งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)

2 คำรับรองการปฏิบัติราชการและการติดตามประเมินผล ปีงบประมาณ 2550
มิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์กร กำหนดให้ “การบริหารความเสี่ยง” เป็นตัวชี้วัดที่ ๑๗ ในการบริหารจัดการองค์กรเพื่อส่งเสริม และผลักดันให้มีการบริหารความเสี่ยงที่ดี ก.พ.ร. กำหนดระดับพัฒนาการของการบริหารความเสี่ยงเป็น 5 ระดับ

3 ระดับขั้นของความสำเร็จ (Milestone)
ระดับคะแนน 1 มีคณะกรรมการหรือคณะทำงานบริหารความเสี่ยงของส่วนราชการ ระดับคะแนน 2 ระบุปัจจัยเสี่ยงและวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง ระดับคะแนน 3 จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงของส่วนราชการประจำปีงบประมาณ 2550 ได้แล้วเสร็จส่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. ภายในวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๐ ระดับคะแนน 4 ดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงของส่วนราชการ ได้แล้วเสร็จครบถ้วน ระดับคะแนน 5 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงปีงบประมาณ 2550 พร้อมกำหนดแนวทาง/ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแผนบริหารความเสี่ยง ในปีต่อไป

4 คำจำกัดความของความเสี่ยง (risk)
ความเสี่ยง หมายถึง คือเหตุการณ์/การกระทำใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอนและจะส่งผล กระทบหรือสร้างความเสียหาย (ทั้งที่เป็นตัวเงิน และไม่เป็นตัวเงิน) หรือก่อให้เกิดความ ล้มเหลวหรือลดโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมาย ตามภารกิจหลักตามกฎหมายจัดตั้งส่วน ราชการ และเป้าหมายตามแผนปฏิบัติ ราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๐ ของส่วนราชการ

5 ลักษณะของความเสี่ยง (risk)
ความเสี่ยง นั้นสามารถแยกมองเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 1. ปัจจัยเสี่ยง คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดความเสี่ยง 2. เหตุการณ์เสี่ยง คือ เหตุการณ์ที่ส่งผล กระทบต่อการดำเนินงาน หรือ นโยบาย 3. ผลกระทบของความเสี่ยง คือ ความรุนแรงของ ความเสียหายที่น่าจะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์เสี่ยง

6 ระบบบริหารความเสี่ยง
ระบบบริหารความเสี่ยง หมายถึง ระบบบริหารปัจจัยและควบคุมกิจกรรมรวมทั้งกระบวนการดำเนินการต่าง ๆ โดยลดมูลเหตุของแต่ละโอกาสที่จะทำให้เกิดความเสียหาย เพื่อให้ระดับความเสี่ยงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่ในระดับที่สามารถยอมรับได้ ประเมินได้ ควบคุมได้ และตรวจสอบได้อย่างมีระบบ โดยคำนึงถึงการบรรลุเป้าหมายตามภารกิจหลักตามกฎหมายจัดตั้งส่วนราชการ และเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ของส่วนราชการเป็นสำคัญ

7 สรุปขั้นตอนแนวทางการบริหารความเสี่ยง กรม ปภ.
ขั้นตอนที่ 1 กรมได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและ คณะทำงานบริหารความเสี่ยงแล้วตามคำสั่งกรมฯ ดังนี้ 657/2549 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2549 679/2549 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2549 001/2550 ลงวันที่ 3 มกราคม 2550 068/2550 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550

8 สรุปขั้นตอนแนวทางการบริหารความเสี่ยง กรม ปภ.
ขั้นตอนที่ คณะทำงานฯ ได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมให้ความรู้และสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Work Shop) ดังนี้ - ประชุมครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 20 มกราคม ประชุมคณะทำงานและเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ - ประชุมครั้งที่ 2/2550 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ประชุมเชิงปฏิบัติการ ระบุปัจจัยเสี่ยง วิเคราะห์ ประเมิน ความเสี่ยงของหน่วยงาน - ประชุมครั้งที่ 3/2550 เมื่อวันที่ 20 เมษายน ประชุม พิจารณาจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงในภาพรวมของกรมฯ แล้วเสร็จได้ 13 โครงการ

9 สรุปขั้นตอนแนวทางการบริหารความเสี่ยง กรม ปภ.
ขั้นตอนที่ คณะทำงานฯ ได้ดำเนินการ จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงในภาพรวมของกรมฯ ได้แล้วเสร็จส่งสำนักงาน ก.พ.ร. จัดทำคู่มือการบริหารความเสี่ยงเพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ แจ้งให้หน่วยงานในสังกัดได้ทราบและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามแผนของกรม ปภ. ให้แล้วเสร็จตาม ขั้นตอนที่ 4 เพื่อรายงานและสรุปผลการดำเนินงานพร้อมข้อปรับปรุงแผนในปีต่อไปตาม ขั้นตอนที่ 5 ที่สำนักงาน ก.พ.ร.กำหนดเกณฑ์การประเมินผล


ดาวน์โหลด ppt การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google