การพัฒนาความสามารถในการจำศัพท์และการเขียน ภาษาอังกฤษโดยการใช้กิจกรรมผังความสัมพันธ์ทาง ความหมาย สำหรับนักศึกษาระดับชั้น ปวส. 1 นายสุชาติ กองกูล วิทยาลัยเทคโนโลยี โปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่
ปัญหาการวัจัย นักศึกษาระดับชั้น ปวส ปัญหาการวัจัย นักศึกษาระดับชั้น ปวส. 1 มีปัญหาเกี่ยวกับคำศัพท์ และการเขียนภาษาอังกฤษพบว่านักศึกษาได้คะแนะเฉลี่ยจากการทดสอบที่เกี่ยวกับคำศัพท์และการเขียนภาษาอังกฤษ 2.60 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
การพัฒนาความสามารถเกี่ยวกับศัพท์ภาษาอังกฤษ เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการที่ผู้เรียนสามารถสะกดคำศัพท์ บอกความหมาย และออกเสียงคำศัพท์เหล่านั้นได้ถูกต้อง จะช่วยให้ผู้เรียนเพิ่มพูนความสามารถพื้นฐานทางภาษาอังกฤษของตนให้ดียิ่งขึ้นได้ และสามารถนำคำศัพท์นั้นๆไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการจำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักศึกษาก่อนและหลังเรียนโดยการใช้กิจกรรมผังความสัมพันธ์ทางความหมาย 2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาก่อนและหลังเรียนโดยการใช้กิจกรรมผังความสัมพันธ์ทางความหมาย
กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรอิสระ กลุ่มตัวอย่าง กิจกรรมผังความสัมพันธ์ทาง ความหมายสำหรับนักศึกษา นักศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (คธ. 4101-4501) จำนวน 38 คน ตัวแปรตาม การสอนการเขียนภาษาอังกฤษ ความสามารถในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
กิจกรรมผังความสัมพันธ์ของความหมาย (Semantic Map) แนวทางการจัดการเรียนรู้ 1. เขียนคำศัพท์ที่เป็นหัวใจของเรื่องบนกระดานดำ หรือในกระดาษแล้ววาดกรอบสี่เหลี่ยมหรือวงกลมล้อมรอบคำนั้น 2. นักศึกษาทั้งชั้นระดมความคิดหาคำที่สัมพันธ์กับคำที่เป็นหัวใจของเรื่องนั้นแล้วจดบันทึก 3. จัดคำศัพท์ให้เป็นหมวดหมู่ แล้วเขียนออกมาในรูปแผนภูมิ 4. ให้นักศึกษาหาคำศัพท์ใหม่เติมลงไปในแผนผังให้สมบูรณ์ 5. พัฒนาแผนผังให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดยขยายคำศัพท์จากวลีเป็นประโยค 6. เขียนผังความสัมพันธ์ของความหมายที่ได้ไปเขียนเป็นเรื่องที่สมบูรณ์ (Johnson et. al. 1990 : 778 – 783)
การดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มทดลอง Pre – test {p1} X Post – test {p2} P1 หมายถึง การทดสอบก่อนเรียนโดยวัดความสามารถ ในการจำศัพท์และเขียนภาษาอังกฤษก่อนการทดลอง X หมายถึง การสอนโดยการใช้กิจกรรมผังความสัมพันธ์ทาง ความหมาย (Semantic Mapping) P2 หมายถึง การทดสอบหลังเรียน โดยวัดความสามารถในการจำ ศัพท์และเขียนภาษาอังกฤษหลังการทดลอง
สรุปผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความสามารถในการจำศัพท์ภาษาอังกฤษ จำนวนนักศึกษา คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน ก่อนทำการเรียนการสอน 38 30 23 4.39 หลังการทำการเรียนการสอน 24.52 3.46
สรุปผลการศึกษา จำนวนนักศึกษา คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ จำนวนนักศึกษา คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน ก่อนทำการเรียนการสอน 38 20 14.36 1.71 หลังการทำการเรียนการสอน 15.50 1.57
ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาวิจัย นักศึกษาที่เรียนรู้ด้วยวิธีการใช้กิจกรรมผังความสัมพันธ์ของความหมาย เป็นกลวิธีการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการระดมความคิดทบทวนความรู้เดิมและประสบการณ์เดิมด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่อยู่ในหมวดเดียวกัน ตามหน้าที่และความหมายของคำศัพท์ กิจกรรมนี้ก่อให้เกิดการเรียนรู้คำศัพท์อย่างมีความหมายและจัดสรรข้อมูลที่เป็นระบบ ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาความสามารถด้านคำศัพท์และการเขียนภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น