ผู้วิจัย นายไพรัตน์ ลิ้มปองทรัพย์ วิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรพณิชยการ เลขที่ 2 ถนนมหาราช แขวง พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะ ผู้ทำบัญชีที่พึงประสงค์ของ ผู้ประกอบการธุรกิจ ในเขตกรุงเทพมหานคร
ปัญหาการวิจัย ผู้วิจัยในฐานะที่เป็นครูผู้สอนและ ผู้ผลิตนักศึกษาออก สู่สังคม ของการทำงาน ประจำภาควิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรพณิชยการ ต้องการนำข้อมูล ที่ได้มา ประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการจัด การศึกษาในสถานศึกษาเพื่อให้สอดคล้อง และตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมธุรกิจที่จะ เปลี่ยนแปลงไปในอนาคต รวมทั้งนำข้อมูล ที่ได้จากการศึกษามาสร้างแรงจูงใจใน การศึกษาต่อวิชาชีพการบัญชีของ สถานศึกษา และเป็นการเพิ่มศักยภาพของ นักศึกษาที่จะประกอบวิชาชีพบัญชีใน อนาคต
วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับ คุณลักษณะผู้ทำบัญชี ที่พึง ประสงค์ของผู้ประกอบการธุรกิจ ในเขต กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับ คุณลักษณะผู้ทำบัญชีที่พึงประสงค์ของ ผู้ประกอบการธุรกิจ ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีลักษณะทั่วไปของธุรกิจ และการ ปฏิบัติงานทางการบัญชีแตกต่างกัน
ความคิดเห็นเกี่ยวกับ คุณลักษณะของผู้ทำบัญชีที่พึง ประสงค์ S.D. ระดับความ ต้องการ 1. ด้านคุณค่าทางวิชาชีพ มาก 2. ด้านความรู้ของผู้ทำบัญชี มาก 3. ด้านความสามารถของผู้ทำ บัญชี มากที่สุด 4. ด้านความชำนาญของผู้ทำ บัญชี มากที่สุด รวมเฉลี่ย มากที่สุด สรุปผลการวิจัย
ผู้ประกอบการธุรกิจที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมี ความคิดเห็นต่อคุณลักษณะของผู้ทำบัญชีที่พึง ประสงค์ โดยรวมมีความต้องการในคุณลักษณะ ดังกล่าวอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า กลุ่ม ตัวอย่างมีความคิดเห็นว่ามีความต้องการใน คุณลักษณะดังกล่าวในระดับมากที่สุด โดย คุณลักษณะด้านความชำนาญของผู้ทำบัญชี ผู้ประกอบการธุรกิจ มีความต้องการมากที่สุด มี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.83 รองลงมา คือ คุณลักษณะ ด้านความสามารถของผู้ทำบัญชี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 และมีความต้องการในคุณลักษณะดังกล่าว ในระดับมาก คือ คุณลักษณะด้านคุณค่าทาง วิชาชีพ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 และสุดท้าย คือ คุณลักษณะด้านความรู้ของผู้ทำบัญชีมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.40 สรุปผลการวิจัย ( ต่อ )
ประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย 1. ทำให้ได้ทราบถึงคุณลักษณะของผู้ทำ บัญชีที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการธุรกิจ 2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีแนวทางสำหรับ ในการออกข้อกำหนด กฎ ระเบียบ ในการ ประกอบวิชาชีพของผู้ทำบัญชีให้เป็นที่ยอมรับ และน่าเชื่อถือมากขึ้น 3. สถานศึกษามีแนวทางในการพัฒนา หลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับความ ต้องการของผู้ประกอบการธุรกิจ