แผ่นป้ายประชาสัมพันธ์อัจริยะ Smart Advertising COE2010-25 แผ่นป้ายประชาสัมพันธ์อัจริยะ Smart Advertising หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ 1.) เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ข่าวสารของแต่ละคณะด้วยเทคโนโลยีทางด้าน RFID 2.) เพื่อเป็นการลดจำนวนและการติดทับกันของแผ่นป้ายกระดาษประชา-สัมพันธ์ ระบบ RFID ADVERTISING เริ่มต้น RFID Reader จะอ่านข้อมูลจาก RFID Tag ซึ่ง จะได้ ID ของ RFID Tag แล้วส่งข้อมูลของ ID มาที่ PC Client เมื่อ PC Client รับข้อมูล ID เสร็จก็จะส่ง ID ไปค้นหาใน reg. Server ว่า ID ที่รับมาเป็นข้อมูลของนักศึกษาคณะใดแล้ว PC Client จะดึงเอาข่าวเกี่ยวกับนักศึกษาคณะนั้นที่ได้รับการ Upload มาจาก Information Server ขึ้นมาแสดงบน Information Display ซึ่งการ Upload ข่าวจะทำผ่าน Web Application สุดท้ายจะได้ระบบโดยรวมดังรูป ระบบ RFID Advertising 1.) นักศึกษาทุกคณะได้ทราบข่าวสารทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับคณะที่ตนสังกัด 2.) เป็นการลดภาวะโลกร้อนโดยการลดจำนวนแผ่นป้ายกระดาษประชา – สัมพันธ์ โครงการนี้เป็นโครงการที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางด้าน RFID (Radio Frequency Identification) ซึ่งเป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุที่ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำไปใช้งานแทนระบบบาร์โค้ด (Barcode) โดยจุดเด่นของ RFID อยู่ที่การอ่านข้อมูลจากแท็ก (Tag) ได้หลายๆ แท็กแบบไร้สัมผัสและ สามารถอ่านค่าได้แม้ในสภาพที่ทัศนวิสัยไม่ดี ทนต่อความเปียกชื้น แรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก สามารถอ่านข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง โดยข้อมูลจะถูกเก็บไว้ใน ไมโครชิปที่อยู่ในแท็ก ในปัจจุบันได้มีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานในด้านอื่นๆนอกเหนือจากนำมาใช้แทนระบบบาร์โค้ดแบบเดิม เช่น ใช้ในบัตรชนิดต่างๆ เช่น บัตรสำหรับใช้ผ่านเข้าออกสถานที่ต่างๆ บัตรที่จอดรถ ตามศูนย์การค้าต่างๆ ที่เราอาจพบเห็นอยู่ในรูปของแท็กสินค้า มีขนาดเล็กจนสามารถแทรกลงระหว่างชั้นของเนื้อกระดาษได้หรือเป็นแคปซูลขนาดเล็ก ฝังเอาไว้ในตัวสัตว์เพื่อบันทึกประวัติต่างๆ เป็นต้น ดังนั้น อาจารย์ร่วมด้วยนักศึกษาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงมีความคิดที่จะทำโครงการแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์อัจฉริยะขึ้นโดยการนำบัตรประจำตัวนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาใช้เป็นตัว Tag RFID โดยเมื่อมีนักศึกษาที่มีบัตรประจำตัวนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น เดินผ่านบริเวณที่มีการติดตั้งเครื่องอ่าน RFID ตัวอ่าน RFID นี้ก็จะอ่านข้อมูลว่าอยู่คณะอะไร แล้วจึงไปดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล (Database) แล้วส่งมายังจอแสดงข่าวสารประชาสัมพันธ์นี้ และถ้าในบริเวณนั้นมีบัตรนักศึกษาหลายคณะและจำนวนคนหลายคน เครื่องอ่าน RFID ก็จะทำการอ่านเช่นเดิม แต่การแสดงผลที่จอแสดงข่าวสารประชาสัมพันธ์จะแสดงผลตาม Priority ของแต่ละคณะ จอแสดงข่าวสารประชาสัมพันธ์ก็จะแสดงผลการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลตาม Priority ตามลำดับแต่ละคณะๆและทั้งนี้เพื่อเป็นการลดปัญหาการปลิวหายและการติดทับกันของแผ่นป้ายกระดาษประชาสัมพันธ์ ซึ่งจะก่อให้เกิดการประชาสัมพันธ์ที่ไม่ทั่วถึง ดังนั้น โครงการนี้จึงถือเป็นโครงหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหานี้ได้เป็นอย่างดี 1.) ออกแบบระบบโดยรวมทั้งหมดแล้วแบ่งออกเป็นระบบ ย่อย 2.) ศึกษาการเขียนโปรแกรมของแต่ละระบบย่อยซึ่งภาษาที่ใช้เป็นภาษา C# 3.) ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ RFID Reader และ RFID Tag เพื่อที่จะได้จัดซื้อได้ ตรงตามโครงการ 4.) ออกแบบและเขียนโปรแกรมของแต่ละระบบย่อยและสร้างเว็บสำหรับ upload ข่าว 5.) ทดสอบและแก้ไขระบบย่อยและรวมระบบทั้งหมด 6.) ทดสอบและแก้ไขระบบทั้งหมด การออกแบบ ผลที่ได้รับ การดำเนินการ อาจารย์ที่ปรึกษา ดร.ภัทรวิทย์ พลพินิจ อาจารย์ผู้ร่วมประเมิน ดร.วาธิส ลีลาภัทร อ.ภาณุพงษ์ วันจันทึก ผู้ดำเนินโครงการ 1.) นางสาวดวงใจ แก่นศักดิ์ศิริ 503040767-2 2.) นายอิสระ บุปผา 503040795-7