โครงการประตูระบายน้ำห้วยลังกา บ้านท่าลาด ตำบลนาเข อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม สำนักงานก่อสร้าง 7 สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง
ความเป็นมาของโครงการ จังหวัดนครพนมเป็นจังหวัดที่มีฝนตกชุกทั้งนี้เพราะได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อนในทะเลจีนใต้และได้รับอิทธิพลจากป่าไม้และเทือกเขาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีประมาณ 2,000 มิลลิเมตร จากการที่มีฝนตกชุกนี้ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในเขตจังหวัดอยู่เป็นประจำทุกปีในฤดูฝนเนื่องจากปริมาณน้ำหลากมาก และอิทธิพลของแม่น้ำโขงเอ่อหนุน สำหรับในฤดูแล้งจะประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำทำการเกษตร อุปโภค – บริโภค พื้นที่ในเขตอำเภอบ้านแพงมักประสบปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝนและปัญหาขาดแคลนน้ำสำหรับทำการเกษตรในฤดูแล้งของทุกปี สำหรับปัญหาน้ำท่วมนั้นสาเหตุหลัก เนื่องมาจากไม่สามารถระบายน้ำฝนที่ตกลงในพื้นที่ลงสู่แม่น้ำโขงได้ในช่วงที่ระดับน้ำในแม่น้ำโขงหนุนสูง ปริมาณที่ไหลเข้าสู่พื้นที่ในเขตอำเภอบ้านแพง นั้น ส่วนหนึ่งเป็นน้ำฝนที่ตกลงมาในพื้นที่รับน้ำฝนของภูลังกา ซึ่งเป็นเทือกเขาที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของ อำเภอบ้านแพง การระบายน้ำออกจากพื้นที่
อำเภอบ้านแพงนั้น มีเส้นทางระบายน้ำอยู่ 2 เส้นทาง คือ เส้นทางแรกระบายน้ำลงสู่ห้วยลังกา ซึ่งเป็นลำห้วยที่มีต้นกำเนิดจากภูลังกา มีความยาวประมาณ 13 กิโลเมตร แล้วระบายลงสู่แม่น้ำโขง เส้นทางที่สองจะทำการระบายลงสู่หนองเครือเขา ซึ่งเป็นหนองน้ำขนาด ใหญ่มีประตูระบายน้ำเพื่อระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขงได้ในช่วงปกติที่ระดับน้ำในแม่น้ำโขงไม่หนุนขึ้นสูง ก็จะสามารถระบายน้ำฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ลงสู่แม่น้ำโขงผ่านเส้นทางระบายน้ำทั้งสองได้แต่ในช่วงที่น้ำในแม่น้ำโขงหนุนขึ้นสูงจะไม่สามารถระบายน้ำในพื้นที่ลงสู่แม่น้ำโขงได้ ทำให้เกิดภาระน้ำท่วมขึ้นในเขตอำเภอ
ดังนั้นแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตอำเภอบ้านแพง จึงอยู่ที่การหาวิธีระบายน้ำฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ช่วงระดับน้ำในแม่น้ำโขงหนุนสูงออกจากพื้นที่ลงสู่แม่น้ำโขงให้ได้ซึ่งสามารถทำได้โดยการขุดลอกหนองเครือเขาเพื่อเพิ่มความจุให้สามารถรองรับปริมาณน้ำได้มากขึ้นและทำการขุดทางระบายน้ำจากลำห้วยลังกา ลงสู่หนองเครือเขาพร้อมทั้งทำการปรับปรุงท่อลอดถนนที่ตัดผ่านทางระบายน้ำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และทำการขุดลอกทางระบายที่จะระบายน้ำจากหนองเครือเขาลงสู่แม่น้ำโขง เพื่อให้สามารถระบายน้ำจากห้วยลังกาลงสู่แม่น้ำโขงได้อย่างสะดวก นอกจากนั้นจะต้องทำการก่อสร้างประตูระบายน้ำบริเวณปากห้วยลังกาเพื่อป้องกันน้ำในแม่น้ำโขงไหลเอ่อเข้ามาในลำห้วย แล้วทำการติดตั้งเครื่องสูบน้ำบริเวณประตูระบายน้ำปากห้วยลังกา และบริเวณประตูระบายน้ำหนองเครือเขาเพื่อทำการสูบน้ำฝนที่ตกลงในพื้นที่ลงสู่แม่น้ำโขงในช่วงที่น้ำในแม่น้ำโขงหนุนสูง
2. วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เพาะปลูก บริเวณสองฝั่งลำห้วยลังกา 2. เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำในบริเวณโครงการ สำหรับช่วยเหลือราษฎรให้มีน้ำทำการเกษตรและการอุปโภค – บริโภค ในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งราษฎรประสบปัญหาขาดแคลนน้ำประจำทุกปี 3. พัฒนาด้านการเกษตรกรรม การจัดการเกษตรแบบผสมผสาน ระดมการสนับสนุนการพัฒนาจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งให้ราษฎรในโครงการได้มีบทบาทหรือมีส่วนร่วมด้วย 4. เพื่อสนับสนุนนโยบายการกระจายความเจริญไปสู่ชนบทให้เป็นไปอย่างทั่วถึง
3. ที่ตั้งโครงการ โครงการประตูระบายน้ำห้วยลังกา ตั้งอยู่ที่ พิกัด 48 QVE 205-799 ระวาง 5844 II ลำดับชุด 7017 L 1:50,000 ตำบลบ้านแพง อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม การคมนาคมเข้าบริเวณสถานที่ก่อสร้างเริ่มจากจังหวัดนครพนมไปตามทางหลวงสายนครพนม-หนองคาย ถึงแยกไปบ้านนาเข ระยะทางประมาณ 74 กม. จากทางแยกบ้านนาเขไปบ้านท่าลาดระยะทาง 5 กม. จากบ้านนาเขถึงจุดก่อสร้างระยะทางประมาณ 1 กม. สรุประยะทางจากจังหวัดนครพนมถึงจุดก่อสร้างประตูระบายน้ำห้วยลังการะยะทางรวม 80 กม.
