฎีการบัญชี 2. แนวทางในการสร้างทฤษฎีการบัญชีมีดังนี้ (ต่อ) 3. การสร้างทฤษฎีโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และการสอบถาม (Scientific Method or Inquiry) 4. การสร้างทฤษฎีโดยใช้หลักพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Approach) CRRU

การสร้างทฤษฎีการบัญชี 2. แนวทางในการสร้างทฤษฎีการบัญชีมีดังนี้ (ต่อ) 5. การสร้างทฤษฎีโดยใช้หลักจริยศาสตร์ (Ethical Approach) 6. การสร้างทฤษฎีโดยใช้หลักสังคมศาสตร์ (Emphasis on Sociological Factors Approach) 7. การสร้างทฤษฎีโดยใช้หลักเศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomic Approach) CRRU

การสร้างทฤษฎีการบัญชี 2. แนวทางในการสร้างทฤษฎีการบัญชีมีดังนี้ (ต่อ) 8. การสร้างทฤษฎีโดยไม่ใช้ทฤษฎี (Nontheoretical Approach) 9. การสร้างทฤษฎีตามเหตุการณ์ (Events Approach) 10. การสร้างทฤษฎีโดยการทำนาย (Predictive Approach) 11. การสร้างทฤษฎีโดยรวมทฤษฎี (Eclectic Approach) CRRU

การสร้างทฤษฎีจากการพิจารณาหลักการทั่วไปหรือนิรนัย Deductive Approach วัตถุประสงค์และข้อสมมติ (Objective and Postulates) หลักการ (Principle) วิธีปฏิบัติ (Practice) CRRU

การสร้างทฤษฎีจากการพิจารณาหลักการทั่วไปหรือนิรนัย Deductive Approach การสร้างทฤษฏีแบบนี้ อาจจะเรียกว่าไม่สนใจโลกความเป็นจริง แต่เชื่อถือแบบคณิตศาสตร์ และความจริงเชิงตรรกะ เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปที่มีความสม่ำเสมอตลอดมา เกิดจากข้อสงสัย และนำเอาหลักการบัญชีที่เหมาะสมมาอธิบายรายการและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บางครั้งอาจจะเรียกว่า วิจัยแบบนั่งเก้าอี้ (Armchair Research) CRRU

การสร้างทฤษฎีจากการพิสูจน์หรืออุปนัย Inductive Approach การสังเกตการณ์ (Observation) สมมติฐาน (Hypothesis) การทดลอง (Experiment) ข้อสรุป (Conclusion) CRRU

การสร้างทฤษฎีจากการพิสูจน์หรืออุปนัย Inductive Approach การสร้างทฤษฏีแบบนี้อาจจะเรียกว่า วิธีทางวิทยาศาสตร์เริ่มจาก การพัฒนาความคิด การสังเกตปรากฏการณ์ ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความคิด การสรุปผลจากการสังเกตการณ์ที่ได้ การระบุหรือสรุปเป็นทฤษฎี CRRU

โครงสร้างของทฤษฎีการบัญชี หลักการบัญชีขั้นมูลฐาน โครงสร้างของทฤษฎีการบัญชี มี 4 ลักษณะ ดังนี้ โครงสร้างของทฤษฎีการบัญชี แนวคิดขั้นมูลฐาน ข้อสมมติขั้นมูลฐาน หลักการบัญชีขั้นมูลฐาน หลักการเพิ่มเติม -รายการและเหตุการณ์ ทางการบัญชี -สมการบัญชี -ความเป็นกลางของหน่วยงาน -การดำเนินงานต่อเนื่อง -การใช้หน่วยเงินตรา -งวดเวลา -หลักราคาทุน -หลักการเกิดขึ้นของรายได้ -หลักการจับคู่รายได้-ค่าใช้จ่าย -หลักความสม่ำเสมอ -หลักการเปิดเผยข้อมูล -หลักฐานอันเที่ยงธรรม -หลักการประมาณ หลักนัยสำคัญ หลักความระมัดระวัง CRRU

โครงสร้างของทฤษฎีการบัญชี จากแผนผัง โครงสร้างของทฤษฎีการบัญชี จำแนกได้ 4 ลักษณะ 1. แนวคิดขั้นมูลฐานของทฤษฎีการบัญชี 2. ข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชี 3. หลักการบัญชีขั้นมูลฐาน 4. หลักการเพิ่มเติมหรือการดัดแปลงธรรมเนียมปฏิบัติเพิ่มเติม CRRU

