การบันทึกบัญชีและการจัดทำรายงานการเงิน โดย อัมพวรรณ พันธจักร หัวหน้างานตรวจสอบ (สาย 3) สำนักงานการตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การบัญชีและรายงานการเงิน ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการบริหารการเงิน พ.ศ.2551 หมวด 6 การบัญชีและรายงานเงิน ข้อ 35 ให้มหาวิทยาลัยวางและรักษาไว้ซึ่งระบบบัญชีอันถูกต้อง แยกตามประเภทงานส่วนที่สำคัญ มีสมุดบัญชีลงรายการรับและจ่ายเงิน สินทรัพย์ และหนี้สิน ที่แสดงกิจการที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามที่ควร ตามประเภทงาน พร้อมด้วยข้อความอันเป็นที่มาของรายการนั้นๆ และให้มีการตรวจบัญชีภายในเป็นประจำ การบันทึกบัญชีรายการในสมุดบัญชีวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป การจัดเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีเพื่อการตรวจสอบ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี สำนักงานการตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ประเด็นข้อตรวจพบ-การบันทึกบัญชี 1) การบันทึกบัญชีไม่เป็นปัจจุบัน 2) มีการบันทึกบัญชีผิดหมวด และบันทึกบัญชีรายได้ผิดประเภท 3) การบันทึกบัญชีไม่ถูกต้องตามวันที่ที่ปรากฏใบเสร็จรับเงิน / มีการออกใบเสร็จรับเงินย้อนหลัง 4) การบันทึกบัญชีไม่ครบถ้วน, ไม่ปรากฎรายการการบันทึกบัญชีการรับเงินตามใบเสร็จรับเงิน มช.17 5) จำนวนเงินคงเหลือในบัญชีแยกประเภทเงินสด ไม่สอดคล้องกับรายงานเงินคงเหลือประจำวัน สำนักงานการตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สำนักงานการตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ประเด็นข้อตรวจพบ-การบันทึกบัญชี 7) กองทุนพัฒนาคณะฯ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหารกองทุนพัฒนาของส่วนงานในสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2557 ข้อ 7. วรรคสอง “การรับและจ่ายเงินต้องลงบันทึกบัญชีในระบบของมหาวิทยาลัยทุกครั้ง ข้อตรวจพบ 7.1) การแสดงยอดในระบบบัญชี 3 มิติ แสดงของไม่ถูกต้อง 7.2) การบันทึกบัญชีดอกผลของเงินกองทุนพัฒนาคณะฯ ไม่ครบถ้วน 7.3) การจัดซื้อครุภัณฑ์จากเงินกองทุนพัฒนาคณะฯ 7.4) การขึ้นทะเบียนครุภัณฑ์ของกองทุนพัฒนาคณะฯ สำนักงานการตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การบันทึกบัญชี-กองทุนพัฒนาคณะฯ ขั้นตอนการจัดซื้อครุภัณฑ์จากเงินกองทุนพัฒนาคณะฯ เมื่อมีการนำเงินกองทุนพัฒนาส่วนงานจัดซื้อครุภัณฑ์ บันทึกบัญชีโดย Dr. ครุภัณฑ์ (กองทุนพัฒนาส่วนงาน) xx Cr. เงินฝากธนาคาร (กองทุนพัฒนาส่วนงาน) xx ขึ้นทะเบียนในระบบสินทรัพย์ถาวร *** กรณีที่ไม่มีชุดชนิดให้ขอชุดชนิดใหม่ ในกองทุนพัฒนาส่วนงาน รันค่าเสื่อมราคาประจำเดือน Dr. ค่าเสื่อมราคา (กองทุนพัฒนาส่วนงาน) xx Cr. ค่าเสื่อมราคาสะสม (กองทุนพัฒนาส่วนงาน) xx สำนักงานการตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การบัญชีและรายงานการเงิน ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการบริหารการเงิน พ.ศ.2551 หมวด 6 การบัญชีและรายงานเงิน ข้อ 36 ให้กองคลัง สำนักงานมหาวิทยาลัยและส่วนงานเป็นผู้รับผิดชอบจัดทำรายงานการเงิน โดยแสดงให้เห็นผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินตามหลักมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป เสนออธิการบดีทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป เมื่อสิ้นงวดรอบปีบัญชี ให้กองคลัง สำนักงานมหาวิทยาลัย จัดทำรายงานการเงินประจำปีเสนอต่ออธิการบดี ภายใน 45 วัน นับตั้งแต่วันปิดบัญชีประจำปีงบประมาณ สำนักงานการตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ประเด็นข้อตรวจพบ-การจัดทำรายงานการเงิน 1) การจัดส่งรายงานทางการเงินทางการเงิน ไม่เป็นไปตามข้อบังคับ ม.ช.ว่าด้วยการบริหารการเงินโดยให้ทุกส่วนงาน เสนออธิการบดีทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป 2) ตัวเงินในงบการเงินมียอดไม่ตรงกัน 3) ยอดคงเหลือตามบัญชี ไม่อยู่ในดุลบัญชีปกติ สำนักงานการตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การจัดทำรายงานการเงิน ขั้นตอนการตรวจสอบบัญชีก่อนจัดส่งรายงานการเงิน 1) ควรตรวจสอบบัญชีในงบทดลองแต่ละบัญชี โดยเริ่มที่บัญชีที่บันทึกน้อยรายการก่อน 2) ควรตรวจสอบบัญชีที่บันทึกคู่กันเพื่อง่ายในการหายอดแต่ละบัญชี เช่น บัญชีเงินรับฝากค่าประกันสัญญา,อื่นๆ คู่กับบัญชีเงินฝากธนาคารกองคลัง-เงินรับฝากงบประมาณรายได้, บัญชีลูกหนี้ทดรองหมุนเวียน/ใบสำคัญเงินทดรองหมุนเวียน/ธนาคารส่วนงาน(เงินทดรองจ่ายคณะฯ) คู่กับเจ้าหนี้เงินทดรองราชการ เป็นต้น 3) การตรวจสอบบัญชีแต่ละบัญชีหากดูยอดคงเหลือในงบทดลองแล้วไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องพิมพ์บัญชีแยกประเภทตรวจสอบแต่ละรายการ 4) ตรวจสอบยอดรวมในงบดุล ว่ารวมสินทรัพย์เทียบกับรวมหนี้สินและส่วนของทุน มีรวมตรงกันหรือไม่ สำนักงานการตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จบการนำเสนอ สำนักงานการตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่