เวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความคิดเห็น FTA ไทย-สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) ด้านการค้าบริการและการลงทุน 1
ภาพรวมการเจรจา การค้าบริการ การเจรจา FTA ไทย- EFTA ประเด็นนำเสนอ ภาพรวมการเจรจา การค้าบริการ การเจรจา FTA ไทย- EFTA ด้านการค้าบริการ และการลงทุน
ความสำคัญของภาคบริการ บริหารจัดการ การตลาด การเงิน วัตถุดิบในการผลิต ซ่อมบำรุง ความสำคัญของภาคบริการ ออกแบบ วิศวกร “80% ของสินค้าส่วนใหญ่มาจากภาคบริการ” บริการ ต่างจาก สินค้า คือ จับต้องไม่ได้ (intangible) เก็บรักษาไว้ไม่ได้ (unstorable) ห้ามได้ยาก (unstoppable) ไม่มีอากรศุลกากร ไม่มีการกัก มีความอ่อนไหวสูง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และวัฒนธรรม เช่น ในสาขาบริการด้านการเงิน โทรคมนาคม การขนส่ง การศึกษา ส่งผลให้รัฐต้องเข้ามามีบทบาทในการควบคุมมาก มีความสำคัญอย่างไร - เป็นทั้งผลผลิต และตัวสนับสนุนภาคเศรษฐกิจอื่น - ปัจจัยการผลิตที่สำคัญสำหรับภาคเศรษฐกิจอื่นๆ (การบัญชีและการเงิน การสื่อสารและขนส่ง) - แหล่งเงินตราต่างประเทศจากการส่งออกบริการ (ท่องเที่ยว ร้านอาหาร การรักษาพยาบาล) - ขยายสาธารณูปโภค และปัจจัยพื้นฐาน (โครงสร้างทางการเงินที่ดี โครงข่ายโทรคมนาคมและการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ การก่อสร้าง การพัฒนาระบบการศึกษา) บทบาทในภาคเศรษฐกิจ เป็นทั้งผลผลิต (final product) และตัวสนับสนุนภาคเศรษฐกิจอื่น (enabling component) สนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ ถูกขับเคลื่อนโดยอุปสงค์ (demand-driven) ทั้งจากผู้บริโภคและผู้ผลิต เช่น ความต้องการบริการทางการแพทย์ การศึกษา และ ความต้องการด้านการขนส่ง บริการทางการเงิน การเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ การพัฒนาเทคโนโลยีทำให้การค้าบริการเกิดขึ้นง่าย กลไกตลาดเริ่มเข้ามาทดแทนบทบาทภาครัฐ ความสำคัญที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้องมีการวางระเบียบในการค้าบริการ เพื่อให้การค้าบริการมีความเป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ การเจรจาการค้าบริการเป็นหนึ่งในหัวข้อการเจรจา การเจรจาการค้าบริการเกิดขึ้นได้ใน 4 รูปแบบ บริการขนส่ง
รูปแบบการค้าบริการ: ประเทศ A ประเทศ B Mode 1: การให้บริการข้ามพรมแดน - การศึกษาทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ท Mode 2: การเดินทางไปบริโภคในต่างประเทศ - ชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวในไทย Mode 3: การจัดตั้งธุรกิจ - ธุรกิจไทยเปิดกิจการในต่างประเทศ ในการเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการระหว่างประเทศ สามารถแยกออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้ รูปแบบที่ 1 (Mode 1) คือ การบริการข้ามพรมแดน (Cross-border supply) โดยทั้งผู้ให้บริการและผู้ซื้อบริการ อยู่ในประเทศของตน แต่บริการเป็นตัวเคลื่อนย้ายโดยผ่านสื่อ เช่น บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ หรือ การให้คำปรึกษาต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็คทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น ผ่านโทรศัพท์ โทรสาร หรือ internet e-banking รูปแบบที่ 2 (Mode 2) คือ การบริโภคในต่างประเทศ (Consumption abroad) ผู้บริโภคเป็นผู้เดินทางเข้าไปในประเทศของผู้ให้บริการ เช่น การท่องเที่ยวต่างประเทศ นักศึกษาเดินทางไปเรียนหนังสือที่ต่างประเทศ ซึ่งประเทศต่างๆ อาจมีหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไข ที่แตกต่างกันไป รูปแบบที่ 3 (Mode 3) คือ การจัดตั้งธุรกิจ (Commercial presence) คือ การเข้ามาตั้งบริษัทประกันภัยในประเทศลูกค้า เพื่อประกอบธุรกิจ เช่น การเข้ามาตั้งสำนักงาน สาขาย่อย รูปแบบที่ 4 (Mode 4) คือ การให้บริการโดยบุคคลธรรมดา (Presence of natural persons) เป็นการเข้ามาของบุคคนต่างชาติ เพื่อให้บริการด้านแก่ลูกค้า เช่น ครูสอนภาษาอังกฤษเดินทางเข้ามาสอนภาษาในไทย ช่างก่อสร้างไทยเดินทางไปก่อสร้างตึกที่ต่างประเทศ เป็นต้น เพราะฉะนั้น การเจรจาการค้าบริการในเวทีต่างๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงรูปแบบการให้บริการ ทั้ง 4 รูปแบบที่กล่าวมาแล้ว Mode 4: การให้บริการโดยบุคคลธรรมดา - วิศวกรไทยเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ
12 สาขาของภาคบริการในการเจรจาการค้า 5 1. บริการด้านธุรกิจ/วิชาชีพ 2. บริการด้านสื่อสาร/ โทรคมนาคม 3. บริการด้านการก่อสร้าง 4. บริการด้านการจัดจำหน่าย 5. บริการด้านการศึกษา 6. บริการด้านสิ่งแวดล้อม 7. บริการด้านการเงิน 8. บริการด้านสุขภาพ 9. บริการด้านการท่องเที่ยว 10. บริการด้านนันทนาการ 11. บริการด้านการขนส่ง 12. บริการอื่นๆ 1. บริการด้านธุรกิจ (Business Services) บริการวิชาชีพ (แพทย์ วิศวกร ทนายความ นักบัญชี สถาปนิก ฯลฯ) บริการคอมพิวเตอร์และที่เกี่ยวเนื่อง (ให้คำปรึกษาติดตั้ง ปนะมวลผลข้อมูล) บริการวิจัยและพัฒนา บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ (เช่า/เช่าซื้อ) และบริการด้านธุรกิจอื่น ๆ (โฆษณา ซ่อมบำรุง ศูนย์ประชุม ฯลฯ) 2. บริการสื่อสาร (Communication Services) บริการไปรษณีย์ รับส่งพัสดุ โทรคมนาคม โสตทัศน์ และอื่น ๆ 3. บริการก่อสร้างและวิศวกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการก่อสร้าง (Construction and Related Engineering Services) ด้านอาคาร ด้านวิศวกรรมโยธา งานติดตั้งและวางระบบ งานตกแต่งขั้นสุดท้าย 4. บริการด้านการจัดจำหน่าย (Distribution Services) ตัวแทนผู้เป็นนายหน้า ค้าส่ง ค้าปลีก แฟรนไชส์ 5. บริการด้านการศึกษา (Education Services) ขั้นพื้นฐาน มัธยม อุดมศึกษา วิชาชีพ / หลักสูตรระยะสั้น 6. บริการด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Services) กำจัดกากของเสียและการจัดการมลภาวะ การจัดการขยะสิ่งปฏิกูล บริการด้านสุขอนามัย 7. บริการด้านการเงิน (Financial Services) ประกันภัย ธนาคารและบริการทางการเงิน 8. บริการที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพและบริการสังคม (Health Related and Social Services) โรงพยาบาล บริการด้านสุขภาพอื่นๆ บริการด้านสังคม 9. บริการด้านการท่องเที่ยวและการเดินทางที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว (Tourism and Travel Related Services) โรงแรมและร้านอาหาร ตัวแทนท่องเที่ยวและการจัดการท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ 10. บริการด้านนันทนาการ วัฒนธรรม และการกีฬา (Recreational, Cultural and Sporting Services) บันเทิง จัดหาข่าว และสำนักข่าว ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรม กีฬาและนันทนาการ 11. บริการด้านการขนส่ง (Transport Services) ทางทะเล ทางน้ำในประเทศ ทางอากาศ ทางอวกาศ ทางราง ทางถนน ทางท่อ 12. บริการด้านอื่น ๆ (Other Services not included Elsewhere) 5
ความตกลงด้านการลงทุน ประเด็นเจรจาภายใต้ความตกลงการค้าเสรี ความตกลงด้านสินค้า ลดภาษีศุลกากร ลดมาตรการกีดกันอื่น ลดการจำกัดและ ข้อกีดกันต่างชาติ ความตกลงด้านการค้าบริการ การเปิดตลาดการค้าภาคบริการ (Market Access) เหตุผลคล้ายคลึงกับการเปิดเสรีการค้าสินค้า คือ การลดการกีดกันทางการค้าจะทำให้เกิดการแข่งขัน ส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกโดยรวม ลดอุปสรรคของการประกอบธุรกิจในภาคบริการ เช่น การจำกัดสัดส่วนผู้ถือหุ้น การกำหนดจำนวนผู้ประกอบการในพื้นที่ (แต่อาศัยกลไกตลาดในการกำหนดจำนวนผู้ประกอบการที่เหมาะสม) ไม่เอื้อผู้ประกอบการของประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นพิเศษ แนวทางในการลดอุปสรรคด้านการค้า การลงทุนในภาคบริการ หรือการเปิดตลาด สามารถทำได้ 2 แนวทาง คือ Positive-list approach ระบุเฉพาะสาขาบริการที่จะเปิดตลาดให้คู่ค้า เช่น ใน WTO Negative-list approach ระบุเฉพาะสาขาบริการที่จะไม่เปิดตลาด เช่น ใน FTA ระหว่างสหรัฐฯ กับสิงคโปร์ ความตกลงด้านการลงทุน เปิดเสรีการลงทุน คุ้มครองการลงทุน
การเปิดเสรีการค้าบริการ คือ การลด/ยกเลิกกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าบริการ ข้อจำกัด/อุปสรรคต่อการเข้าสู่ตลาด จำนวนผู้ให้บริการ 4. จำนวนของบุคคลที่ให้บริการ มูลค่าการให้บริการ 5. ประเภทของนิติบุคคล ปริมาณของบริการ 6. สัดส่วนการถือหุ้นในนิติบุคคล Mode 1 Mode 2 Mode 3 Mode 4 Market access ตัวอย่างข้อจำกัดต่อการปฏิบัติกับต่างชาติ กฎหมาย/มาตรการที่รัฐของประเทศภาคีมีการใช้ บังคับ/ปฏิบัติกับผู้ให้บริการต่างชาติแตกต่างกับผู้ให้ บริการในชาติตน เช่น กฎหมายที่ดิน ข้อจำกัดด้าน สัญชาติ/การมีถิ่นพำนัก ภาษี สัดส่วนเงินกู้ต่อทุน ทุนขั้นต่ำในการนำเงินเข้ามาประกอบธุรกิจใน ประเทศ เป็นต้น National treatment การเจรจาเปิดเสรีค้าบริการ คือ การเจรจาเพื่อยกเลิกข้อกีดขวาง หรืออุปสรรคที่มีต่อการค้าบริการในทุกรูปแบบของการค้าบริการ (Mode 1-4) ของทั้งสองประเทศ ซึ่งโดยทั่วไป อุปสรรคหรือข้อกีดขวางด้านการค้าบริการจะแบ่งออกเป็น อุปสรรคการเข้าสู่ตลาด (market access) และการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (national treatment) รวมถึงกฎระเบียบภายใน (domestic regulation) 1) การเข้าสู่ตลาด