แนวคิดขั้นมูลฐานของทฤษฎีการบัญชี ทฤษฎีมีแนวคิดขั้นมูลฐานที่สำคัญ 2 รายการ ดังนี้ 1. รายการและเหตุการณ์ทางการบัญชี (Accounting Transaction and Events) 2. สมการบัญชี (Accounting Equation) CRRU

แนวคิดขั้นมูลฐานของทฤษฎีการบัญชี ทฤษฎีมีแนวคิดขั้นมูลฐานที่สำคัญ 2 รายการ ดังนี้ 1. รายการและเหตุการณ์ทางการบัญชี (Accounting Transaction and Events) หมายถึง เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดการโอน หรือการแลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยงานทางบัญชีกับหน่วยงานหรือบุคคลอื่น เหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของงบการเงิน CRRU

แนวคิดขั้นมูลฐานของทฤษฎีการบัญชี 2. สมการบัญชี (Accounting Equation) หมายถึง ผลของการบันทึกรายการบัญชีทั้งด้านเดบิตและเครดิตด้วยจำนวนเงินเท่ากันตามหลักการบัญชีคู่ สมการพื้นฐาน สินทรัพย์= ส่วนได้เสีย (หนี้สินและส่วนของเจ้าของ) สมการงบดุล สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ สินทรัพย์สุทธิ หรือส่วนของเจ้าของ สินทรัพย์ - หนี้สิน = ส่วนของเจ้าของ CRRU

แนวคิดขั้นมูลฐานของทฤษฎีการบัญชี สมการบัญชี สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ ในสมการบัญชีมี 2 มุมมอง 1. ทรัพยากรและสิทธิเรียกร้อง 2. แหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุน CRRU

แนวคิดขั้นมูลฐานของทฤษฎีการบัญชี 1. ทรัพยากรและสิทธิเรียกร้อง สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจของกิจการ ณ วันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน หนี้สินและส่วนของเจ้าของ หมายถึง สิทธิเรียกร้องต่อสินทรัพย์ของกิจการ ณ วันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน หนี้สินเป็นสิทธิเรียกร้องของบุคคลภายนอก (เจ้าหนี้) ส่วนของเจ้าของเป็นสิทธิเรียกร้องจากบุคคลภายใน (ผู้ถือหุ้น) CRRU

แนวคิดขั้นมูลฐานของทฤษฎีการบัญชี 2. แหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุน สินทรัพย์ หมายถึง แหล่งที่ใช้ไปของเงินทุนหรือการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ หรือการนำเงินลงทุนไปใช้ในสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ หมายถึง แหล่งที่มาของเงินทุนหรือการจัดหาเงินทุนเพื่อทำให้กิจการมีเงินทุนไปใช้ในสินทรัพย์ CRRU

มุมมองดั้งเดิมของสมการบัญชี สมการบัญชีเป็นข้อสมมติฐานของหลักบัญชีคู่คือว่าผู้ใช้งบการเงินต้องการจะทราบ 2 ลักษณะคือ ด้านกายภาพของสินทรัพย์ คือ สินทรัพย์ที่อยู่ทางซ้ายมือของสมการ ด้านทางสิทธิเรียกร้องของสินทรัพย์ คือหนี้สินและส่วนของเจ้าของที่อยู่ทางด้านขวาของสมการบัญชี CRRU

ผลกระทบของรายการบัญชีของระบบบัญชีคู่ต่อสมการบัญชี สมการบัญชี : สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ รายการ 1 : สินทรัพย์เพิ่มขึ้น = สินทรัพย์ลดลง รายการ 2 : สินทรัพย์เพิ่มขึ้น = หนี้สินเพิ่มขึ้น รายการ 3 : สินทรัพย์เพิ่มขึ้น = ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น รายการ 4 : สินทรัพย์ลดลง = หนี้สินลดลง รายการ 5 : สินทรัพย์ลดลง = ส่วนของเจ้าของลดลง รายการ 6 : หนี้สินเพิ่มขึ้น = หนี้สินลดลง รายการ 7 : หนี้สินเพิ่มขึ้น = ส่วนของเจ้าของลดลง รายการ 8 : หนี้สินลดลง = ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น รายการ 9 : ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น = ส่วนของเจ้าของลดลง CRRU

