ยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสู่ความเป็นเลิศ พ.ศ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ประเด็นในการพัฒนา DHS-PCA
Advertisements

การพัฒนาสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน
นโยบายการดำเนินงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
ยุทธศาสตร์ การจัดสรร งบประมาณ ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
ความก้าวหน้าในการจัดทำแผนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่
คำถามตามเกณฑ์ PMQA:105คำถาม หมวด1 12คำถาม.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย
ภาคีรวมใจคนไทยไร้พุง จ.ลพบุรี Lopburi’s Slimming Academy
- 2 - แผนภูมิแสดงความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ ผลผลิต และงบประมาณปี พ.ศ.2555 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ตามระบบการจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์
เกณฑ์การประเมินผลตัวชี้วัด มิติการประเมินประสิทธิผล
เกณฑ์การประเมินผลตัวชี้วัด มิติการประเมินประสิทธิผล
การส่งเสริมศักยภาพ การคุ้มครอง พิทักษ์สิทธิประชาชนในแต่ละ กลุ่มเป้าหมาย โดยการกำหนด มาตรการ กลไก ส่งเสริมสนับสนุน ภาครัฐและเอกชนในการดำเนินการ ตามนโยบายและมาตรการที่กำหนด.
ยุทธศาสตร์ลดปัจจัยเสี่ยง ในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น ปี 2551
ผลการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ กรมอนามัย ปีงบประมาณ พ
เป็นเจ้าภาพหลัก 2 ประเด็น เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558
ระบบคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสุขภาพ (ปรับปรุง )
การบูรณาการยุทธศาสตร์สุขภาพฯ กลุ่มเด็กวัยเรียน มาตรการ เป้าหมาย วิธีการวัด เป้าหมาย/KPI 1.นโยบายร่วมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แผนพัฒนาสุขภาพเด็กวัยเรียนแห่งชาติ/วาระสุขภาพแห่งชาติ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการจัดบริการสุขภาพ
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี
อำเภอควบคุมยาสูบและเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์เข้มแข็ง ปี 2556
การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน ระดับสถานศึกษา ประจำปี 2559.
ศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก เทศบาล ตำบลปัว ยินดี ต้อนรับ ยินดี ต้อนรับ.
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
โดย นายแพทย์ณัฐพร วงษ์ศุทธิภากร รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข “เรียนรู้ สิ่งแวดล้อม สร้างสรรค์” นโยบายการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย.
แผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ )
ความเป็นมา การส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
แนวทาง การดำเนินงาน ป้องกันการจมน้ำ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค
กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคลากร
อสม.นักจัดการสุขภาพตามกลุ่มวัย
แผนงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ
สายส่งเสริมตามกลุ่มวัยและประเด็น
เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอน้ำพอง
100 ตำบลต้นแบบในการบูรณาการ ด้านส่งเสริมสุขภาพ 5 กลุ่มวัย และอนามัยสิ่งแวดล้อม โดย กรมอนามัย.
ระบบคุ้มครองผู้บริโภค
สรุปแนวทางการดำเนินงานตามกลุ่มวัย
ยุทธศาสตร์ ที่ 1 Promotion, Prevention & Protection Excellence
อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ ปีงบประมาณ 2560
เพื่อการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษ
นโยบายการขับเคลื่อน การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย ยุค 4.0
ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จขององค์กรปกครอง
ข้อเสนอต่อการพัฒนา ระบบการสร้างเสริมสุขภาพ ของประเทศไทย
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ
พัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย (9 ตัว) กลุ่มเด็กปฐมวัย (๐-๕ ปี)/สตรี 1.อัตราส่วนการตายของมารดาไม่เกิน15ต่อการเกิดมีชีพแสนคน 2.ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย.
Model ผลที่คาดหวัง วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดหลัก
ข้อเสนอ การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม
ทพญ.อัมพร เดชพิทักษ์ กลุ่มงานทันตสาธารณสุข
แนวทางการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปี 2562
ความปลอดภัยด้านอาหารและน้ำ
อัตราส่วนการตายมารดาไทย
ทิศทางการดำเนินงานลดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD)
การดำเนินงานเขตเศรษฐกิจพิเศษและแรงงานต่างด้าว
โครงการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุม โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน : ชุมชนลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง.
การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ)
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
P S G 5P MODEL Policy PASSION PLANNING PEOPLE PROCESS PERFORMANCE
ศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี
จังหวัดไร้พุงมุ่งสู่สุขภาพดี ปี 54
ประเด็นและแนวทางการตรวจราชการ คณะที่ 1 ปีงบประมาณ 2560 การส่งเสริม สุขภาพ ป้องกันโรค และการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ.
แนวทางการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงบุคลากรในโรงพยาบาล
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
(ร่าง) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสู่ความเป็นเลิศ ในยุค Thailand 4.0.
กำหนดการ การนิเทศ ติดตาม ควบคุม กำกับฯ รอบที่ 2 ประจำปี 2560
ใบสำเนางานนำเสนอ:

(ร่าง) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สู่ความเป็นเลิศ (Promotion and Prevention Excellence)

ยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสู่ความเป็นเลิศ พ.ศ. 2560-2579 หลักการ (1) ในอนาคต 20 ปีข้างหน้า... สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศ มีแนวโน้มจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในหลากหลายมิติ ซึ่งจะส่งผลต่ออนาคตการพัฒนางานสาธารณสุขของประเทศไทยอย่างมาก สภาพของสังคมที่เปลี่ยนไป เป็นปัจจัยกำหนดการเปลี่ยนแปลงของปัญหาและความรุนแรงของภัยสุขภาพต่างๆ เป็นการยากที่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งจะรับผิดชอบงานสาธารณสุขได้อย่างได้ผล วิถีชีวิตของประชาชนโลก จะเป็นไปอย่างไร้พรมแดน มีการติดต่อสื่อสารกันโดยไร้ขีดจำกัด เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลทั้งทางบวกและลบต่อปัญหาสุขภาพและการตอบสนองต่อปัญหาดังกล่าว

ยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสู่ความเป็นเลิศ พ.ศ. 2560-2579 หลักการ (2) ความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเป็นอุปสรรคสำคัญในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว เพราะสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอาจทำให้การตอบสนองด้านสุขภาพตามไม่ทัน อย่างไรก็ตาม งานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P) ก็จะต้องเป็นหลักในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของประเทศ เพราะการลดภาวะเจ็บป่วยของประชาชนอย่างได้ผลอยู่ที่ความสำเร็จของงาน P&P ซึ่งต้องมีการปฏิรูปงานให้เป็นภาระหน้าที่ของประชาชนทุกคน รวมทั้งส่งเสริมบทบาทขององค์กรชุมชนระดับท้องถิ่น จะต้องมีการดำเนินนโยบาย Health in All Policy ให้ได้ผล โดยให้ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กร มีนโยบายที่ห่วงใยสุขภาพของประชาชน

ยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสู่ความเป็นเลิศ พ.ศ. 2560-2579 หลักการ (3) ความสำเร็จของงานขึ้นกับการแสดงบทบาทของหน่วยงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การกำหนดนโยบายและดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นบทบาทของกระทรวงสาธารณสุข การจัดบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นบทบาทของ สปสช. การสร้างกระแสขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพดำเนินการโดย สสส. การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน ดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเครือข่ายองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์กลุ่มต่างๆ การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนเป็นบทบาทของภาคการศึกษา การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยคณะกรรมการคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) การสร้างเสริมสุขภาพเป็นบทบาทของประชาชนทุกคน และทุกครอบครัว

ยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสู่ความเป็นเลิศ พ.ศ. 2560-2579 ก. วิสัยทัศน์ (Vision) “ประชาชนมีสุขภาพดี มีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดไม่น้อยกว่า 85 ปี และอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีไม่น้อยกว่า 75 ปี อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะและมีความสุข ภายในปี 2579 ” ข. พันธกิจ (Mission) พัฒนาระบบบริหารจัดการที่เป็นเลิศในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อให้เกิดสุขภาวะ

ยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสู่ความเป็นเลิศ พ.ศ. 2560-2579 ค. เป้าประสงค์ (Goals) ทุกครอบครัวดำรงชีวิตอยู่ในสังคมไทยได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อการมีสุขภาวะผ่านการสร้างเสริมสุขภาพ ประชาชนปราศจากโรคและภัยสุขภาพด้วยการจัดบริการในทุกระดับซึ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ประชาชนได้รับการปกป้องสุขภาพด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงและเพิ่มปัจจัยคุ้มครอง ด้วยมาตรการเชิงนโยบาย กฎหมาย สังคมและสวัสดิการ อย่างมีประสิทธิภาพ สภาพแวดล้อมทุกแห่งได้รับการพัฒนาให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดีของประชาชนทุกคน

ยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสู่ความเป็นเลิศ พ.ศ. 2560-2579 ค. วัตถุประสงค์ (Objectives) จัดระบบบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามกลุ่มวัยโดยเน้นความร่วมมือของครอบครัวและชุมชน เพื่อให้มีความรอบรู้เรื่องสุขภาพ เพิ่มความเข้มแข็งของการจัดบริการป้องกันโรคและลดปัจจัยเสี่ยงเพิ่มปัจจัยคุ้มครองสุขภาพ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม มีการขับเคลื่อนและผลักดันมาตรการ ทางกฎหมาย ทางสังคมและสวัสดิการ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและเพิ่มปัจจัยคุ้มครองสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ มีการปรับปรุงพัฒนาสภาพแวดล้อมทุกแห่งเพื่อให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดีของประชาชนทุกคน

ทิศทางของยุทธศาสตร์ (Strategic Directions) เพื่อความเป็นเลิศ (1) มุ่งเน้นเรื่องความเป็นธรรม ลดความเลื่อมล้ำในสังคม และปกป้องสิทธิมนุษยชนของประชาชน มุ่งสู่ไทยแลนด์ 4.0 เพื่อนำไปสู่ครอบครัวมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง และสังคมยั่งยืน สอดคล้องกับเนื้อหาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ผ่านการขับเคลื่อนระบบประชารัฐ มุ่งเน้นกระบวนการนำยุทธ์ศาสตร์ไปแปลงเป็นโครงการอย่างความสอดคล้องกับบริบทที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ข้อมูลที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ (evidence-based) มุ่งเป้าทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยยึดหลักการตามกฎบัตรออตตาวา และเป็นไปตามแนว PIRAB (Partnership-Invest-Regulate-Advocate-Build capacity) ของกฎบัตรกรุงเทพฯ

ทิศทางของยุทธศาสตร์ (Strategic Directions) เพื่อความเป็นเลิศ (2) มีกระบวนการที่สร้างข้อตกลงให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมรับผิดชอบต่อสุขภาพของคนในสังคม (Health in All Policy) เพื่อให้เกิดสังคมแห่งความรอบรู้ด้านสุขภาพ (health literacy society) รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมพลังอำนาจของประชาชนในทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดข้อตกลงในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อการมีสุขภาพดี มุ่งสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพบริการ รวมถึงส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลเพื่อให้เกิดความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการสร้างเสริมการมีสุขภาพและป้องกันโรค

แผนงานที่ 1: พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนทุกกลุ่มวัย (ร่าง) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสู่ความเป็นเลิศ พ.ศ. 2560-2579 แผนงานที่ 1: พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนทุกกลุ่มวัย แผนงานที่ 2: การป้องกันและควบคุมโรคและภัยสุขภาพ แผนงานที่ 3: การลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ เพิ่มปัจจัยคุ้มครองสุขภาพ ด้วยมาตรการทางกฎหมาย หรือมิติทางสังคม แผนงานที่ 4: การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ

แผนงานที่ 1: พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนทุกกลุ่มวัย โครงการพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มสตรีและเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยไม่ว่าจะมีสถานะต่างกันอย่างไรได้รับโอกาสในการพัฒนาไปถึงขีดสูงสุดของศักยภาพที่มีอยู่ ก. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการเตรียมพร้อมก่อนคลอด ข. ทารกแรกคลอดและเด็กปฐมวัยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ค. เด็กไทยมีพัฒนาการด้านสติปัญญา และความฉลาดทางอารมณ์ให้สมวัยของเด็กและในประชาชนทุกกลุ่ม 2. โครงการพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น 3. โครงการพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน 4. โครงการพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มวัยผู้สูงอายุ 5. โครงการพัฒนาสุขภาวะครอบครัว

แผนงานที่ 2: การป้องกันและควบคุมโรคและภัยสุขภาพ โครงการพัฒนาระบบตอบโต้ภาวะฉุกเฉินและภัยสุขภาพ โครงการควบคุมโรคติดต่อ โครงการควบคุมโรคไม่ติดต่อและภัยสุขภาพ