เป็นการเจรจาเพื่อลด/ยกเลิกข้อจำกัดซึ่งเป็นอุปสรรคด้านการค้าบริการระหว่างประเทศ ซึ่งเกิดจากมาตรการ นโยบาย กฎข้อบังคับของรัฐบาลในการค้าขาย เพื่อเปิดโอกาสให้คนชาติของประเทศนั้นๆ สามารถเข้ามาขายบริการให้คนชาติของตนเองได้ (market access) โดยตามความตกลง GATS ได้ระบุข้อจำกัด /ข้อ XVI ซึ่งกำหนดเงื่อนไขการจำกัดการเข้าสู่ตลาด (Market Access Conditions) ไว้ 6 ประการ คือ 1. การจำกัดจำนวนผู้ให้บริการ เช่น จำกัดจำนวนใบอนุญาตต่อปี จำกัดจำนวนตู้ ATM ของธนาคารต่างชาติ กำหนดให้มีผู้รับสัมปทานเพียงผู้เดียวในบริการประเภทหนึ่ง ฯลฯ เช่น จำกัดจำนวนสาขาธนาคารต่างชาติให้เข้ามาได้ไม่เกิน 2 แห่ง 2. การจำกัดมูลค่าของการให้บริการ หรือสินทรัพย์ที่หมุนเวียนในการบริการกลุ่มนั้น ๆ เช่น ธนาคารต่างชาติมีสินทรัพย์ได้ ไม่เกิน 20% ของสินทรัพย์ธนาคารภายในประเทศทั้งหมด 3. การจำกัดจำนวน/ปริมาณการให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นจำนวน operations หรือจำนวน output เช่น กำหนดให้ฉายภาพยนตร์ต่างชาติได้ปีละ 10 เรื่อง 4. การจำกัดจำนวนผู้ให้บริการที่เป็นบุคคลธรรมดาในสาขานั้น เช่น จำกัดจำนวนการจ้างผู้ให้บริการชาวต่างชาติต่อบริษัท ธุรกิจนั้นต้องจ้างนักกฎหมายท้องถิ่นไม่ต่ำกว่า 2 คน 5. การกำหนดเงื่อนไขรูปแบบขององค์กรที่สามารถเข้ามาให้บริการ เช่น ต้องเป็นการร่วมทุนระหว่างต่างชาติกับคนชาติ หรือเป็นสาขาเท่านั้น ฯลฯ รูปแบบของหน่วยธุรกิจจะต้องเป็นเฉพาะบริษัทจำกัดซึ่งจดทะเบียนในประเทศเท่านั้น 6. การจำกัดเพดานผู้ถือหุ้นต่างชาติ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งมูลค่าสัดส่วนการถือหุ้น หรือจำกัดจำนวนผู้ถือหุ้นที่เป็นชาวต่างชาติ เช่น สัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติมีได้ไม่เกิน 49% เงื่อนไขเหล่านี้เป็นเงื่อนไขเพียง 6 ประการเท่านั้นที่ใช้ได้ในการจำกัดการเข้าสู่ตลาด ประเทศสมาชิกไม่สามารถใช้ข้อจำกัดการเข้าสู่ตลาดประเภทอื่นได้อีก กล่าวคือ เงื่อนไขเหล่านี้เป็น Exhaustive List สมาชิก WTO ใช้ข้อจำกัดด้านการเข้าสู่ตลาดได้เฉพาะเท่าที่กำหนดไว้ในข้อ XVI นี้เท่านั้น ไม่มีการเพิ่มเติมประเภทอื่นได้อีก (เว้นแต่จะแก้ไขความตกลง GATS) 2) การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ เป็นการเจรจาเพื่อยกเลิกการเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากการใช้มาตรการใดๆ (ไม่ว่าจะเป็นในรูปของกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ วิธีการปฏิบัติ) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการบริการหรือผู้ให้บริการของประเทศนั้นๆไม่ได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นโดยนิตินัยหรือพฤตินัย