การบัญชีในมุมมองของทฤษฎีการบัญชี การบัญชีในมุมมองของทฤษฎีมีผลต่อสมการบัญชี มี 3 ทฤษฎี 1. ทฤษฎีความเป็นเจ้าของ (Ownership Theory) 2.ทฤษฎีความเป็นหน่วยงาน (Entity Theory) 3.ทฤษฎีเงินกองทุน (Fund Theory) CRRU

การบัญชีในมุมมองของทฤษฎีการบัญชี 1. ทฤษฎีความเป็นเจ้าของ (Ownership Theory) มุ่งเน้นการแสดงฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์สุทธิของกิจการ สมการบัญชี สินทรัพย์ – หนี้สิน = ส่วนของเจ้าของ ใช้อธิบาย การวัดกำไรโดยพิจารณาการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าสินทรัพย์ การบัญชีตามวิธีส่วนได้เสียของเงินลงทุนในบริษัทร่วมและกิจการร่วมค้า การแสดงกำไรต่อหุ้นในงบกำไรขาดทุน การแยกส่วนของผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิออกจากหุ้นสามัญ CRRU

การบัญชีในมุมมองของทฤษฎีการบัญชี 2. ทฤษฎีความเป็นหน่วยงาน (Entity Theory) กิจการที่จัดตั้งในรูปของบริษัทที่ออกหุ้นสามัญให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญ ถือว่าเป็นบุคคลที่แยกต่างหากจากกิจการหรือบริษัท การวัดมูลค่าของสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ จะใช้ราคาทุนเดิม สมการบัญชี สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ ใช้อธิบาย การนำรายการส่วนของผู้ถือหุ้นที่ไม่มีอำนาจควบคุมมาถือเป็นส่วนทุน CRRU

การบัญชีในมุมมองของทฤษฎีการบัญชี 3. ทฤษฎีกองทุน (Fund Theory) หน่วยงานที่จัดการกับเงินก่องทุนเพื่อวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ตามข้อบังคับ ข้อจำกัด และข้อผูกพันต่าง ๆ โดยเฉพาะ แนวคิดนี้จะเกี่ยวข้องการกิจการที่ไม่แสวงหากำไร กิจการหน่วยงานราชการหรือภาครัฐ สมการบัญชี สินทรัพย์ = ข้อจำกัดของสินทรัพย์ ใช้อธิบาย รายงานทางการเงินที่มุ่งเน้นการแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของสินทรัพย์ CRRU

2. ข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชี ข้อสมมติ หมายถึง ข้อกำหนด หรือข้อความที่เป็นที่ยอมรับกันโดยไม่ต้องพิสูจน์ 2. ข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชี (Accounting Assumption) มี 4 ข้อ ดังนี้ 1. หลักความเป็นหน่วยงานของกิจการ (Entity) 2. หลักการดำเนินงานต่อเนื่อง (Going Concern) 3. หลักการใช้หน่วยเงินตรา (Monetary Unit) 4. หลักงวดเวลา (Time Period) CRRU

2. ข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชี 1. หลักความเป็นหน่วยงานของกิจการ (Entity) หน่วยงานของกิจการจะแยกเป็นอิสระจากเจ้าของ ดังนั้นงบการเงินแจะแสดงผลการดำเนินงาน และฐานะการเงินของกิจการ การบัญชีมีหน้าที่บันทึกบัญชีและแสดงสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ และผลการดำเนินงานของกิจการแต่ละแห่งแยกเป็นอิสระจากกัน CRRU

2. ข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชี 2. หลักการดำเนินงานต่อเนื่อง (Going Concern) กิจการตั้งขึ้นมาย่อมมีวัตถุประสงค์ที่จะดำเนินงานต่อเนื่อง โดยไม่มีกำหนดเลิก นักบัญชีใช้ข้อสมมติว่ากิจการจะดำเนินงานต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ การวัดผลการดำเนินงานจะสมบูรณ์ถูกต้องต่อเมื่อกิจการสิ้นสุด เมื่อวัตถุประสงค์ไม่มีกำหนด จะรอการวัดผลการดำเนินงานให้ถูกต้องสมบูรณ์เมื่อสิ้นสุด ไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้นนักบัญชีจึงจัดทำรายงานผลการดำเนินงานสำหรับระยะเวลาหนึ่ง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้รายงานการเงินได้ใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ CRRU

