ประชาสัมพันธ์อำเภอจอมทอง
ประวัติอำเภอจอมทอง อำเภอจอมทอง มีประวัติความเป็นมาสืบเนื่องเกี่ยวกับตำนานวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร โดยในปี พ.ศ. 2443 ได้มีการจัดระเบียบการปกครองหัวเมืองขึ้นใหม่ ในช่วงที่นครเชียงใหม่ว่างเจ้าผู้ครองนครอันเนื่องจากการถึงแก่พิราลัยของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ในกลุ่มหัวเมืองย่อยทางใต้ของนครเชียงใหม่ ได้มีการจัดตั้งที่ว่าการอำเภอเพื่อเป็นศูนย์กลางปกครองขึ้น ณ บริเวณบ้านท่าศาลา ริมแม่น้ำปิงทางด้านทิศตะวันออกของอำเภอจอมทอง ซึ่งปัจจุบันคือบ้านท่าศาลา หมู่ที่ 3 ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง [3] โดยมีเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ (ยังไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนคร) เป็นผู้คุมการก่อสร้างด้วยตนเองและตั้งได้ชื่อตามชื่อวัดพระธาตุจอมทองว่า “อำเภอจอมทอง”
คำขวัญ "อินทนนท์สูงเด่น ร่มเย็นองค์พระธาตุ น้ำตกสวยสะอาด เชิดชูศาสน์แห่ไม้ค้ำโพธิ์" อินทนนท์สูงเด่น ดอยอินทนนท์เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดของประเทศไทย สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 2,565 เมตร ปัจจุบันเป็นสถานที่สำคัญของประเทศ มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ มาเที่ยวปีละหลายล้านคน เป็นสถานที่ที่งดงาม มีถ้ำ น้ำตก ภูเขา ที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว อาทิ เช่น น้ำตกแม่กลาง น้ำตกแม่ยะ น้ำตกสิริภูมิ น้ำตกวชิรธาร ถ้าบริจินดา ดอยหัวเสือ กิ่วแม่ปาน เป็นต้น
อาณาเขต อำเภอจอมทองมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอแม่วางและอำเภอดอยหล่อ ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเวียงหนองล่องและอำเภอบ้านโฮ่ง (จังหวัดลำพูน) ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอฮอด ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอแม่แจ่ม
ลักษณะทางภูมิประเทศ ลักษณะพื้นที่อำเภอจอมทอง ส่วนใหญ่เป็นที่ราบกว้าง ระหว่างริมฝั่งแม่น้ำปิง และน้ำแม่กลาง ซึ่งเป็นชุมชนหนาแน่นกระจายในพื้นที่ดังกล่าว พื้นที่หุบเขาเชิงเขาทางทิศตะวันตก ซึ่งใช้ประโยชน์ในการทำนา ทำสวน ทำไร่ ปลูกไม้ยืนต้น เช่น ลำไย สำหรับบริเวณภูเขาเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและที่อยู่อาศัย สภาพพื้นที่ พื้นที่สูงทางตอนกลาง ที่ราบลุ่มทางทิศเหนือ และพื้นที่ภูเขาทางทิศตะวันตกของอำเภ
การปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องที่อำเภอจอมทองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่ เทศบาลตำบลจอมทอง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านหลวง ตำบลข่วงเปา และตำบลดอยแก้ว เทศบาลตำบลบ้านหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านหลวง (นอกเขตเทศบาลตำบลจอมทอง) เทศบาลตำบลบ้านแปะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแปะทั้งตำบล เทศบาลตำบลดอยแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอยแก้ว (นอกเขตเทศบาลตำบลจอมทอง) เทศบาลตำบลสบเตี๊ยะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสบเตี๊ยะทั้งตำบล เทศบาลตำบลแม่สอย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สอยทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลข่วงเปา (นอกเขตเทศบาลตำบลจอมทอง)
สถานศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่ภาคพายัพ (จอมทอง) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย วิทยาเขตจอมทอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยาเขตจอมทอง (อยู่ในระหว่างการดำเนินการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเพื่อเปิดเป็นวิทยาเขต) วิทยาลัยการอาชีพจอมทอง โรงเรียนจอมทอง โรงเรียนชุมชนศรีจอมทอง โรงเรียนณัทชวิทย์ (โรงเรียนเอกชน) โรงเรียนสุทธิวงค์ดำรงวิทย์ (โรงเรียนเอกชน) โรงเรียนพุทธนิมิตรวิทยา (โรงเรียนนักธรรม เปิดสอนระดับ ม.1-ม.6) โรงเรียนอนุบาลสวนแก้ว (โรงเรียนเอกชน)
ธนาคาร ธนาคารออมสิน สาขาจอมทอง ,สาขาย่อย โรงเรียนจอมทอง ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาจอมทอง ธนาคารกสิกรไทย สาขาจอมทอง , สาขาย่อย อำเภอฮอด ธนาคารกรุงไทย สาขาจอมทอง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาจอมทอง , สาขาแม่สอย ธนาคารกรุงเทพ สาขาจอมทอง
