แผ่นดินไหว
แผ่นดินไหว ที่เกิดจากการสั่นสะเทือน ของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงาน เพื่อระบายความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลัน เพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ ในรูปของคลื่นไหวสะเทือน สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้น จัดแบ่งได้ 2 ชนิด ชนิดที่หนึ่ง เกิดจาก การกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อนและแรงระเบิดของการทำเหมืองแร่ เป็นต้น ชนิดที่สอง เป็นแผ่นดินไหวจากธรรมชาติ การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก อุกกาบาตขนาดใหญ่ตกลงพื้นโลก แผ่นดินถล่ม การยุบตัวของโพรงใต้ดิน
แผ่นดินไหว เกิดจากการสั่นสะเทือน ของพื้นดินอันเนื่องมาจากการปลดปล่อย แผ่นดินไหว เกิดจากการสั่นสะเทือน ของพื้นดินอันเนื่องมาจากการปลดปล่อย พลังงาน เพื่อระบายความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลัน เพื่อปรับสมดุลของแผ่นเปลือกโลกให้คงที่ โดยปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของคลื่นไหวสะเทือน แผ่นดินไหวส่วนใหญ่ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก เมื่อชั้นหินกระทบกันทำเกิด คลื่นไหวสะเทือน (Seismic waves) เราเรียกจุดกำเนิดของคลื่นไหวสะเทือนว่า "ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว" (Focus) และเรียกตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือจุดกำเนิดของคลื่นแผ่นดินไหวว่า "จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว" (Epicenter) เมื่อเกิดแผ่นดินไหวจะเกิดคลื่นไหวสะเทือน
"ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว " หมายถึง ตำแหน่งที่กำเนิดคลื่นแผ่นดินไหวใต้ผิวโลก และเป็นศูนย์กลางที่เกิดการปลดปล่อยพลังงานที่ ถูกกักเก็บไว้ในชั้นหิน ซึ่งเกิดขึ้นภายใน ชั้นเนื้อโลกส่วนของธรณีภาค “ จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว ” คือจุดบนผิวโลก (ชั้นเปลือกโลก) ที่อยู่เหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว
คลื่นไหวสะเทือน เป็นคลื่นที่ถ่ายทอดพลังงานผ่านภายในโลกความเร็วของ การกระจายของคลื่นมีความสัมพันธ์กับความหนาแน่น และความยืดหยุ่นของตัวกลาง เนื่องจากความหนาแน่นที่ เพิ่มสูงขึ้นในชั้นหินระดับลึก ความเร็วของคลื่นในชั้นหิน ลึกจึงมีแนวโน้มที่จะสูงกว่าความเร็วของคลื่นบริเวณผิวโลก คลื่นไหวสะเทือน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ คลื่นในตัวกลาง และ คลื่นพื้นผิว
1. ตัวกลาง (Body wave) เดินทางจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหว ผ่านเข้าไปในเนื้อโลกในทุกทิศทาง ในลักษณะเช่นเดียวกับคลื่นเสียงซึ่งเดินทางผ่านอากาศในทุกทิศทาง คลื่นในตัวกลางมี 2 ชนิด ได้แก่ คลื่นใน คลื่นปฐมภูมิ (คลื่น P) คลื่นตามยาว คลื่นนี้สามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็นของแข็ง ของเหลว และแก๊ส เป็นคลื่นที่สถานีวัดแรงสั่นสะเทือนสามารถรับได้ก่อนชนิดอื่น โดยมีความเร็วประมาณ 6 – 7 กิโลเมตร/วินาที คลื่นทุติยภูมิ (คลื่น S) คลื่นตามคลื่นชนิดนี้ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น ไม่สามารถเดินทางผ่านของเหลว คลื่นทุติยภูมิมีความเร็วประมาณ 3 – 4 กิโลเมตร/วินาที
คลื่นพื้นผิว (Surface wave) เดินทางจากจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (Epicenter) ไปทางบนพื้นผิวโลกในลักษณะเดียวกับการโยนหินลงไปในน้ำแล้วเกิดระลอกคลื่นบนผิวน้ำ คลื่นพื้นผิวเคลื่อนที่ช้ากว่าคลื่นในตัวกลาง คลื่นพื้นผิวมี 2 ชนิด คือ คลื่นเลิฟ (L wave) และคลื่นเรย์ลี (R wave)
คลื่นเลิฟ (L wave) เป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคของตัวกลางสั่นในแนวราบ โดยมีทิศทางตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่น สามารถทำให้ถนนขาดหรือแม่น้ำเปลี่ยนทิศทางการไหล คลื่นเรย์ลี (R wave) เป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคตัวกลางสั่น ม้วนตัวขึ้นลงเป็นรูปวงรี ในแนวดิ่ง โดยมีทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ของคลื่น สามารถทำให้พื้นผิวแตกร้าว และเกิดเนินเขา ทำให้อาคารที่ปลูกอยู่ด้านบนเกิดความเสียหาย
เครื่องมือที่ใช้บันทึกข้อมูลแผ่นดินไหวเรียกว่า ไซสโมกราฟ (seismograph) เครื่องมือนี้ประกอบด้วยเครื่องรับคลื่นไหวสะเทือนและแปลงสัญญาณคลื่นไหวสะเทือนเป็นสัญญาณไฟฟ้า จากนั้นสัญญาณไฟฟ้าจะถูกขยายแล้วแปลงกลับเป็นคลื่นไหวสะเทือนอีกครั้งเพื่อบันทึกลงกระดาษเป็นกราฟขึ้นลง
มาตราริกเตอร์ เป็นการวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวได้จากการคำนวณปริมาณพลังงานที่ถูกปล่อยออกมาจากศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว โดยวัดจากความสูงของคลื่น (amplitude)
วัดจากความรู้สึกของคนร่วมกับการประเมินผล และความเสียหายของสิ่งปลูกสร้างที่เกิดขึ้นจากการเกิดแผ่นดินไหว
ภัยแผ่นดินไหวยังคงเป็นภัยธรรมชาติที่ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้อย่างแม่นยำ แต่สามารถสังเกตพฤติกรรมของสัตว์หลายชนิดที่มีการรับรู้ถึงภัยก่อนเกิดแผ่นดินไหว เช่น -แมลงสาบจำนวนมากวิ่งเพ่นพ่าน - สุนัข เป็ด ไก่ หมู หมี ตื่นตกใจ - หนู งู วิ่งออกมาจากรู - ปลา กระโดดขึ้นจากผิวน้ำ
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ วีดีโอเพิ่มเติม http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2569 http://www.youtube.com/watch?v=W2SaVitk9cY http://www.youtube.com/watch?v=gALjDQzDl38 ความรู้เพิ่มเติม http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/earth-science/chapter1_3.html http://www.rmutphysics.com/CHARUD/specialnews/4/earthquake/index1.htm สื่อการเรียนรู้เพิ่มเติม ครูติ๊ก http://www.learnbytechno.com/