2. ข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชี 3. หลักการใช้หน่วยเงินตรา (Monetary Unit) การนำเสนอข้อมูลในลักษณะพรรณนาโวหาร มีความหมายไม่ชัดเจนเท่ากับข้อมูลที่เป็นตัวเลข เงินตราใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และทำหน้าที่เป็นหน่วยวัดมูลค่ารายการและเหตุการณ์ทางบัญชี ดังนั้นนักบัญชีจึงใช้หน่วยเงินตราในการวัดมูลค่าหรือราคาของการแลกเปลี่ยนเป็นจำนวนเงิน เพื่อวัดฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน กระแสเงินสด และการเปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงิน CRRU

2. ข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชี 4. หลักงวดเวลา (Time Period) การบัญชีให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจสำหรับงวดเวลาที่ระบุงวดเวลาอาจจะแตกต่างกัน เช่น รายไตรมาส รายปี ดังนั้นนักบัญชีจึงจัดทำงบการเงินในช่วงเวลาต่าง ๆ ทุกงวดตลอดอายุของกิจการ เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ หลักงวดเวลาทำให้กิจการต้องบันทึกรายการเกี่ยวกับ การตั้งค้างรับ ค้างจ่าย การตั้งพักจ่ายล่วงหน้า รับล่วงหน้า การแบ่งสรร และการตัดจำหน่าย และทำให้เกิดเกณฑ์คงค้างขึ้น(Accrual Basis) CRRU

3. หลักการบัญชีขั้นมูลฐาน หลักการบัญชีขั้นมูลฐานมี 7 หลักการ ดังนี้ 1. หลักราคาทุน (Historical Cost Concept) 2. หลักการเกิดขึ้นของรายได้ (Revenue Recognition Concept) 3. หลักการจับคู่รายได้กับค่าใช้จ่าย (Matching Cost and Revenue Concept) 4. หลักความสม่ำเสมอ (Consistency Concept) 5. หลักการเปิดเผยข้อมูล (Disclosure Concept) 6. หลักฐานอันเที่ยงธรรม (Objective Evidence Concept) 7. หลักการประมาณ (Estimation Concept) CRRU

3. หลักการบัญชีขั้นมูลฐาน (ต่อ) 1. หลักราคาทุน (Historical Cost Concept) ราคาทุน หมายถึง ราคาที่เกิดขึ้น ณ จุดที่เกิดการแลกเปลี่ยน หรือจุดที่บันทึกรายการ ดังนั้น การบันทึกสินทรัพย์ด้วยมูลค่ายุติธรรมที่นำไปแลกสินทรัพย์ ณ เวลาที่ได้มา ราคาทุนเป็นราคาที่มีหลักฐานอันเที่ยงธรรม เป็นราคาที่แน่นอนและสามารถคำนวณได้ตรงไปตรงมา CRRU

3. หลักการบัญชีขั้นมูลฐาน (ต่อ) 2. หลักการเกิดขึ้นของรายได้ (Revenue Recognition Concept) กระบวนการที่ก่อให้เกิดรายได้สำเร็จแล้วและการแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นแล้ว ตัวอย่าง เช่น การขายสินค้า เมื่อได้ส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าแล้ว การให้บริการ เมื่อกิจการได้ให้บริการเสร็จ CRRU

3. หลักการบัญชีขั้นมูลฐาน (ต่อ) 3. หลักการจับคู่รายได้กับค่าใช้จ่าย(Matching Cost and Revenue Concept) แนวคิดนี้เป็นการแบ่งช่วงการดำเนินงานเมื่อสิ้นระยะเวลาหนึ่ง ๆ โดยเปรียบเทียบความพยายาม (Effort) กับผลสำเร็จ (Accomplishment) ในการดำเนินงาน ดังนั้น รายได้คือการวัดผลความสำเร็จหรือประโยชน์ที่ได้รับผล (Effect) ส่วนค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เสียไปคือเหตุ (Cause) กิจการจะต้องวัดผลการดำเนินงานในช่วงระยะเวลาที่กำหนด เพื่อเปรียบเทียบรายได้กับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาเดียวกัน อาจจะเรียกว่า เกณฑ์การจับคู่รายได้กับค่าใช้จ่าย “Matching Concept” ตัวอย่าง ขายสินค้า คู่กับ ต้นทุนขาย CRRU

