วิชานวัตกรรมและการจัดการเทคโนโลยี จุดกำเนิดนวัตกรรม วิชานวัตกรรมและการจัดการเทคโนโลยี
ที่มาของนวัตกรรม ปัจจัยภายในองค์กร ปัจจัยจากสภาพแวดล้อมทางสังคมและการใช้สติปัญญา
สิ่งที่เกิดขึ้นโดยมิได้คาดหมาย ไอบีเอ็ม สามารถนำเครื่องจักรมาทำบัญชีได้ โดยพัฒนาคอมพิวเตอร์ ที่คนนึกไม่ถึงว่าจะสามารถนำมาใช้ในหน่วยงานภาคธุรกิจ
ความไม่สอดคล้อง เรือขนส่งสินค้าที่วิ่งได้เร็วขึ้น ไม่ได้ทำให้เวลาหรือต้นทุนลดลงได้แต่ เพียงอย่างเดียว การจัดการขนถ่ายสิ่งที่บรรทุกบนเรือได้อย่างรวดเร็ว ต่างหากที่เป็นจุดที่ทำให้เกิดการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
กระบวนการที่จำเป็น การผลิตสิ่งประดิษฐ์หรือกระบวนการต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนอง ความต้องการพื้นฐานที่จำเป็น เช่น เครื่องพิมพ์แบบเรียงอักษร
การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมและตลาด กล้องดิจิตอลเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนให้ผู้ใช้เลิกใช้กล้องฟิล์มที่ไม่ สามารถดูภาพและจัดการภาพได้ด้วยตนเอง ต้องพึ่งพาร้านล้างอัดรูป
การเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากรศาสตร์ ญี่ปุ่น ขาดแคลนประชากรหนุ่มสาวที่เป็นวัยแรงงาน ในช่วง ทศวรรษ 1970 ทำให้ต้อง มีการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์และเครื่องจักรมาช่วยในอุตสาหกรรมผลิต
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การหันมาใส่ใจในการบำรุงรักษาสุขภาพทำให้สังคมมีความตื่นตัวที่จะสร้าง นวัตกรรม และผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ และการรักษาสุขภาพขึ้นมากมาย
ความรู้ใหม่ การผสมผสานองค์ความรู้หลายด้านเข้าด้วยกันทำให้เกิดการพัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อย่างรวดเร็ว เช่น คอมพิวเตอร์ ต้องใช้ ความรู้เรื่อง เลขคณิต เครื่องคิดเลข เครื่องเจาะรูกระดาษ หลอดเสียง ตรรกศาสตร์ โปรแกรมมิ่ง ฯลฯ
หลักการของนวัตกรรม การวิเคราะห์โอกาสใหม่ ๆ การใช้ความคิดสร้างสรรค์ การทำสิ่งที่เฉพาะเจาะจง เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ใช้ความรู้ ความฉลาด พรสวรรค์ ความขยัน ทุ่มเท การทำให้เป็นกิจวัตรของระบบนวัตกรรม
จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ องค์ประกอบหลักของความคิดสร้างสรรค์ ความชำนาญ แรงกระตุ้น ทักษะการคิดสร้างสรรค์
กระบวนการสร้างสรรค์ ความท้าทาย ความมีอิสระ ทรัพยากร จับคู่งานกับความสามารถของบุคคลเพื่อสร้างผลงานใหม่ ความมีอิสระ สร้างให้คนมีความคิดเป็นของตนเอง มีอิสระในการทำงาน ทรัพยากร การจัดสรรเวลา เงิน เครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำงาน
การทำงานเป็นทีม คนที่เข้าร่วมทีมควรมีความสามารถที่ต่างกันหลาย ๆ ด้าน มีแรงกระตุ้นร่วมกัน เพื่อไปถึงจุดหมาย สมาชิกเต็มใจที่จะช่วยเพื่อนร่วมงาน สมาชิกต้องรับรู้ความสามารถพิเศษที่ไม่เหมือนใครของเพื่อนร่วมงาน มีแรงสนับสนุนในการควบคุมดูแล การสนับสนุนจากองค์กร
จากความคิดสู่นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ที่ประสบความสำเร็จ คือ แนวคิดผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรง กับความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด
แนวคิดผลิตภัณฑ์ (Product Concept) Kotler (1991) ความคิดหรือไอเดียที่มีความเป็นนามธรรมจับต้องได้ยากมี ความหมายแก่ผู้บริโภค Crawford (1991) ประโยชน์และรูปลักษณ์หรือความเป็นเทคโนโลยีทาง ความคิด ที่มองเห็นได้เป็นรูปธรรม ทำให้ผู้บริโภคเห็นความแตกต่างของ นวัตกรรมที่นำเสนอจากสิ่งที่มีอยู่แล้วในตลาด Clark and Fujimoto (1990) ความสามารถหรือประโยชน์ของสินค้า รูปลักษณ์ และกลุ่มผู้ที่รับบริการจากสินค้า
ทำไมต้องสร้างแนวคิดสินค้า ช่วยให้กรอบในการตัดสินใจในการพัฒนานวัตกรรมมีความชัดเจนขึ้น ทำให้ผู้บริโภครู้สึกถึงความเป็นตัวตนของสินค้า
ข้อควรคำนึงถึงในการพัฒนาแนวคิดสินค้า การออกแบบเพื่อความพึงพอใจของผู้บริโภค การออกแบบเพื่อตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม การออกแบบเพื่อการผลิตและประกอบชิ้นส่วน
การออกแบบเพื่อความพึงพอใจของผู้บริโภค
การออกแบบเพื่อตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม
การออกแบบเพื่อการผลิตและประกอบชิ้นส่วน
โจทย์ประจำสัปดาห์ ให้นักศึกษาอธิบายแผนผังต่อไปนี้ตามความเข้าใจของตนเอง http://www.classstart.org/classes/2015 โจทย์ประจำสัปดาห์ ให้นักศึกษาอธิบายแผนผังต่อไปนี้ตามความเข้าใจของตนเอง