งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ข้อสังเกตที่พบจากการตรวจ ระบบการควบคุมคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี (engagement level) 5 มกราคม 2555.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ข้อสังเกตที่พบจากการตรวจ ระบบการควบคุมคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี (engagement level) 5 มกราคม 2555."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ข้อสังเกตที่พบจากการตรวจ ระบบการควบคุมคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี (engagement level)
5 มกราคม 2555

2 agenda แนวทางการประเมินคุณภาพในระดับงานสอบบัญชี
ผลการประเมินคุณภาพในระดับงานสอบบัญชี ประเด็นที่พบมากในการตรวจสอบคุณภาพในระดับ งานสอบบัญชี

3 1.แนวทางการประเมินคุณภาพใน ระดับงานสอบบัญชี
1.แนวทางการประเมินคุณภาพใน ระดับงานสอบบัญชี

4 1. แนวทางการประเมินคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี
การแบ่งประเภทข้อบกพร่องที่พบจากการประเมิน ข้อบกพร่องที่มีผลกระทบมาก  ก. งบการเงินไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีอย่างมีสาระสำคัญ แต่ผู้สอบบัญชียังคงแสดงความเห็นอย่าง ไม่มีเงื่อนไข หรือผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นผิดประเภท หรือทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิดในสาระสำคัญ ข. ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการสอบบัญชีในส่วนที่มีสาระสำคัญ ข้อบกพร่องที่ไม่เป็นสาระสำคัญ ค. งบการเงินไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีในส่วนที่ ไม่มีสาระสำคัญ หรือเป็นข้อบกพร่องเชิงคุณภาพ ในการเปิดเผยข้อมูล ง. ปฏิบัติตามมาตรฐานการสอบบัญชีโดยรวม แต่ยังมี ข้อบกพร่องที่อยู่ในระดับยอมรับได้

5 1. แนวทางการประเมินคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี
ระดับการให้คะแนนผู้สอบบัญชี ระดับคะแนน ข้อบกพร่อง ความหมาย 4 มาก ไม่ให้ความเห็นชอบ 3 ปานกลาง ให้ความเห็นชอบ โดยมีเงื่อนไขให้ผู้สอบบัญชีจัดส่งกระดาษทำการสำหรับงวดบัญชีถัดไป 2 น้อย ให้ความเห็นชอบ โดยกำชับให้ปรับปรุงการปฏิบัติงานตามข้อสังเกต 1 น้อยมาก ให้ความเห็นชอบโดยไม่มีข้อสังเกตหรือมีข้อสังเกตน้อยมาก

6 2. ผลการประเมินคุณภาพในระดับ งานสอบบัญชี
2. ผลการประเมินคุณภาพในระดับ งานสอบบัญชี

7 2. ผลการประเมินคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี
ตั้งแต่ ต.ค. 53 สำนักงานได้ตรวจสอบงานของผู้สอบบัญชีรวม 48 ราย (32%) จากผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบทั้งสิ้น 148 ราย

8 2. ผลการประเมินคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี
ผู้สอบบัญชีส่วนใหญ่ผ่านการประเมินในระดับ 1 ประมาณ 42% ของผู้สอบบัญชีที่ได้รับการตรวจ อย่างไรก็ดี มีผู้สอบบัญชีที่ไม่ผ่าน 2 ราย

9 3. ประเด็นที่พบมากในการตรวจสอบคุณภาพในระดับงานสอบบัญชี

10 3. ประเด็นที่พบมากในการตรวจสอบคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี
การวางแผนงานสอบบัญชี การคำนวณ materiality เช่น ไม่นำ materiality ใหม่ที่คำนวณจากตัวเลขสิ้นงวดมาใช้ (Ref: TSA 320, Para 12-14) ไม่กำหนด materiality สำหรับการตรวจสอบกลุ่มบริษัท (Ref: TSA 600, Para 21-23) การกำหนดขอบเขตการตรวจสอบไม่เหมาะสม เช่น ไม่ได้นำผลการประเมินความเสี่ยง และ materiality ไม่นำจุดอ่อนจากระบบ IC ไปกำหนดขอบเขตการตรวจสอบ (Ref: TSA 300, Para 8-10/ TSA 315, Para 20-24) การวางแผนการตรวจสอบกลุ่มบริษัท (group audit) ไม่เพียงพอเช่น มิได้ทำแผนการตรวจสอบของทั้งกลุ่มบริษัท มิได้จัดทำกระดาษทำการเปรียบเทียบนโยบายบัญชีของบริษัทในกลุ่ม (Ref: TSA 600,Para 15-16)