3. หลักการบัญชีขั้นมูลฐาน (ต่อ) 4. หลักความสม่ำเสมอ (Consistency Concept) การเปรียบเทียบงบการเงินในช่วงเวลาที่ต่างกันจะมีประโยชน์และมีความหมายเมื่องบการเงินนั้นได้จัดทำขึ้นโดยหลักการบัญชีและวิธีการปฏิบัติทางการบัญชีเดียวกัน CRRU

3. หลักการบัญชีขั้นมูลฐาน (ต่อ) 5. หลักการเปิดเผยข้อมูล (Disclosure Concept) กิจการควรเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญเพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจงบการเงินและข้อมูลที่นำเสนอได้ชัดเจนยิ่งขึ้น กิจการควรเปิดเผยข้อมูลเมื่อมาตรฐานการบัญชีกำหนดให้เปิดเผย หรืออาจใช้เกณฑ์ “เมื่อสงสัยให้เปิดเผย” หมายถึง ถ้ากิจการจะตัดสินใจโดยถือหลักว่าถ้าไม่เปิดเผยข้อมูลแลวจะเป็นเหตุให้ผู้ใช้หลงผิดหรือไม่ ข้อมูลนั้นจึงควรเปิดเผยหรือเมื่อสงสัยให้เปิดเผย CRRU

3. หลักการบัญชีขั้นมูลฐาน (ต่อ) 6. หลักฐานอันเที่ยงธรรม (Objective Evidence Concept) งบการเงินนำเสนอต้องมีที่มาจากหลักฐานและข้อเท็จจริงอันเที่ยงธรรมที่บุคคลฝ่ายต่าง ๆ ยอมรับและเชื่อถือได้และสามารถยืนยันตรวจสอบพิสูจน์ความเป็นจริงได้ (Verifiability) CRRU

3. หลักการบัญชีขั้นมูลฐาน (ต่อ) 7. หลักการประมาณ (Estimation Concept) รายการที่เกิดขึ้นมีลักษณะต่อเนื่องกัน เช่น รายได้และค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกิดขึ้นและสิ้นสุดในงวดบัญชีใดบัญชีหนึ่ง รายการนั้นคาบเกี่ยวมากกว่าหนึ่งงวดบัญชี ดังนั้นการจัดทำงบการเงินจึงต้องอาศัยการประมาณรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ตัวอย่าง เช่น ประมาณการค่าเสื่อมราคา การประมาณการหนี้สิน CRRU

4. หลักการที่กำหนดขึ้นเพิ่มเติม หลักการที่กำหนดเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถใช้ได้กับทุกสถานการณ์ มี 4 ข้อ 1. หลักนัยสำคัญหรือหลักสาระสำคัญ (Materiality Principle) 2. หลักความระมัดระวัง (Conservatism Principle) 3. ข้อจำกัดต้นทุนและประโยชน์ (Cost and benefit Constraint) 4. ข้อจำกัดในทางปฏิบัติของอุตสาหกรรม (Industry Peculiarities Constraint) CRRU

4. หลักการที่กำหนดขึ้นเพิ่มเติม (ต่อ) 1. หลักนัยสำคัญหรือหลักสาระสำคัญ (Materiality Principle) หมายถึงแนวคิดทางการบัญชีที่ใช้ยึดถือเป็นหลักในการพิจารณาความสำคัญของรายการโดยอาศัยดุลยพินิจของผู้ประกอบวิชาชีพรายการหรือข้อมูลใดจะมีนัยสำคัญหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสำคัญของข้อมูลนั้นมีผลกระทบต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงิน ข้อมูลบางอย่างไม่เป็นตัวเลขแต่มีนัยสำคัญ เช่น การยกเลิกการผลิตสินค้า การถูกฟ้องร้องล้มละลาย CRRU

4. หลักการที่กำหนดขึ้นเพิ่มเติม (ต่อ) 2. หลักความระมัดระวัง (Conservatism Principle) หมายถึง กรณีที่กิจการอาจเลือกปฏิบัติทางการบัญชีได้มากว่าหนึ่งวิธีหรือในกรณีที่มีข้อสงสัย กิจการควรเลือกวิธีที่จะแสดงสินทรัพย์และรายได้ในเชิงต่ำหรือน้อยไว้ก่อน -เป็นแนวคิดที่นำมาใช้ในกิจการที่อยู่ในสภาวะที่มีความเสี่ยง หรือในสภาพความไม่แน่นอน เช่น ความสามารถในการเก็บหนี้ การประมาณอายุการใช้งานสินทรัพย์ -เป็นการใช้ดุลยพินิจเพื่อมิให้สินทรัพย์ หรือรายได้สูงเกินไป และหนี้สินหรือค่าใช้จ่ายต่ำเกินไป CRRU