ลักษณะของโครงการและพื้นที่ชลประทาน ประเภทโครงการ ประตูระบายน้ำ (รับน้ำ 2 ทาง) ส่วนลาดเทของลำน้ำ บริเวณหัวงาน 1:2,00 พื้นที่รับน้ำเหนือจุดที่ตั้งโครงการ 93.00 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี 2,668.4 มิลลิเมตร จำนวนวันที่ฝนตกเฉลี่ยทั้งปี 118.3 วัน อัตราการระเหย เฉลี่ยทั้งปี 1,015.92 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำไหลผ่านหัวงานเฉลี่ย 137,093,850 ลบ.ม./ปี ปริมาตรความจุที่ระดับเก็บกัก 6,000,000 ลบ.ม.
อาคารหัวงานและอาคารประกอบ ประตูระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กแบบบานตรง รับน้ำ 2 ทาง มีสันฝายแข็งสูง 2.50 เมตร บานระบายน้ำ กว้าง 7.00 เมตร สูง 6.50 เมตร จำนวน 3 บาน
ผลประโยชน์ของโครงการ เมื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการประตูระบายน้ำห้วยลังกาแล้วคาดว่าจะได้รับผลประโยชน์ ดังนี้ 5.1 เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรบริเวณสองฝั่งของลำน้ำ ได้อย่างเพียงพอตลอดปีฤดูฝนประมาณ 9,000 ไร่ ฤดูแล้ง ประมาณ 4,000 ไร่ 5.2 เป็นแหล่งน้ำดิบเพื่อการอุปโภค – บริโภค จำนวน 10 หมู่บ้าน ประมาณ 1,500 ครัวเรือน 5.3 เป็นแหล่งน้ำเพื่อการขยายพันธุ์ปลาน้ำจืด 5.4 บรรเทาปัญหาอุกทุกภัยที่เกิดจากน้ำในแม่น้ำโขงเอ่อหนุน
รายละเอียดแผนงานและงบประมาณ ค่าก่อสร้าง รวมทั้งสิ้น 215,000,000.00 บาท ระยะเวลาดำเนินการ 900 วัน ปี 2555 งบประมาณ 45,000,000.00 บาท ปี 2556 งบประมาณ 130,000.00 บาท ปี 2557 งบประมาณ 2,000,000.00 บาท ปี 2558 ผูกพันงบประมาณ 167,870,000.00 บาท
7. สถานภาพปัจจุบัน กรมชลประทานได้ทำสัญญาจ้างก่อสร้างประตูระบายน้ำห้วยลังกา บ้านท่าลาด ตำบลนาเข อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม กับห้างหุ้นส่วนจำกัด พินิจอุดรก่อสร้าง ตามสัญญาเลขที่กจ.1/2557 ลงวันที่ 8 มกราคม 2557 วงเงินค่าจ้าง 215,000,000.00 บาท (สองร้อยสิบห้าล้านบาทถ้วน) กำหนดส่งมอบ 900 วัน ปัจจุบันโครงการดังกล่าวได้ชะลอการสั่งเข้าทำงานเนื่องจากอยู่ระหว่างการตรวจสอบทรัพย์สินและเจรจาทำความตกลงซื้อขายกับราษฎรเจ้าของที่ดินที่ถูกเขตงานก่อสร้าง
8. ปัญหาอุปสรรค โครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำห้วยลังกา ยังไม่สามารถเข้าปฏิบัติงานได้ เนื่องจากราษฎรไม่รับราคาค่าทดแทนทรัพย์สินในที่ดินที่ถูกเขตงานก่อสร้าง เนื่องจากราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินในการจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2555-2558 ต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด มีราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจำนวน 21 ราย พื้นที่ประมาณ 20 ไร่ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการเจรจา คาดว่าจะใช้เวลาในการเจรจาแล้วเสร็จประมาณเดือน พฤษภาคม 2557 จึงจะสั่งผู้รับจ้างเข้าปฏิบัติงานต่อไป
จบการนำเสนอ