กติกาการเปิดตลาดการค้าบริการ องค์การการค้าโลก-WTO เปิดตลาดแบบค่อยเป็นค่อยไป คำนึงถึงระดับการพัฒนา -เจรจาจัดทำข้อผูกพันการเปิดตลาดทุก 5 ปี -ไม่มีกำหนดเวลาการเปิดเสรี -มีการเจรจากฎเกณฑ์ของ GATS กติกาการเปิดตลาดการค้าบริการ อาเซียน-ASEAN - เร่งรัดการรวมกลุ่ม รวมเป็นตลาดเดียว -เจรจาการเปิดตลาดทุก 2 ปี เพื่อบรรลุเป้าหมายการเปิดเสรีในปี 2015 - กำหนดเป้าหมายการเปิดตลาด เอฟ ที เอ-FTA -เปิดตลาดอย่างกว้างขวางแบบต่างตอบแทน ครอบคลุมบริการมากที่สุด และลึกกว่า WTO เปิดตลาดให้เฉพาะคู่ภาคี มีความยืดหยุ่นในการเจรจาต่อรอง กติกาการเจรจาเปิดตลาดในแต่ละกรอบ 1) กรอบ WTO - เจรจาโดยใช้กรอบความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services : GATS) ซึ่งกำหนดให้สมาชิกต้องเจรจาทุกๆ 5 ปีเพื่อลด/เลิกมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้ามาค้าขายบริการของต่างชาติ - การเปิดตลาดของแต่ละประเทศเปิดมากน้อยเพียงใดขึ้นกับการเจรจาต่อรอง ต้องให้การปฏิบัติต่อสมาชิก WTO อย่างเท่าเทียมกัน (MFN) 2) กรอบอาเซียน - เจรจาโดยใช้กรอบความตกลง AFAS (ASEAN Framework Agreement on Services) ซึ่งกำหนดให้สมาชิกต้องเจรจาทุกๆ 3 ปี และผลการเจรจาต้องกว้างกว่าและลึกกว่า (GATS Plus) - มีกรอบเวลาในการเจรจาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลด/เลิกมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าขายระหว่างกันทั้งหมดภายในปี 2020 3) กรอบทวิภาคีภายใต้ FTA - การเจรจาต้องสอดคล้องกับกติกาของ WTO และต้องครอบคลุมสาขาบริการที่มากเพียงพอจึงจะเปิดเสรีได้ โดยไม่ผิดหลักการ MFN - ผลการเจรจาต้องลึกกว่าใน WTO และเป็นลักษณะต่างตอบแทน ไม่ต้องขยายผลให้ประเทศอื่น
ข้อมูลด้านศักยภาพธุรกิจบริการของ EFTA ปี 2009 ภาคบริการของ EFTA โดยเฉลี่ย คิดเป็น 23% ของ GDP รวมของ EFTA ปี 2009 การค้าบริการของ EFTA มีสัดส่วนต่อการค้าบริการของโลกประมาณ 3% ภาคบริการที่ EFTA มีศักยภาพระดับโลก ได้แก่ Switzerland and Liechtenstein: ภาคการเงิน ประกันภัย และโทรคมนาคม Norway: พลังงาน (Oil and Gas) โทรคมนาคม และการขนส่งทางทะเล Iceland: การขนส่งทางทะเล นอกจากนี้ EFTA ยังมีศักยภาพในบริการที่เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยี และ การวิจัยและพัฒนาต่างๆ ธุรกิจบริการของ EFTA หลายบริษัทติดอันดับใน Top 500 companies in the world ปี 2010 เช่น Nestle Novartis UBS Credit Suisse Zurich Financial Services เป็นต้น ลักษณะทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ : SWITZERLAND เป็นศูนย์กลางทางการเงินและบริษัทชั้นนำของโลก และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ขององค์กรระหว่างประเทศกว่า 300 องค์กร การเติบโตทางเศรษฐกิจของสวิสฯไม่ได้มาจากการผลิตขนาดใหญ่ (Mass production) แต่มีเศรษฐกิจที่เติบโตมาจาก แรงงานที่มีความเชี่ยวชาญระดับสูง และมีคุณภาพ โดยมีสาขาที่สำคัญได้แก่ Micro-technology, High technology, Biotechnology, Banking and insurance know-how, และ Pharmaceuticals นอกจากนี้ ยังเป็นประเทศผู้ส่งออกอุปกรณ์และเครื่องจักรที่สำคัญด้วย สวิสฯ ให้ความสำคัญกับ R&D มาก ซึ่งสูงถึง 2.9% ของ GDP ลักษณะทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ : LIECHTENSTEIN ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญคือ อุตสาหกรรมส่งออก และ บริการสาขาการเงิน ทั้งนี้ การส่งออกส่วนใหญ่จะมาจากอุตสาหกรรมเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีระดับสูง อุตสาหกรรมส่งออกเป็นผู้จ้างงานมากที่สุดคิดเป็น 45% ของงานทั้งหมด ขณะเดียวกัน ภาคบริการก็ทวีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจปัจจุบัน ซึ่งภาคการเงินจ้างงานคิดเป็น 13% ของกำลังแรงงาน รายได้ประมาณ 30% ของรัฐมาจากบริษัทต่างชาติที่มีอยู่มากมายกว่า 73,700 บริษัท 36% ของประชากรเป็นชาวต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ สวิสเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และเยอรมัน ลักษณะทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ : NORWAY ภาคบริการ อุตสาหกรรมน้ำมัน และอุตสาหกรรมที่ทันสมัยเช่น วิศวกรรม และเทคโนโลยีด้านข้อมูล เป็นภาคที่กำลังทวีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของนอร์เว ขณะที่ อุตสาหกรรมและการผลิตพื้นฐาน กำลังลดบทบาทลง เป็นประเทศที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมขนส่งทางทะเล ทั้งนี้ กองเรือของนอร์เว (Merchant fleet) ถือว่าใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก นอร์เวเป็นชาติหนึ่งที่มีอุตสาหกรรมประมงใหญ่ที่สุดในยุโรป Full employment ถือเป็นนโยบายที่สำคัญของนอร์เว ลักษณะทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ : ICELAND ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญคือ อุตสาหกรรมประมง อุตสาหกรรมการผลิต และบริการ การส่งออกจะค่อนข้างกระจุกตัวในสินค้าจากทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์จากทะเล และอลูมิเนียม มีพลังงานจากธรรมชาติมาก ทั้งนี้ ในปี 1998 ไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ (Hydroelectricity) คิดเป็น 18% ของการบริโภคพลังงานทั้งหมด ขณะที่ พลังงานจากใต้พิภพ (Geothermal) จะสูงถึง 50% การลงทุนจากต่างชาติส่วนใหญ่จะเน้นภาคลงทุนเพื่อการส่งออก ขณะเดียวกันการลงทุน IT, Life science และ Tourism ก็ได้รับความสนใจมากขึ้น
การเจรจา FTA ไทย-EFTA ได้มีการประชุมเจรจาด้านการค้าบริการและ การลงทุนอย่างเป็นทางการทั้งหมด 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 11 – 15 ตุลาคม 2548 ณ จังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 16 – 20 มกราคม 2549 ณ จังหวัดเชียงใหม่ การเจรจาได้หยุดชะงักลงเมื่อเดือนกันยายน 2549 EFTA ทำความตกลง FTA เกือบทั่วทุกภูมิภาคของโลก ดังนี้ FTA ที่เสร็จสิ้นแล้ว 22 ฉบับ กับประเทศ/กลุ่มประเทศ ได้แก่ อัลบาเนีย แคนาดา ชิลี โคลัมเบีย โครเอเทีย อียิปต์ GCC อิสราเอล จอร์แดน เกาหลีใต้ เลบานอน มาซีโดเนีย เม็กซิโก โมรอกโก ปาเลสไตน์ เปรู เซอร์เบีย สิงคโปร์ อัฟริกาใต้ ตูนิเซีย ตุรกี และยูเครน FTA ที่กำลังเจรจาอยู่ ได้แก่ อัลจีเรีย ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย รัสเซีย และไทย FTA ที่จะเจรจาในอนาคต ได้แก่ บอสเนีย เฮอร์เซโกวินา อเมริกากลาง มอนเตนิโกร และเวียดนาม กับประเทศไทย ได้มีการประชุมเจรจา FTA ด้านการค้าบริการและการลงทุนทั้งหมด 4 ครั้ง และได้หยุดชะงักลงเมื่อเดือนกันยายน 2549 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ - ไม่เป็นทางการ 2 ครั้ง 1) การประชุมหารือครั้งแรก (1st Consultation) ในจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีไทย – EFTA เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2548 ณ กรุงเทพฯ 2) การประชุม Thailand – EFTA Exploratory Meeting เมื่อวันที่ 10 – 12 พฤษภาคม 2548 ณ กรุง Reykjavik ประเทศ Iceland -เป็นทางการ 2 ครั้ง 1) การเจรจา Thailand – EFTA FTA (TEFTA) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 11 – 15 ตุลาคม 2548 ณ จังหวัดภูเก็ต 2) การเจรจา Thailand – EFTA FTA (TEFTA) ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 16 – 20 มกราคม 2549 ณ จังหวัดเชียงใหม่
การเจรจา FTA ไทย-EFTA (ต่อ) ใช้แนวทางการเปิดตลาดแบบ Positive- list approach ซึ่งมีตารางข้อผูกพันของแต่ ละประเทศเป็นส่วนผนวกความตกลง และ ใช้รูปแบบข้อผูกพันเหมือนที่ใช้ในความตก ลง GATS สำหรับการลงทุน ให้ครอบคลุมทั้งเรื่อง การส่งเสริม (Promotion) การคุ้มครอง (Protection) และการเปิดเสรี (Liberalisation) โดยไม่รวมการลงทุนสาขา บริการ ด้านการค้าบริการและการลงทุน ไทยและ EFTA ได้มีการประชุมเจรจาทั้งหมด 4 ครั้ง และได้หยุดชะงักลงเมื่อเดือนกันยายน 2549 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ การประชุมหารือครั้งแรก (1st Consultation) ในจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีไทย – EFTA เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2548 ณ กรุงเทพฯ การประชุม Thailand – EFTA Exploratory Meeting เมื่อวันที่ 10 – 12 พฤษภาคม 2548 ณ กรุง Reykjavik ประเทศ Iceland การเจรจา Thailand – EFTA FTA (TEFTA) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 11 – 15 ตุลาคม 2548 ณ จังหวัดภูเก็ต การเจรจา Thailand – EFTA FTA (TEFTA) ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 16 – 20 มกราคม 2549 ณ จังหวัดเชียงใหม่ การเจรจายังไม่ได้ลงลึกในรายละเอียด เบื้องต้น ทั้งสองฝ่ายได้หารือด้านการเปิดตลาดการค้าบริการในเรื่องหลักการ ข้อบทความตกลงและประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายผลักดัน โดยเห็นพ้องให้ใช้แนวทางการเปิดตลาดแบบ Positive-list approach ซึ่งมีตารางข้อผูกพันของแต่ละประเทศเป็นส่วนผนวกความตกลง และใช้รูปแบบข้อผูกพันเหมือนที่ใช้ในความตกลง GATS สำหรับด้าน Investment ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นพ้องให้ความตกลงด้านการลงทุนครอบคลุมทั้งเรื่อง การส่งเสริม (Promotion) การคุ้มครอง (Protection) และการเปิดเสรี (Liberalisation) โดยไม่รวมการลงทุนสาขาบริการ แต่ยังไม่สามารถตกลงเกี่ยวกับนิยามการลงทุนได้ เนื่องจากฝ่ายไทยต้องการจำกัดไว้เพียง FDI ขณะที่ ฝ่าย EFTA ต้องการให้ครอบคลุมทั้ง FDI และการลงทุนอื่นๆ ด้วยเช่น Portfolio investment นอกจากนี้ ฝ่ายไทยเสนอให้ใช้แนวทางการเปิดตลาดแบบ Positive-list approach ขณะที่ฝ่าย EFTA เห็นว่าควรมีการผูกพันให้มากที่สุดแต่บางสาขาก็อาจมีข้อสงวนอยู่บ้าง ซึ่งประเมินได้ว่า EFTA อาจต้องการแบบ Negative-list approach
