บทบาท อสม.เชิงรุก ๑. เป็นผู้นำทางความคิดและผู้นำทางด้านสุขภาพในระดับชุมชน ในการลดโรค ๕ โรคสำคัญที่เป็นสาเหตุการตายลำดับต้นๆของประชาชน คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์อัมพาต และมะเร็ง และปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ , การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค , การฟื้นฟูสภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค
บทบาท อสม.เชิงรุก ๒. ปรับพฤติกรรมสุขภาพ โดยทำตนเป็นแบบอย่างและสร้างพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนชุมชนและชักชวนเพื่อนบ้านเข้าร่วมกิจกรรม เช่น รณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดหวาน มัน เค็ม , เพิ่มผักผลไม้ , ออกกำลังกาย วันละ ๓๐ นาที สัปดาห์ละ ๓ วัน , งดเว้นอบายมุข เหล้า บุหรี่ , ทำจิตใจ ให้แจ่มใส ไม่เครียด เป็นต้น
บทบาท อสม.เชิงรุก ๓. อสม.ฑูตไอโอดีน โดยการติดตามหญิงมีครรภ์ในชุมชนเพื่อให้ได้รับไอโอดีนชนิดเม็ด , ตรวจสอบเกลือและเครื่องปรุงที่เติมสารไอโอดีน ๔. ร่วมเป็นคณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และขับเคลื่อนการพัฒนา รพ.สต. โดยเน้นการจัดทำแผนชุมชน/แผนสุขภาพตำบล โดยใช้เครื่องมือแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์
บทบาท อสม.เชิงรุก ๕. ขับเคลื่อนโครงการตามแผนสุขภาพตำบล โดยเน้นให้มีการทำงานกับภาคีเครือข่ายจากทุกภาคส่วน และร่วมบูรณาการทุกแผนในชุมชนให้เป็นแผนสุขภาพตำบล ๖. สนับสนุนให้นำงบประมาณจากกองทุนสุขภาพตำบล มาใช้ในการสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนสุขภาพตำบล
บทบาท อสม.เชิงรุก ๗. สรุปผลการดำเนินงาน อสม.เชิงรุก (รายงานการปฏิบัติงานของ อสม.) และร่วมกับ รพ.สต. ในการจัดการความรู้ ผ่านเรื่องเล่า การทำงาน อสม.เชิงรุก ในแต่ละเดือน ๘. ร่วมกับ รพ.สต. พัฒนาศักยภาพของสมาชิกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในโรงเรียน อสม. โดยการอบรมฟื้นฟู อสม.
บทบาท อสม.เชิงรุก ๙. สนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบล ให้เป็นกองทุนต้นแบบ เป็นศูนย์เรียนรู้ โดยการพัฒนาและจัดกระบวนการเรียนรู้โรงเรียนนวัตกรรมสุขภาพชุมชน เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
“หัวใจสี่ดวง...หลอมรวมเป็นหนึ่ง”