4. หลักการที่กำหนดขึ้นเพิ่มเติม (ต่อ) 3. ข้อจำกัดต้นทุนและประโยชน์ (Cost and benefit Constraint) เป็นการพิจารณาเปรียบเทียบต้นทุนกับผลประโยชน์ของข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลในการตัดสินใจถูกต้องมากขึ้น เป็นเรื่องที่ยากลำบากที่สุดในการกำหนดต้นทุนและผลประโยชน์ให้เป็นจำนวนตัวเลขที่ระบุได้ชัดเจน ตัวอย่าง การเปิดเผยข้อมูลจำแนกตามส่วนงาน อาจทำให้ เสียเปรียบในเชิงแข่งขันให้แก่กิจการ การจัดทำงบกระแสเงินสดสำหรับกิจการ NPAEs CRRU

4. หลักการที่กำหนดขึ้นเพิ่มเติม (ต่อ) 4. ข้อจำกัดในทางปฏิบัติของอุตสาหกรรม (Industry Peculiarities Constraint) วิธีปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับอุตสาหกรรม บางประเภทอาจจะแตกต่างจากอุตสาหกรรมทั่วไป ตัวอย่าง อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ มีวิธีปฏิบัติทางการบัญชี 2 วิธี คือ (1) การบัญชีต้นทุนเต็ม (Full Cost Accounting) รวมต้นทุนสำรวจที่สำเร็จและล้มเหลวเป็นราคาทุน (2) การบัญชีความพยายามที่สำเร็จ (Successful Efforts Accounting) ใช้เฉพาะต้นทุนสำรวจที่สำเร็จเท่านั้นเป็นต้นทุน CRRU

จบบทที่ 2

คำตอบ ค. มาตรฐานการบัญชี แบบฝึกหัด 1. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของโครงสร้างของทฤษฎีการบัญชี ก. แนวคิดขึ้นมูลฐาน ข. ข้อสมมติขั้นมูลฐาน ค. มาตรฐานการบัญชี ง. หลักการเพิ่มเติม จ. หลักการวิจัย คำตอบ ค. มาตรฐานการบัญชี CRRU

คำตอบ ค. การจับคู่รายได้กับค่าใช้จ่าย แบบฝึกหัด 2. ข้อใดไม่ใช่ข้อสมมติขั้นมูลฐาน ก. งวดเวลา ข. การดำเนินงานต่อเนื่อง ค. การจับคู่รายได้กับค่าใช้จ่าย ง. หน่วยเงินตรา จ. ความเป็นกลางของหน่วยงาน คำตอบ ค. การจับคู่รายได้กับค่าใช้จ่าย

คำตอบ ข. ได้ เพราะไม่ทำให้ข้อมูลสูญเสียความ เกี่ยวเนื่องกับการตัดสินใจ แบบฝึกหัด 3. กิจการสามารถแสดงจำนวนเงินในงบการเงินเป็นหลักพันบาทได้หรือไม่เพราะเหตุใด ก. ได้ เพราะช่วยลดความผิดพลาดในการจัดทำงบการเงิน ข. ได้ เพราะไม่ทำให้ข้อมูลสูญเสียความเกี่ยวเนื่องกับการตัดสินใจ ค. ไม่ได้ เพราะกฎหมายการบัญชีไม่อนุญาต ง. ไม่ได้ เพราะทำให้ข้อมูลขาดความครบถ้วนสมบรูณ์ จ. ไม่ได้ เพราะทำให้ขัดต่อหลักการเปิดเผยข้อมูล คำตอบ ข. ได้ เพราะไม่ทำให้ข้อมูลสูญเสียความ เกี่ยวเนื่องกับการตัดสินใจ

คำตอบ ง. การดำเนินงานต่อเนื่อง แบบฝึกหัด 4. ข้อใดเป็นข้อสมมติขั้นมูลฐาน ก. หลักราคาทุน ข. หลักความสม่ำเสมอ ค. หลักฐานอันเที่ยงธรรม ง. การดำเนินงานต่อเนื่อง จ. หลักการประมาณ คำตอบ ง. การดำเนินงานต่อเนื่อง