ตลาดที่สำคัญ ตลาดสดเทศบาลตำบลจอมทอง กาดแลงหน้อย กาดเจ้าหน้อย ตลาดโชคเจริญ ตลาดแม่ดวงดีสามแยกขึ้นดอยอินทนนท์ ตลาดจำหน่ายดอกไม้ พืชผัก ผลไม้เมืองหนาว ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกของหมู่บ้านม้งขุนกลาง หลัก ก.ม.ที่ 31 ถ.จอมทอง - อินทนนท์
กาดนัด กาดอังคาร ตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอจอมทอง บริเวณศูนย์การค้าสมายเพลส จอมทอง กาดพุธ บ้านหนองอาบช้างและบ้านห้วยน้ำดิบ กาดผัด บ้านสบเตี๊ยะและบ้านสบแจ่มฝั่งซ้าย กาดศุกร์ หน้าที่ว่าการอำเภอจอมทองและบริเวณหน้าเทศบาลตำบลบ้านแปะ กาดเสาร์ บริเวณบ้านสบเตี๊ยะและบ้านดงหาดนาค และบริเวณศูนย์การค้าสมายเพลส จอมทอง
การคมนาคม อำเภอจอมทองตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ บนถนนสายเชียงใหม่-ฮอด ระยะทางห่างจากเชียงใหม่ 58 กิโลเมตร[7] เส้นทางเชื่อมต่ออำเภอจอมทอง ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 จากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านเขตอำเภอจอมทองไปจนสุดเขตที่สะพานท่าข้าม ระยะทาง 38 กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1009 จากสามแยกขึ้นดอยอินทนนท์ (จอมทอง) – แม่กลาง ระยะทาง 7.705 กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1009 0202 จากแม่กลาง – ดอยอินทนนท์ ระยะทาง 38.995 กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1010 จากท่าลี่ – ป่าซาง ระยะทาง 30 กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1085 จากขุนกลาง – ขุนวาง ระยะทาง 25 กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1088 จากด่านตรวจที่ 2 อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ – แม่แจ่ม ระยะทาง 19 กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1103 จากบุ้งฮวด (จอมทอง) – เวียงหนองล่อง ระยะทาง 5 กิโลเมตร
แหล่งท่องเทียวที่สำคัญ ศูนย์บริการข้อมูลนกอินทนนท์ (ร้านลุงแดง) ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 31 หน่วยจัดการต้นน้ำแม่กลาง ให้บริการด้านข้อมูลนกในดอยอินทนนท์ เช่น สมุดบันทึกการพบนกในดอยอินทนนท์ ภาพวาดลายเส้นของนักดูนกท่านต่างๆแผนที่เส้นทางดูนกดอยอินทนนท์ ภาพถ่าย สไลด์เกี่ยวกับนก ฯลฯ ให้บริการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ กิ่วแม่ปาน เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนดอยอินทนนท์ ทางเข้าอยู่กิโลเมตรที่ 42 ด้านซ้ายมือ ระยะทางเดิน 3 กิโลเมตร ระหว่างทางเดินจะพบป่าดิบเขา (Hill Evergreen) ก่อนผ่านเข้าสู่ทุ่งหญ้าซึ่งเคยเป็นพื้นที่ป่าถูกทำลาย เพื่อเป็นการศึกษาลักษณะการเกิดผลกระทบต่อเนื่องบริเวณรอยต่อระหว่างพื้นที่ป่า สมบูรณ์กับพื้นที่ถูกทำลาย (edge effect) หลังจากนั้นทางเดินจะเลาะริมผา มีไอหมอกปลิวผ่านตลอดเวลา สองข้างจะพบดอกกุหลาบพันปี หรือ Rhododendron (ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ขึ้นตามป่าในระดับสูง มีพันธุ์ดอกสีขาวและสีแดง เวลาออกดอกช่วงแรกมีลักษณะเหมือนปลีกล้วย ก่อนที่จะบานเต็มต้นในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ พบมากในแถบเทือกเขาหิมาลัยและเป็นไม้ประจำชาติของเนปาลด้วย) มองลงไปยังเบื้องล่างจะพบทัศนียภาพที่งดงามของอำเภอแม่แจ่ม
เนื่อหา 1 ประวัติ 2 คำขวัญ 3 ที่ตั้งและอาณาเขต 4 ลักษณะทางภูมิประเทศ 1 ประวัติ 2 คำขวัญ 3 ที่ตั้งและอาณาเขต 4 ลักษณะทางภูมิประเทศ 5 ลักษณะภูมิอากาศ 6 การแบ่งเขตการปกครอง 6.1 การปกครองส่วนภูมิภาค 6.2 การปกครองส่วนท้องถิ่น 7 สถานศึกษา 8 ธนาคาร 9 ตลาดที่สำคัญ 10 การคมนาคม 11 แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ 12 ฤดูกาลท่องเที่ยว 13 อ้างอิ
ทางหลวงชบบท ทางหลวงชนบททางหลวงชนบท บ้านหนองล่อง – ท่าศาลา ทางหลวงชนบท บ้านทุ่งปูน – ท่ามณี ทางหลวงชนบท แยกทางหมายเลข 1009 – บ้านเมืองกลาง ทางหลวงชนบท บ้านแท่นดอกไม้ – บ้านดงหาดนาค ทางหลวงชนบท บ้านสบเตี๊ยะ - บ้านแพะดินแดง ทางหลวงชนบท บ้านวังน้ำหยาด - บ้านแม่สอย ทางหลวงชนบท บ้านสบแปะ - ถ้ำตอง ทางหลวงชนบท บ้านทุ่งปูน-บ้านแม่เตี๊ยะ ทางหลวงชนบท บ้านแม่สอย-บ้านสบแจ่มฝั่งซ้าย ทางหลวงชนบท บ้านแม่กลางบ้านลุ่ม-ดอยแก้ว
จบการนำสเอน จัดทำโดย ด.ญ.เจนจิรา กระจ่างโชคสุข