Air Condition Efficiency Meter เครื่องมือวัดประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศ โดย นายมนชิต วชิรพรพงศา และ นายสรณัย จันทรโยธา อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์วาธิส ลีลาภัทธ อาจารย์ร่วมประเมิน อ. ดร. วรินทร์ สุวรรณวิสูตร และ ผศ. อนัตต์ เจ่าสกุล รหัสโครงการ COE2007-17 การนำเสนอโครงงานวิชา 178498 Computer Engineering Pre-Project เรียนอาจารย์ที่เคารพ และสวัสดีเพื่อนๆที่รักทุกคน วันนี้กลุ่มของข้าพเจ้าจะมานำเสนอโครงงาน เรื่อง ... โดยมีสมาชิกในกลุ่ม คือ และมีอาจารย์ที่ปรึกษา คือ... และอาจารย์ร่วมประเมิน คือ ...
หัวข้อที่จะนำเสนอ ที่มา และความสำคัญของโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการ งานที่ได้ทำจนถึงปัจจุบัน การเตรียมการวัดประสิทธิภาพ ขั้นตอนในการวัดประสิทธิภาพ งานที่จะทำการต่อไป ปัญหาและอุปสรรคที่พบ สรุปผลการดำเนินงาน หัวข้อที่จะนำเสนอในวันนี้ ก็จะมี ... และสุดท้ายเป็นการสรุปผลการดำเนินงาน
ที่มา และความสำคัญของโครงการ ปัจจุบันมีเครื่องปรับอากาศจำนวนมากที่เสื่อมสภาพ และใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง จึงต้องมีการประเมินการใช้พลังงาน การวัดประสิทธิภาพแบบเดิมต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญ และเสียเวลาในการวัดมาก เมื่อทำการวัดประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศจำนวนมาก จะเสียเวลานานและไม่สะดวก เนื่องด้วยปัจจุบันมีการใช้เครื่องปรับอากาศจำนวนมาก และมีเครื่องปรับอากาศจำนวนมากที่เสื่อมสภาพ ทำให้การใช้เครื่องปรับอากาศเหล่านั้นสิ้นเปลืองกำลังไฟฟ้ามากและใช้ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงต้องมีการประเมินการใช้พลังงาน ว่าจะใช้เครื่องปรับอากาศนั้นๆ ต่อหรือซ่อม หรืออาจจะต้องเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศใหม่แบบไหนจะคุ้มค่าที่สุด โดยการวัดประสิทธิภาพแบบเดิมต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญ และเสียเวลาในการวัดมาก ซึ่งจะต้องวัดทั้งอุณหภูมิ ความชื้นและแรงลม และนำมาค่าที่ได้คำนวณ
วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อสร้างเครื่องวัดประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศในงบประมาณที่ต่ำ เพื่อบุคคลทั่วไปที่ไม่มีความรู้ทางด้านเทคนิคในการวัดประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศสามารถวัดประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศได้ เพื่อทำให้การวัดประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศทำได้ง่าย รวดเร็ว และสะดวกในการใช้งาน
งานที่ได้ทำจนถึงปัจจุบัน พัฒนาเครื่องวัดประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศทางด้าน hardware เสร็จสิ้น พัฒนาทางด้าน firmware เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ รับค่าและแสดงค่าได้
การเตรียมการวัดประสิทธิภาพ ปรับตั้งระดับความแรงของพัดลม ให้อยู่ที่ตำแหน่งแรงสุด ปรับตั้งอุณหภูมิที่ 24-25 °c ตรวจสอบไม่ให้มีการกีดขวางทางลมทางด้านช่องลมกลับ วัดกำลังไฟฟ้ารวมที่ใช้ของเครื่องปรับอากาศในช่วงที่คอมเพรสเซอร์ทำงาน (ส่วนของคอมเพรสเซอร์รวมกับส่วนของ พัดลม) ก่อนการวัดประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศ
ขั้นตอนในการวัดประสิทธิภาพ กรอกค่ากำลังไฟฟ้าที่วัดได้ กรอกค่าขนาดช่องส่งลม หน่วยเป็นเซนติเมตร กดปุ่ม ok เพื่อบันทึกค่าอุณหภูมิและความชื้น ณ อุณหภูมิห้อง นำชุดเซนเซอร์ไปวางบริเวณช่องลมออกจากเครื่องปรับอากาศ รอจนกว่าค่าค่อนข้างจะคงที่ ดูค่าประสิทธิภาพที่ได้จากจอแสดงผล
งานที่จะทำการต่อไป นำอุปกรณ์วัดปริมาณอากาศที่สร้างขึ้นมาเทียบกับอุปกรณ์วัดจริง ปรับปรุงส่วนของ firmware ให้มีความแม่นยำยิ่งขึ้น จัดทำคู่มือการใช้
ปัญหาและอุปสรรคที่พบ หน่วยความจำไม่เพียงพอ เซนเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้น (sht15) เมื่อเริ่มต้นจะส่งค่าที่ไม่ถูกต้องมาให้
สรุปแผนการดำเนินงาน แผนการดำเนินงาน มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. 1. ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 2. วิเคราะห์และออกแบบระบบ 3. จัดหาอุปกรณ์ 4. พัฒนาเครื่องวัดประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศ 5. ทดสอบและปรับปรุงแก้ไข 6. จัดทำคู่มือการใช้ ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน งานที่ทำเสร็จสิ้นแล้ว งานที่จะดำเนินการต่อไป
กลุ่มของข้าพเจ้าขอจบการนำเสนอเพียงแค่นี้ครับ ขอบคุณครับ ไม่ทราบว่าท่านใดมีข้อเสนอแนะหรือคำถามไหมครับ ไม่ทราบว่าอาจารย์มีข้อชี้แนะอะไรครับ
ขอบคุณครับ