การใช้ชุดฝึกปฏิบัติ เพื่อพัฒนาการอ่านออกเสียงเสียงท้าย - ts , st สำหรับนักศึกษาระดับชั้น ปวส. 2/4 แผนกการจัดการทั่วไป วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ กรรณิกา คันธรส วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ผู้วิจัยฐานะที่เป็นครูผู้สอนวิชาสนทนาภาษาอังกฤษธุรกิจ 1 ได้สำรวจความสามารถการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักศึกษาแผนกวิชาการจัดการทั่วไปในรายวิชาสนทนาภาษาอังกฤษธุรกิจ 1 พบว่า นักศึกษาแต่ละคนมีพื้นฐานด้านการออกเสียงภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะการออกเสียงท้าย - ts , st และ – s ไม่เท่าเทียมกัน ผู้วิจัยจึงได้นำปัญหาที่เกิดขึ้นมาจัดทำงานวิจัยในรูปของการใช้ชุดฝึกปฏิบัติ ว่าหลังจากใช้ชุดฝึกปฏิบัติดังกล่าวแล้ว นักศึกษาจะสามารถอ่านออกเสียงท้าย - ts , st และ - s ได้ดีขึ้นหรือไม่
วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อนำชุดฝึกปฏิบัติ มาใช้ในการพัฒนาการอ่านออกเสียงท้าย - ts , st และ - s ในรายวิชาสนทนาภาษาอังกฤษธุรกิจ 1 สำหรับนักศึกษาระดับชั้น ปวส. 2/4 แผนกการจัดการทั่วไป วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้ชุดฝึกปฏิบัติ เพื่อพัฒนาการอ่าน ออกเสียงท้าย - ts , st และ - s ในรายวิชาสนทนาภาษาอังกฤษธุรกิจ 1
กรอบแนวคิดการวิจัย/ตัวแปรการวิจัย ทักษะการอ่านออกเสียงท้าย –ts, st และ –s ของนักศึกษา ความพึงพอใจของนักศึกษา ชุดฝึกปฏิบัติ
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาแผนกวิชาการจัดการทั่วไป ระดับชั้น ปวส.2/4 ที่เรียนรายวิชาการสนทนาภาษาอังกฤษธุรกิจ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 8 คน
สรุปผลการวิจัย
สรุปผลการวิจัย
สรุปผลการวิจัย
ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ ครูผู้สอนต้องศึกษาวิธีการใช้ชุดฝึกปฏิบัติอย่างละเอียด และให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ก่อนเริ่มดำเนินการสอน และนักศึกษาจะต้องทำความเข้าใจวิธีการเรียนรู้ จากชุดฝึกปฏิบัติให้เข้าใจอย่างชัดเจนก่อนเริ่มใช้ชุดฝึกปฏิบัติ กระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นักศึกษาต้องควบคุมเวลาเอง ผู้สอนควรเสริมสร้างกระบวนการวางแผนในด้านการบริหารเวลาให้แก่นักศึกษา ก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การพัฒนาชุดฝึกปฏิบัตินี้ มิได้พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของครูผู้สอน แต่มุ่งเน้น เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีสื่อที่มีคุณภาพ ผู้สอนจึงจะต้อง เตรียมพร้อมที่จะให้คำปรึกษา แนะนำในทันทีที่นักศึกษาต้องการ
ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป ควรทำการศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่ม หรือกระบวนการกลุ่ม ของนักศึกษา ซึ่งเป็นผลจากการใช้ชุดฝึกปฏิบัติ
ผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการใช้ชุดฝึกปฏิบัติ ผู้วิจัยพบว่า การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเรียนเอง โดยการใช้แหล่งความรู้จากสื่อหรือวิธีการต่าง ๆ การนำสื่อการสอนมาใช้ จะต้องจัดให้ตรงตามเนื้อหาและประสบการณ์ตามหน่วยการสอนของวิชาต่าง ๆ โดยนิยมจัดในรูปของ ชุดฝึกปฏิบัติ การเรียนในลักษณะนี้ผู้เรียนจะเรียนจากครู ประมาณ 4 ส่วน ที่เหลือผู้เรียนจะเรียนจากสื่อด้วยตนเองและอนาคตของ กระบวนการเรียนรู้จึงต้องนำเอากระบวนการกลุ่มสัมพันธ์มาใช้ในการเปิดโอกาสให้ ผู้เรียนประกอบกิจกรรมร่วมกัน ทฤษฎีกระบวนการกลุ่มจึงเป็นแนวคิดทาง พฤติกรรมศาสตร์ซึ่งนำมาสู่กระบวนการจัดระบบการผลิตสื่อออกมาในรูปชุดฝึกปฏิบัติ