11 3. ประเด็นที่พบมากในการตรวจสอบคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี
Test of control สรุปผลไม่สอดคล้องกับผลการทดสอบระบบ เช่น พบข้อบกพร่องแต่ยังสรุปผลว่าระบบดี (Ref: TSA 330, Para 8-9) ผู้สอบบัญชีเลือกตัวอย่างเพียง 2 รายการ และ พบข้อผิดพลาด ก็ไม่ขยายขอบเขตการตรวจสอบ (Ref: TSA 330,Para 17)

12 3. ประเด็นที่พบมากในการตรวจสอบคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี
Test of control ทดสอบระบบควบคุมไม่เพียงพอ เช่น ขอบเขตการตรวจสอบไม่ครอบคลุมทั้งปี หรือ ไม่ครอบคลุมกลุ่มตัวอย่าง โดยไม่บันทึกเหตุผล หรือ การใช้วิธีการอื่นทดแทน (Ref: TSA 330, Para 10 (ก),11) เชื่อถือระบบบัญชีคอมพิวเตอร์โดยไม่ทดสอบ general computer control (Ref: TSA 315, Para 18,21)

13 3. ประเด็นที่พบมากในการตรวจสอบคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี
Analytical review ในการจดบันทึกผลจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ไม่ได้ให้ข้อมูลที่เพียงพอต่อการสอบบัญชี (Ref: TSA 520, Para 5) เชื่อเพียงคำชี้แจงของผู้บริหาร โดยไม่ verify หรือตรวจเอกสาร เพื่อยืนยันหรือสนับสนุน คำชี้แจงของผู้บริหาร (Ref :TSA 520, Para 5/ TSA 500, Para 9)

14 3. ประเด็นที่พบมากในการตรวจสอบคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี
Substantive test and test of details ขั้นตอนการวางแผนและการประเมิน IC กำหนดว่า ระดับความเสี่ยงสูง แต่ใน substantive test กำหนดระดับความเสี่ยงและขอบเขตการตรวจสอบไม่สอดคล้องกัน (Ref: TSA 330, Para 5) การตรวจสอบยอดยกมาไม่เพียงพอ เช่น ใช้เพียงวิธีเปรียบเทียบยอดยกมากับงบการเงินงวดก่อนว่าตรงกัน (Ref: TSA 510, Para 6)

15 3. ประเด็นที่พบมากในการตรวจสอบคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี
Substantive test and test of details ได้รับหนังสือยืนยันยอดเงินฝากธนาคารไม่ครบ และ ไม่พบการตรวจสอบว่าได้บันทึกข้อมูลภาระหนี้สิน และภาระผูกพันครบแล้ว (Ref: TSA 505, Para 7) การตรวจสอบเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้าไม่เพียงพอ เช่น ไม่ส่งหนังสือยืนยันยอดเงินลงทุน ไม่สอบถามรายละเอียดอื่น ๆ เช่น ภาระผูกพัน

16 3. ประเด็นที่พบมากในการตรวจสอบคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี
Substantive test and test of details การตรวจสอบเอกสารเพื่อประกอบการ roll forward ลูกหนี้การค้า และสินค้าไม่เพียงพอ เช่น ไม่มีการสุ่มตรวจสอบ source document ไม่ตรวจ กับ stock card สิ้นงวด (Ref: TSA 330, Para 22 / TSA 501, Para 5)

17 3. ประเด็นที่พบมากในการตรวจสอบคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี
Substantive test and test of details การตรวจสอบ NRV ไม่เพียงพอและเหมาะสม เช่น ไม่ได้ทดสอบ NRV ของวัตถุดิบ ทั้งที่ต้นทุนสินค้าคงเหลือ สูงกว่า NRV ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ว่าต้นทุนวัตถุดิบอาจด้อยค่า ไม่ได้คำนึงถึงต้นทุนในการผลิตต่อ (กรณี WIP และ RM) และ cost to sell (Ref: TSA 500, Para 6/TAS 2, Para 28 และ 32)

18 3. ประเด็นที่พบมากในการตรวจสอบคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี
Substantive test and test of details การทดสอบปันส่วนผลต่างต้นทุนสินค้าคงเหลือ ไม่เหมาะสม เช่น ต้นทุนจริงที่นำมาเปรียบเทียบกับ ต้นทุนมาตรฐานไม่ถูกต้อง (Ref: TSA 500, Para 6) ไม่พบการทดสอบการคำนวณ unit cost และ การทดสอบการปันส่วนค่าภาษีนำเข้าสินค้า และค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเป็นต้นทุนของสินค้าคงเหลือ (Ref: TSA 500, Para 6 / TAS 2, Para 11,13)

19 3. ประเด็นที่พบมากในการตรวจสอบคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี
Substantive test and test of details การทดสอบความเพียงพอของค่าเผื่อสินค้าล้าสมัยหรือเสื่อมสภาพไม่เพียงพอ เช่น ไม่ประเมินความเหมาะสมของเกณฑ์การตั้งสำรอง โดยใช้เพียงวิธีสอบถามผู้บริหาร แต่ไม่ได้สุ่มทดสอบว่าสินค้าที่ค้างนาน แต่ละช่วงอายุขายได้ในราคาเท่าใด (Ref: TSA 540, Para 17-18)

20 3. ประเด็นที่พบมากในการตรวจสอบคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี
Substantive test and test of details การกำหนดขอบเขตการตรวจตัดยอดไม่เหมาะสม เช่น ไม่มีที่มาของการกำหนดขอบเขต ไม่นำความเสี่ยงที่พบจากระบบการควบคุมภายใน และ lead-time มาพิจารณากำหนดขอบเขตและช่วงเวลา (Ref: TSA 330, Para 5,6) การตรวจตัดยอดซื้อ-ขายต่างประเทศไม่เหมาะสม เช่น ไม่พิจารณา international commercial term ใช้อัตราแลกเปลี่ยนไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขการส่งของ (Ref: TSA 500, Para 6)

21 3. ประเด็นที่พบมากในการตรวจสอบคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี
Substantive test and test of details การตรวจสอบประมาณการรายได้และต้นทุนงานก่อสร้างไม่เพียงพอ เช่น ไม่พบการตรวจสอบสาเหตุที่ต้นทุนก่อสร้างเพิ่มขึ้น อย่างมีสาระสำคัญในระหว่างปี ไม่ได้ประเมินโครงการที่ทำงานล่าช้าว่าต้องมีภาระค่าปรับหรือไม่ ทั้งที่ มีการปรับเพิ่มลดมูลค่างานและต้นทุนหลังจากที่งานเสร็จ หรือมีต้นทุนพัฒนาติดลบในช่วงท้ายของ งานก่อสร้าง (Ref : TSA 500, Para 6,7)

22 3. ประเด็นที่พบมากในการตรวจสอบคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี
Substantive test and test of details พบเพียง analytical review ในภาพรวม โดยไม่พบ test of details บัญชีรายได้ และต้นทุน ตามที่ได้วางแผนไว้ (Ref: TSA 330, Para 4-5)

23 3. ประเด็นที่พบมากในการตรวจสอบคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี
Substantive test and test of details การบันทึกรับรู้สินทรัพย์ การบันทึกมูลค่าเริ่มแรก และการคำนวณค่าเสื่อมราคา เช่น ไม่ได้พิจารณาเงื่อนไขการขนส่งสินค้าและจุดที่ความเสี่ยงโอนมายังบริษัท อัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้แปลงค่ารายการซื้อไม่ถูกต้อง วันที่เริ่มคำนวณค่าเสื่อมราคาไม่ถูกต้อง ไม่พบการตรวจสอบการอนุมัติสั่งซื้อสินทรัพย์สำคัญ (Ref: TSA 500, Para 6/ TAS 16)

24 3. ประเด็นที่พบมากในการตรวจสอบคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี
Substantive test and test of details ผู้สอบบัญชีเห็นด้วยกับการให้เริ่มคิดค่าเสื่อมราคาอะไหล่ของเครื่องจักรทันทีที่อยู่ในคลัง (Ref: TAS 16, Para 55) วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาต่างกันในสินทรัพย์ถาวรประเภทเดียวกัน (Ref : TAS 16, Para 62)

