การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ 1 ของนักศึกษาระดับชั้น ปวส.1 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม ผู้วิจัย นายประวิง รุ่นประพันธ์ สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู www.mbk.ac.th
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วน รอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม วีระ ไทยพานิช (2528 : 51) กล่าวว่า จะต้องรู้จักผู้เรียนของท่านเพื่อเลือกสื่อที่ดีที่สุดเพื่อจะได้บรรลุจุดมุ่งหมาย ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผู้เรียนจะเป็นตัวช่วยอย่างดีในการเลือกสื่อตลอดจนวิธีการในการสอนให้เข้ากับลักษณะและความสามารถของผู้เรียน เหตุผลและความสำคัญดังกล่าวผู้วิจัยจึงมีความสนใจพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 1 ของนักศึกษาระดับชั้น ปวส.1 วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู แผนกบริหารธุรกิจ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม อันเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาทำให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ 1 ดีขึ้น และส่งผลให้นักศึกษามีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 1 ของนักศึกษาระดับชั้น ปวส.1 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตารางเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน คะแนน ก่อนเรียน หลังเรียน รวม 63 213 2.33 7.89 ร้อยละ 22.33 78.9
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล คะแนนก่อนเรียน คะแนนหลังเรียน Sd t Prob คะแนนรวม คะแนนเฉลี่ย 63 2.33 213 7.89 .58 -50.0* .000
สรุปผลการวิจัย ผลเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม ของนักศึกษาระดับชั้น ปวส.1 วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู แผนกบริหารธุรกิจ นักศึกษา 27 คน มีคะแนนก่อนเรียนรวม = 63 มีค่า = 2.33 คิดเป็นร้อยละ 23.30 มีคะแนนหลังเรียนรวม = 213 มีค่า = 7.89 คิดเป็นร้อยละ 78.90 นักศึกษา มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การวิจัยพบว่า นักศึกษามีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นเพราะนักเรียนมีความสนใจกระตือรือร้นในการเรียนการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนทำให้นักศึกษาไม่เบื่อ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสูงขึ้นตามลำดับ
ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาวิจัย 1. นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สูงขึ้น 2. เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น