คำตอบ ก. ทฤษฎีการบัญชีเกิดจากข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์ แบบฝึกหัด 5. ลักษณะของทฤษฎีการบัญชีคือข้อใด ก. ทฤษฎีการบัญชีเกิดจากข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์ที่ผ่านการทดสอบ ความถูกต้อง ข. มีทฤษฎีการบัญชีที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ข้อมูลได้ทุกกลุ่ม ค. ข้อมูลทางการเงินที่เกิดขึ้นเป็นทฤษฎีการบัญชี ง. ทฤษฎีการบัญชีไม่สามารถใช้ประเมินเหตุการณ์ในอนาคตได้ จ. ทฤษฎีการบัญชีผ่านการวิจัยทางการบัญชี คำตอบ ก. ทฤษฎีการบัญชีเกิดจากข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์ ที่ผ่านการทดสอบความถูกต้อง

คำตอบ ง. การสร้างทฤษฎีโดยใช้จริยศาสตร์ แบบฝึกหัด 6. การสร้างทฤษฎีการบัญชีแบบใดคำนึงถึงความเป็นจริง ความยุติธรรมและความเที่ยงธรรม ก. การสร้างทฤษฎีการใช้สังคมศาสตร์ ข. การสร้างทฤษฎีโดยใช้หลักเศรษฐศาสตร์ ค. การสร้างทฤษฎีโดยใช้หลักพฤติกรรมศาสตร์ ง. การสร้างทฤษฎีโดยใช้จริยศาสตร์ จ. การสร้างทฤษฎีโดยใช้หลักรายได้และค่าใช้จ่าย คำตอบ ง. การสร้างทฤษฎีโดยใช้จริยศาสตร์

คำตอบ ค. สังเกตการณ์ข้อมูล แบบฝึกหัด 7. การสร้างทฤษฎีจากการพิสูจน์เริ่มต้นจากข้อใด ก. กำหนดวัตถุประสงค์ของงบการเงิน ข. เลือกข้อสมมติฐานทางการบัญชี ค. สังเกตการณ์ข้อมูล ง. วิเคราะห์และแยกประเภทเหตุการณ์ จ. สังเคราะห์จากการวิจัย คำตอบ ค. สังเกตการณ์ข้อมูล

แบบฝึกหัด คำตอบ ค. หลักนัยสำคัญ 8. หลักการดัดแปลงธรรมเนียมปฏิบัติเพิ่มเติมคือข้อใด ก. หลักความสม่ำเสมอ ข. หลักราคาทุน ค. หลักนัยสำคัญ ง. หลักการเปิดเผยข้อมูล จ. หลักการจับคู่รายได้กับค่าใช้จ่าย คำตอบ ค. หลักนัยสำคัญ

คำตอบ ก. เพื่อให้นักบัญชีตกลงกันและกำหนด หลักเกณฑ์ในการจัดทำงบการเงิน แบบฝึกหัด 9. ความจำเป็นต้องมีข้อสมมติฐานทางการบัญชี คือข้อใด ก. เพื่อให้นักบัญชีตกลงกันและกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำงบการเงิน ข. เพื่อให้นักบัญชีเปิดเผยข้อสมมติฐานทางการบัญชีไว้ในงบการเงิน ค. เพื่อให้นักบัญชีสามารถบันทึกบัญชีได้ตามความเป็นจริงและถูกต้อง ง. เพื่อให้นักบัญชีเลือกข้อสมมติฐานที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ จ. เพื่อให้นักบัญชีสามารถเปิดเผยข้อมูลที่เปรียบเทียบกันได้ คำตอบ ก. เพื่อให้นักบัญชีตกลงกันและกำหนด หลักเกณฑ์ในการจัดทำงบการเงิน

คำตอบ ข. สร้างทฤษฎีโดยใช้หลักสังคมศาสตร์ แบบฝึกหัด 10. การบัญชีสิ่งแวดล้อม เป็นแนวคิดของการสร้างทฤษฎีแบบใด ก. สร้างทฤษฎีโดยไม่ใช้ทฤษฎี ข. สร้างทฤษฎีโดยใช้หลักสังคมศาสตร์ ค. สร้างทฤษฎีโดยการทำนาย ง. สร้างทฤษฎีโดยการพิสูจน์ จ. สร้างทฤษฎีโดยใช้หลักความรับผิดชอบ คำตอบ ข. สร้างทฤษฎีโดยใช้หลักสังคมศาสตร์