25 3. ประเด็นที่พบมากในการตรวจสอบคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี
Substantive test and test of details การตรวจสอบรายการกับกิจการที่เกี่ยวข้องกันไม่เพียงพอ เช่น ไม่ตรวจสอบและเปิดเผยการถือหุ้นไขว้ ลักษณะความสัมพันธ์ (Ref: TSA 550, Para 24)

26 3. ประเด็นที่พบมากในการตรวจสอบคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี
Substantive test and test of details การตรวจสอบการตัดจำหน่ายค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า ไม่เหมาะสม เช่น ไม่พิจารณาว่าการตัดค่าเช่าจ่ายล่วงหน้าให้สอดคล้องกับรายได้เป็นวิธีที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชีหรือไม่ (Ref: TAS 17, Para 33) การพิจารณาการด้อยค่าของค่าความนิยมไม่เพียงพอ (Ref: TAS 36)

27 3. ประเด็นที่พบมากในการตรวจสอบคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี
Substantive test and test of details การตรวจการดำเนินงานต่อเนื่องไม่เพียงพอ เช่น ไม่พบการตรวจข้อสมมติที่ใช้ทำแผนธุรกิจ บริษัทใหญ่ มี support letter แต่ไม่พบหลักฐานการประเมินฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทใหญ่ (Ref: TSA 570, Para 6) การตรวจสอบ JV เพื่อหาทุจริตไม่เพียงพอ เช่น ไม่ได้ตรวจสอบ JV ระหว่างงวดและหลังวันสิ้นงวด ไม่ได้สุ่มหารายการผิดปกติ หรือเลือกเฉพาะรายการ JV ที่มีจำนวนสูงกว่า materiality (Ref: TSA 240, Para 32)

28 3. ประเด็นที่พบมากในการตรวจสอบคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี
Substantive test and test of details การตรวจรายการหลังวันที่ในงบดุลไม่เพียงพอ เช่น ตรวจไม่ถึงวันที่ในหน้ารายงาน และไม่ใช้วิธีการอื่น (Ref: TSA 560, Para 6-7) การใช้ผลงานของบุคคลภายนอก เช่น ไม่ได้สอบทานความรู้ความสามารถผู้เชี่ยวชาญภายนอก และ สมมติฐานในการประมาณการ ใช้ผลงานของ ผู้สอบบัญชีของบริษัทย่อยหรือร่วม แต่ไม่ได้พิจารณาระดับสาระสำคัญของบริษัทย่อยหรือร่วม (Ref: TSA 500, Para 8 และ TSA 220)

29 3. ประเด็นที่พบมากในการตรวจสอบคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี
Substantive test and test of details การจัดทำ summary of adjustment differences เช่น ไม่ได้เสนอปรับปรุงรายการที่อาจส่งผลกระทบเชิงคุณภาพ ไม่บันทึกรายการที่ไม่ได้ปรับปรุงในกระดาษทำการสรุป ไม่ได้พิจารณายอดรวมของรายการที่ไม่ได้ปรับปรุงของ บริษัทย่อย (Ref: TSA 450, Para 5,11) ผู้สอบบัญชีพบข้อผิดพลาดจากการตรวจสอบ แต่ไม่ได้ประมาณข้อผิดพลาดทั้งหมดที่อาจมีอยู่ในประชากร (Ref: TSA 530, Para 12-14)

30 3. ประเด็นที่พบมากในการตรวจสอบคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี
Substantive test and test of details การตรวจสอบการจัดประเภทรายการและ การเปิดเผยข้อมูลไม่เพียงพอ เช่น การหักกลบรายการลูกหนี้กับเจ้าหนี้ การแสดงหุ้นบุริมสิทธิรวมกับหุ้นสามัญ การเปิดเผยคดีความภาระผูกพันไม่ครบถ้วน การเปิดเผยข้อมูลจำแนกตามส่วนงานไม่เพียงพอ การจัดประเภทค่าขนส่งเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร (Ref : TSA 330, Para 24)

31 Q&A


ดาวน์โหลด ppt ข้อสังเกตที่พบจากการตรวจ ระบบการควบคุมคุณภาพ ในระดับงานสอบบัญชี (engagement level) 5 มกราคม 2555.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google