วิทยาลัยเทคโนโลยีนีรชาบริหารธุรกิจ วิจัยการเรียนการสอน วิทยาลัยเทคโนโลยีนีรชาบริหารธุรกิจ วิจัยการเรียนการสอน ชื่อเรื่องงานวิจัย การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากระบวนการจัดทำบัญชี โดยการใช้แบบฝึกปฏิบัติ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 สาขางานบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีนีรชาบริหารธุรกิจ ผู้วิจัย นัฎฐภัทร์ ศรัทธาเจนสุข (ปริญญาโท บธ.ม. : การจัดการ) วิทยาลัยเทคโนโลยีนีรชาบริหารธุรกิจ www.nbac.ac.th นัฎฐภัทร์ ศรัทธาเจนสุข
ความเป็นมาและปัญหาการวิจัย ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 22 ระบุว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และยึดว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ในด้านการเรียนรู้ทางวิชาการบัญชีนั้น ต้องให้เกิดทั้งความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในวิชาชีพการบัญชี วิชากระบวนการจัดทำบัญชี เป็นวิชาหนึ่งที่ช่วยให้มนุษย์รู้จักคิดอย่าง มีเหตุผล และมีความสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเราอย่างมาก เช่น ช่วยให้ทราบผลการดำเนินกิจการ โดยการรวบรวม บันทึก จำแนกข้อมูลทางบัญชี เป็นต้น จากเหตุผลข้างต้น ผู้วิจัยจึงได้จัดทำการวิจัยเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากระบวนการจัดทำบัญชี โดยการใช้แบบฝึกปฏิบัติ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น “การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากระบวนการจัดทำบัญชี โดยการใช้แบบฝึกปฏิบัติ”
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังจากผู้เรียนได้รับการสอน โดยการใช้แบบฝึกปฏิบัติ วิชากระบวนการจัดทำบัญชีของนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 สาขางานบัญชี สมมติฐานการวิจัย นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกปฏิบัติ หลังเรียน รายวิชากระบวนการจัดทำบัญชี สูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกปฏิบัติ “การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากระบวนการจัดทำบัญชี โดยการใช้แบบฝึกปฏิบัติ”
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชากระบวนการจัดทำบัญชี กรอบแนวความคิด ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน แบบฝึกปฏิบัติ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชากระบวนการจัดทำบัญชี “การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากระบวนการจัดทำบัญชี โดยการใช้แบบฝึกปฏิบัติ”
ความก้าวหน้าทางการเรียน ตารางสรุปผล ที่ ชื่อ - สกุล คะแนนก่อนเรียน (20) คะแนนหลังเรียน (20) ความก้าวหน้าทางการเรียน 1 นางสาวธณัชชา กลัดทอง 10 18 8 2 นางสาวสุวนันท์ พรหมศรี 12 19 7 3 นางสาวน้ำฝน กันหนู 4 นางสาวผกามาศ ยอดยิ่ง 6 17 9 5 นางสาววิลาวัลย์ ขจรศาสตร์ นางสาวณิชารีย์ วิทักษบุตร 16 นางสาวกิตติยา กาญจนวิเชียร 13 20 ผลรวม 66 125 57 ค่าเฉลี่ย 9.43 17.86 8.14 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.67 12.63 -
สรุปผลการวิจัย ผู้เรียนมีคะแนนก่อนเรียน โดยมีค่าเฉลี่ย 9.43 และมีคะแนนหลังเรียนที่ได้ใช้แบบฝึกปฏิบัติ โดยมีค่าเฉลี่ย 17.86 สรุป ผู้เรียนมีผลการเรียนหลังการใช้แบบฝึกปฏิบัติมากกว่าผลการเรียนก่อนการใช้แบบฝึกปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานว่า นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกปฏิบัติหลังเรียน รายวิชากระบวนการจัดทำบัญชี สูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกปฏิบัติ “การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากระบวนการจัดทำบัญชี โดยการใช้แบบฝึกปฏิบัติ”
การอภิปรายผล จากการศึกษาพบว่า ผลการวิจัยที่ได้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ในระดับที่ดีขึ้น ซึ่งถือว่าแบบฝึกทักษะที่ผู้วิจัยได้จัดทำขึ้นสามารถช่วยพัฒนาเรื่องกระบวนการจัดทำบัญชี ตั้งแต่การจัดทำเอกสารเพื่อบันทึกบัญชี การบันทึกรายการค้า จนถึงการจัดทำงบการเงินและรายงานภาษี ซึ่งนักเรียนมีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น “การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากระบวนการจัดทำบัญชี โดยการใช้แบบฝึกปฏิบัติ”
ข้อเสนอแนะ 1. การใช้ชุดแบบฝึกทักษะ ควรคำนึงถึงความรู้พื้นฐานทางบัญชีของผู้เรียน ตลอดจนมีการสร้างบรรยากาศและเสริมแรงอย่างเหมาะสม เพื่อจะได้ส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างเต็มความสามารถ 2. ควรนำการใช้ชุดแบบฝึกทักษะ ไปทดลองใช้กลุ่มตัวอย่างอื่น เช่น ในระดับที่สูงกว่า เพื่อเป็นการทบทวนเนื้อหาความรู้เดิมที่เคยได้เรียนมา 3. ควรมีชุดแบบฝึกทักษะที่มีความหลากหลาย เพื่อจูงใจให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นและตั้งใจเรียนมากยิ่งขึ้น “การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากระบวนการจัดทำบัญชี โดยการใช้แบบฝึกปฏิบัติ”