แบบฝึกหัด ความเป็นหน่วยงาน การดำเนินงานต่อเนื่อง หน่วยเงินตรา งวดเวลา หลักราคาทุน หลักความระมัดระวัง หลักการจับคู่รายได้-คชจ. หลักการเปิดเผยข้อมูล หลักการเกิดขึ้นของรายได้ หลักนัยสำคัญ ให้จับคู่ 1. การปันส่วนค่าใช้จ่ายไปยังรายได้ในงวดเวลาที่เหมาะสม 2. การเปลี่ยนแปลงในราคาตลาดภายหลังจากวันที่ซื้อแล้วจะไม่นำมาบันทึกบัญชี 3. ความมั่นใจว่าข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้รายงานไว้แล้ว 4. เหตุผลว่าทำไมสินทรัพย์ถาวรจึงใช้ราคาทุนในการบันทึกบัญชีไม่ใช่ราคาบังคับขาย 5. การรับรู้ผลขาดทุนทั้งจำนวน แต่ไม่รับรู้กำไร ช. จ. ซ. ข. ฉ.

แบบฝึกหัด ความเป็นหน่วยงาน การดำเนินงานต่อเนื่อง หน่วยเงินตรา งวดเวลา หลักราคาทุน หลักความระมัดระวัง หลักการจับคู่รายได้-คชจ. หลักการเปิดเผยข้อมูล หลักการเกิดขึ้นของรายได้ หลักนัยสำคัญ 6. บุคคลที่เกี่ยวข้องและกิจการต่างบันทึกของตนแยกต่างหากจากกัน 7. การแบ่งแยกข้อมูลทางการเงินเข้างวดเวลาบัญชีเพื่อการรายงาน 8. ข้อมูลที่มีความสำคัญและกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ใช้ข้อมูลนั้นควรได้รับการเปิดเผย 9. กำหนดให้เงินบาทเป็นหน่วยวัดที่ใช้ในการรายงาน 10. รายได้บันทึก ณ จุดขาย เมื่อมีการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนไปแล้ว ก. ง. ญ. ค. ฌ.

ทำแบบฝึกหัดท้ายบท 2 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4

ทำแบบฝึกหัดท้ายบทข้อ 2 2.1 หลักความระมัดระวัง 2.2 การจับคู่รายได้-ค่าใช้จ่าย/หลักความระมัดระวัง 2.3 หลักราคาทุน 2.4 หลักงวดเวลา 2.5 หลักความระมัดระวัง

ทำแบบฝึกหัดท้ายบทข้อ 3 3.1 หลักการประมาณ ตีราคาเพิ่ม Dr.สินทรัพย์ Cr. ส่วนเกินจากการตีราคาสินทรัพย์ ปรับปรุงส่วนเกิน Dr. ส่วนเกินจากการตีราคาสินทรัพย์ 40,000 Cr. กำไรสะสม 40,000

ทำแบบฝึกหัดท้ายบทข้อ 3 3.2 หลักราคาทุน วันซื้อ Dr. สินค้าคงเหลือ-วัตถุดิบ 80,000 Cr. เงินสด 80,000 วันสิ้นงวดใช้ราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่ได้รับที่ต่ำกว่า=80,000 ปรับปรุงข้อผิดพลาด Dr. กำไรจากสินค้าคงเหลือ 14,000 Cr. สินค้าคงเหลือ 14,000

ทำแบบฝึกหัดท้ายบทข้อ 3 3.3 หลักฐานอันเที่ยงธรรม ยกเลิกรายการผิดพลาด Dr. ทุนหุ้นสามัญ 90,000 Cr. อุปกรณ์ 90,000 วันซื้อใช้ราคาทุนหรือราคายุติธรรมที่มีหลักฐานเชื่อถือได้ ปรับปรุงข้อผิดพลาด Dr. อุปกรณ์ 300,000 Cr. ทุนหุ้นสามัญ 90,000 ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ 210,000

ทำแบบฝึกหัดท้ายบทข้อ 3 3.4 การจับคู่รายได้กับค่าใช้จ่าย บันทึกการจำหน่าย Dr. เงินสด 190,000 Cr. อุปกรณ์ 144,000 กำไรจากการจำหน่าย 46,000

ทำแบบฝึกหัดท้ายบทข้อ 3 3.5 การเกิดขึ้นของรายได้ เมื่อได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนให้ลูกค้าแล้ว หรือเมื่อส่งมอบสินค้าแล้ว บันทึกยกเลิก Dr. ขาย 41,000 Cr. ลูกหนี้การค้า 41,000