เสริมเว็บให้ดูสวย
การจัดหัวข้อย่อย 1. การจัดหัวข้อย่อยแบบเรียงลำดับ รูปแบบคำสั่งมีดังนี้ <ol> <li>---</li> </ol>
ol ย่อมาจาก Ordered List เป็นการจัดเรียงลำดับหัวข้อ 1 2 3 โดยมีคำสั่งที่ต้องใช้คู่กันอยู่ภายใน คือ li ย่อมาจาก List Item การจัดเอกสารให้มีหัวข้อย่อยแบบเรียงลำดับ
ตัวอย่างการจัดเอกสารให้มีหัวข้อย่อยแบบเรียงลำดับ <html> <ol> <li>หัวข้อย่อยที่ 1</li> <li>หัวข้อย่อยที่ 2</li> <li>หัวข้อย่อยที่ 3</li> </ol> </html>
2. การจัดหัวข้อย่อยแบบไม่เรียงลำดับ เหมาะสำหรับเนื้อหาเอกสารที่สามารถนำหัวข้อใดขึ้นก่อนก็ได้โดยมีรูปแบบคำสั่ง <ul> <li>---</li> </ul>
ul ย่อมาจาก Unordered List เป็นการกำหนดหัวข้อย่อยแบบไม่เรียงลำดับ โดยมีคำสั่งที่ต้องใช้คู่กันอยู่ภายใน คือ li
ตัวอย่าง <html> <ul> <li>หัวข้อย่อยที่ 1</li>
การใส่รูปภาพในเว็บเพจ รูปภาพที่ใช้ประกอบในเว็บเพจควรมีขนาดเล็ก มีสีสันเหมาะสมเพื่อให้ผู้ชมสามารถดาวน์โหลดมาแสดงในบราวเซอร์ได้อย่างรวดเร็ว ภาพที่ใช้ประกอบบนเว็บเพจมีอยู่ 3 ชนิด คือ 1. ภาพชนิด jpeg เป็นแฟ้มภาพที่มีความละเอียดของสีเหมือนจริงมากที่สุด มีขนาดเล็กเหมาะสำหรับใช้กับภาพถ่ายบุคคล อาคาร วัตถุ สิ่งของ หรือทิวทัศน์จะมีส่วนขยายเป็น jpg 2. ภาพชนิด gif เป็นแฟ้มที่เหมาะกับการแสดงภาพการ์ตูน ตัวอักษรหัวเรื่อง หรือภาพเคลื่อนไหว มีสีไม่เกิน 256 สี แฟ้มภาพชนิดนี้จะมีส่วนขยายเป็น gif
3.ภาพชนิด png เป็นภาพที่นำเอาข้อดีของ jpg ผสมกับ gif โดยมีคุณสมบัติ สามารถแสดงสีได้มากกว่า 256 สี การบีบอัดภาพน้อยกว่า jpg ทำให้แสดงผลได้เร็ว แต่บราวเซอร์รุ่นต่ำๆอาจแสดงผลไม่ได้
การแทรกรูปภาพในเว็บเพจใช้คำสั่งดังนี้ <img src=“path/name.jpg”/> Img ย่อมาจาก image Src ย่อมาจาก source Path คือเส้นทางของโฟลเดอร์ที่เก็บแฟ้มข้อมูลเป็นรูปภาพ name คือ ชื่อภาพที่เราต้องการแทรก ซึ่งอาจมีนามสกุล jpg หรือ gif
การจัดตำแหน่งภาพในข้อความ ในกรณีที่ต้องการจัดตำแหน่งภาพในข้อความสามารถกำหนดโดยเติมคำสั่ง align=“……” ตามหลังคำสั่งแทรกรูปภาพ โดยสามารถระบุตำแหน่งต่างๆได้แก่ top, middle, bottom, left, และ right
การเขียน Comment ในภาษาคอมพิวเตอร์ทุกภาษามีสัญลักษณ์ที่ใช้กำหนดว่า ข้อความที่ใช้อธิบายความหมายบางอย่างที่ใช้บอกผู้อ่านซอร์สโค๊ด ในภาษา HTML เราสามารถเติมข้อความเพื่อบอกข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเว็บเพจนั้นได้ โดยใช้แท็ก <!..และ..!> ครอบคลุมข้อความนั้น โดยที่บราวเซอร์จะไม่แสดงผลให้เห็น ผู้พัฒนาเว็บอาจใช้ comment ในการเตือนตัวเองว่าส่วนใดที่ต้องการปรับปรุงหรือเพิ่มเติม หรือคำสั่งนี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใดเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับ
ผู้ที่จะมาปรับปรุงเพิ่มเติม หรือกรณีที่มีการพัฒนาเว็บเพจร่วมกันเป็นทีม ตัวอย่าง