แผนงานที่ 3: การลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ เพิ่มปัจจัยคุ้มครองสุขภาพ ด้วยมาตรการทางกฎหมาย หรือมิติทางสังคม โครงการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพและสร้างปัจจัยคุ้มครองด้านสุขภาพ โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ รวมถึงการส่งเสริมความปลอดภัยด้านอาหาร

แผนงานที่ 4: การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ โครงการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในเขตเมือง

กลไกการขับเคลื่อนงาน การควบคุมกำกับและประเมินผล (1) กำหนดให้มีคณะกรรมการระดับชาติและระดับอื่นๆ ที่เหมาะสมเพื่อควบคุมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ส่งเสริมบทบาทขององค์กรนอกภาคสาธารณสุขในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (health-in-all policy) ส่งเสริมการจัดสรรทรัพยากรในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรจากท้องถิ่นและภาคเอกชน

กลไกการขับเคลื่อนงาน การควบคุมกำกับและประเมินผล (2) พัฒนาและส่งเสริมการใช้มาตรการทางกฎหมาย ส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารให้มีความครอบคลุมและมีการนำไปใช้ในการพัฒนานโยบาย ตลอดจนส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย จัดระบบพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพในการดำเนินการและประสานงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค รวมถึงการประเมินศักยภาพบุคลากร สนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในการควบคุมป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพรวมถึงการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบาย พัฒนามาตรการและควบคุมกำกับงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

การควบคุมกำกับ และประเมินผลการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การนิเทศติดตามความก้าวหน้าของงานเพื่อให้หน่ายงานที่รับการนิเทศได้เห็นว่า งานตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดเป็นงานสำคัญ และจำเป็นต้องดำเนินการให้ได้ผล การมีระบบรายงานที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในระดับต่างๆ ใช้ระบบรายงานเป็นการติดตามความก้าวหน้าของงาน และนำเสนอผลงานสู่การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ในระดับท้องที่ ระดับจังหวัด ระดับเขต และระดับชาติ

ตัวชี้วัดของงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค กำหนดให้มีตัวชี้วัดที่จำกัด ไม่ให้มีมากจนเกินไป พิจารณาตัวชี้วัดที่ดำเนินการอยู่แล้วในระบบสุขภาพ และดำเนินการปรับปรุงคัดเลือกโดยผ่านกระบวนการพิจารณาว่า สมควรเปลี่ยนแปลงอย่างไร ตัวชี้วัดใดที่เหมาะสมกับการบ่งชี้ว่า ประเทศชาติสามารถบรรลุเป้าหมาย Thailand 4.0 ได้เพียงใด ควรพิจารณาเพิ่มตัวชี้วัดใหม่ๆ ที่เป็นข้อตกลงในระดับนานาชาติ ซึ่งได้แก่ ตัวชี้วัดของการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ (9 global NCD targets) และตัวชี้วัดด้านสุขภาพของ Sustainable Development Goals

ตัวอย่างตัวชี้วัดของงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค อัตราส่วนการตายมารดาไทยไม่เกิน 15 ต่อการเกิดมีชีพแสนคน ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละของเด็กวัยเรียน สูงดีสมส่วน ร้อยละของเด็กกลุ่มอายุ 0-12 ปี ฟันดีไม่มีผุ (cavity free) ร้อยละของการตั้งครรภ์ในหญิงอายุ 15-19 ปี ร้อยละของตำบลที่มีระบบส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสและการดูแลระยะยาวในชุมชน (long term care) ผ่านเกณฑ์ ร้อยละของจังหวัดมีศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน และทีมตระหนักรู้สถานการณ์ ที่สามารถปฏิบัติงานได้จริง อัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำ ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD risk) อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี อัตราการเสียชีวิตจากการบาดเจ็บทางถนน ร้อยละของผลิตภัณฑ์อาหารสดและอาหารแปรรูปมีความปลอดภัย ร้อยละของผู้ป่วยยาเสพติดที่หยุดเสพต่อเนื่อง 3 เดือน หลังจำหน่ายจากการบำบัดรักษาตามเกณฑ์กำหนด ร้อยละของสถานพยาบาลและสถานประกอบการเพื่อสุขภาพได้รับการตรวจสอบมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละของโรงพยาบาลที่พัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมได้ตามเกณฑ์

ขอบคุณครับ ข้อมูลเพิ่มเติม: wiwatroj@yahoo.com