การเจรจา FTA ไทย-EFTA (ต่อ) สาขาที่ EFTA ผลักดัน ได้แก่ การเงิน โทรคมนาคม ขนส่ง วิศวกร สถาปนิก รวมทั้ง บริการ ด้านการทดสอบและวิเคราะห์ทาง เทคนิค (Technical testing and analysis) ไทยผลักดันเรื่องการเข้าไปทำงาน และการยอมรับคุณสมบัติของผู้ ให้บริการด้านนวดไทย สปา ดูแล เด็กและคนชรา และทำอาหารไทย
โอกาสของไทยในการดึงดูดการลงทุนจาก EFTA นโยบายส่งเสริมการลงทุนของไทยในหลายสาขาเช่น Green renergy, High-value jewelry and fashion, Agro-industry, Value-added services และ High- technology industry ต่างๆ ค่อนข้างสอดคล้องกับ ศักยภาพของ EFTA ซึ่งอาจสามารถดึงดูดการลงทุน จาก EFTA เพิ่มขึ้น และจะมีส่วนช่วยเสริมสร้าง ศักยภาพการแข่งขันของไทยในอนาคตได้ นโยบายการจัดทำเขตการค้าเสรีจะมีส่วนช่วยสร้างความ เชื่อมั่น เสถียรภาพ และความสัมพันธ์ด้านการค้าและ การลงทุนระหว่าง EFTA และไทยได้ในระยะยาว ข้อมูลด้านการลงทุนของ EFTA ในไทย ปี 2009 มูลค่า FDI ของ EFTA มีสัดส่วน ประมาณ 1.5% FDI ของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Switzerland ถือเป็นประเทศผู้ลงทุนสำคัญของโลก จากข้อมูลของ BOI ปี 2010 รายงานว่า สวิตเซอร์แลนด์ ได้รับการส่งเสริมเป็นมูลค่า 8,981.4 ล้านเหรียญสหรัฐ นอรเวย์ ได้รับการส่งเสริมเป็นมูลค่า 517 ล้านเหรียญสหรัฐ ไอซ์แลนด์ ได้รับการส่งเสริมเป็นมูลค่า 187.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลิกเตนสไตน์ ได้รับการส่งเสริมเป็นมูลค่า 159.3 ล้านเหรียญสหรัฐ สาขาที่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI ได้แก่ สินค้าเกษตร แร่และเซรามิก สิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์และกระดาษ ข้อมูลจาก UNCTAD
สาขาที่มีแนวโน้มเข้ามาลงทุนและดำเนินธุรกิจในไทย ธุรกิจด้านการผลิต: ธุรกิจด้านอาหาร ยาและเวชภัณฑ์ วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ ธุรกิจด้านบริการ: บริการด้านโฆษณา ภัตตาคาร ท่องเที่ยว โทรคมนาคม ธนาคาร ประกันภัย พลังงานไฟฟ้า โดยสวิสเซอร์แลนด์จะเป็นประเทศหลักในกลุ่ม EFTA ที่จะมีแนวโน้มเข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด เมื่อพิจารณาจากบริษัทข้ามชาติชั้นนำของ EFTA พบว่ามีธุรกิจสาขาต่างๆ ที่ EFTA มีศักยภาพในการลงทุนต่างประเทศ สรุปได้ดังนี้ ธุรกิจด้านบริการ: บริการด้านโฆษณา ภัตตาคาร ท่องเที่ยว โทรคมนาคม ธนาคาร ประกันภัย และพลังงานไฟฟ้า ธุรกิจด้านการผลิต: ธุรกิจด้านอาหาร ยาและเวชภัณฑ์ วัสดุก่อสร้าง และเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ ทั้งนี้ สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศหลักในกลุ่ม EFTA ที่ไปลงทุนต่างประเทศมากที่สุด
ขอบคุณสำหรับทุกความเห็น Website www.thaifta.com www.dtn.go.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center โทร. 02-507-7555 สำนักการค้าบริการและการลงทุน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ 44/100 ถ. นนทบุรี 1 สนามบินน้ำ ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000