มีอำนาจหน้าที่ตามกฎกระทรวง 1. กำหนดเป้าหมายขอบเขตและแนวทางการตรวจสอบภายใน จัดทำแผนตรวจสอบ ประจำปีและแผนตรวจสอบระยะยาว เพื่อสนับสนุนการบริหารและดำเนินงานของ ส่วนราชการ โดยให้สอดคล้องกับนโยบายของส่วนราชการและข้อเสนอแนะหรือ ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ รวมถึงระบบ งบประมาณของทางราชการ โดยคำนึงถึงความเพียงพอและความมีประสิทธิภาพของ กิจกรรมการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของส่วนราชการ 2. ตรวจสอบและประเมินผลความถูกต้องและเชื่อถือได้ของข้อมูลและตัวเลขต่าง ๆ ทางการเงิน บัญชี และรายงานทางการเงิน (Financial Auditing) ประเมินผลการคลังใน ภาพรวมของส่วนราชการ 3. ตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ของส่วนราชการ ให้เป็นไปตาม นโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง (Compliance Auditing) 4. ตรวจสอบและประเมินผลประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความคุ้มค่า (Performance Auditing) 5. ประเมินผลระบบบริหารความเสี่ยงและระบบการควบคุมภายในของหน่วยรับตรวจ ตามขอบเขตการตรวจสอบที่กำหนด 6. รายงานผลการตรวจสอบและติดตามผลการตรวจสอบ เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่ ผู้บริหารงานของหน่วยรับตรวจ หน่วยตรวจสอบภายใน
แผนที่กลยุทธ์ หน่วยตรวจสอบภายใน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ตามยุทธศาสตร์ ประสิทธิผล ประสิทธิภาพของการตรวจสอบและประเมินผลมีความถูกต้องตามมาตรฐาน การให้บริการ คุณภาพ การให้คำปรึกษา แนะนำ และแก้ปัญหา ปฏิบัติได้ตามมาตรการ ลดการใช้พลังงานของส่วนราชการ ติดตามและจัดทำระบบบริหารความเสี่ยง ควบคุมคุณภาพการตรวจสอบ ประสิทธิภาพของ การปฏิบัติราชการ พัฒนาขีดสมรรถนะบุคลากร การพัฒนา องค์กร
เป้าประสงค์และตัวชี้วัด หน่วยตรวจสอบภายใน เป้าหมาย น้ำหนัก (ร้อยละ) ประสิทธิภาพของการตรวจสอบและประเมินผลมีความถูกต้องตามมาตรฐาน ความสำเร็จในการดำเนินการตามแผนการตรวจสอบประจำปี 45 ครั้ง 20 การให้คำปรึกษา แนะนำ และแก้ปัญหา จำนวนข้อเสนอแนะที่นำไปปฏิบัติและเข้า Web site ร้อยละ 90 15 ควบคุมคุณภาพในการตรวจสอบ จำนวนครั้งในการจัดประชุมผู้ตรวจสอบฯ เพื่อสรุปประเด็นปัญหาและอุปสรรคในการตรวจสอบข้อตรวจพบและแนวทางแก้ไข ปีละ 5 ครั้ง พัฒนาขีดสมรรถนะบุคลากร ร้อยละของบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรม เพื่อเพิ่มทักษะในการปฏิบัติ ร้อยละ 80
เป้าประสงค์และตัวชี้วัด หน่วยตรวจสอบภายใน เป้าหมาย น้ำหนัก (ร้อยละ) ปฏิบัติให้ลดการใช้พลังงานตามมาตรการประหยัดพลังงานส่วนราชการ ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายในการลดการใช้พลังงาน 15 1) ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการประหยัดพลังงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ระดับ 5 2) ร้อยละของเครื่องปรับอากาศที่ได้ทำ ความสะอาดประจำปี (2 ครั้ง/ปี) ร้อยละ 100 3) ใช้หลอดไฟฟ้าแสงสว่างแบบประหยัดพลังงาน
เป้าประสงค์และตัวชี้วัด หน่วยตรวจสอบภายใน เป้าหมาย น้ำหนัก (ร้อยละ) ติดตามและจัดทำระบบบริหารความเสี่ยง ระดับความสำเร็จของการจัดทำระบบบริหารความเสี่ยง 5 ขั้นตอน 20