ของส่วนราชการและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. (ร่าง) ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ของส่วนราชการและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 1 กย. 2557
ค่าใช้จ่าย รพ. (Hos. Expenditure) ค่าแรง Labor Cost 50 % ค่า Material Cost 35-40 % ยา วัสดุ Lab วัสดุทันตกรรม วัสดุ X-Ray วัสดุการแพทย์ วัสดุสำนักงาน ค่าจ้างเหมา 5-20 % ค่าสาธารณูปโภค 5-8 %
ตัวอย่าง เรื่องยา มูลค่า ประมาณ 2.5 แสนล้าน ถึง 3 แสนล้าน มูลค่า ประมาณ 2.5 แสนล้าน ถึง 3 แสนล้าน 75 % จาก Original (PREMA) 36 บริษัท 25 % จาก General (TPMA) 140-150 บริษัท
ETHICS (จริยธรรม) ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ สภาวิชาชีพ เฉพาะเรื่อง (ส่งเสริมการขาย) เจ้าหน้าที่พัสดุ
กลไกขับเคลื่อน 1. นโยบาย - ธรรมาภิบาล - เพิ่มประสิทธิภาพ 1. นโยบาย - ธรรมาภิบาล - เพิ่มประสิทธิภาพ 2. ข้อมูล - Compare เขต/จว./ประเภท และขนาดสถานบริการ - Benchmark 3. CQI - แต่ละด้าน (ยา Lab ฯลฯ) - ธรรมาภิบาล - วัฒนธรรมองค์กร - ประสิทธิภาพ ค่ายา ค่า Lab/1 RW
กลไกขับเคลื่อน 4. คุณภาพ รพ. การติดตาม - การนำนโยบาย - การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ - การเรียนรู้ พัฒนาตนเอง 5. ประเมินผล - ประจำงวด - ประจำปี - สัมพันธ์การส่งเสริมการขาย 6. บังคับใช้ - ให้รางวัล เชิดชูเกียรติ - การลงโทษ ผู้ละเมิด - การติดดาวผู้บริหาร
ระเบียบ ว่าด้วยการบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา (ระเบียบแม่) ประกาศ (ลูก) แนวทางบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา โดยคณะกรรมการฯ แนวทางจัดทำแผนจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา
ความคาดหวัง กำหนดกระบวนการที่ควรดำเนินการก่อนการจัดซื้อจัดหายาตามระเบียบพัสดุฯ การดำเนินการที่เป็นระบบโปร่งใส ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการควบคุมกำกับ มีการบริหารจัดการร่วมกันระดับจังหวัดและเขต เพิ่มประสิทธิภาพของระบบ
ข้อ 4 คำนิยาม “ส่วนราชการ” หมายความว่า กรมหรือส่วนราชการที่เรียกซื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ข้อ 1 ชื่อระเบียบ ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิก ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา พ.ศ. 2543 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546
ข้อ 4 คำนิยาม “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยบริการและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งดำเนินการอันเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ การฟื้นฟูสมรรถภาพ การรักษาพยาบาล การควบคุม ป้องกันและกำจัดโรค การศึกษา การค้นคว้าวิจัยต่าง ๆ ตลอดจนการชันสูตรและวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านใดด้านหนึ่งหรือมากกว่า และให้หมายรวมถึงหน่วยงานระดับกองหรือเทียบเท่าขึ้นไปในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีการดำเนินการในการจัดหาหรือควบคุมการใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา
ข้อ 4 คำนิยาม “กลุ่มของหน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยบริการและหน่วยงาน ที่รวมกลุ่มกันเพื่อดำเนินการตามระเบียบนี้ตามที่หัวหน้าส่วนราชการมอบหมาย “ยา” หมายความว่า ยาตามกฎหมายว่าด้วยยา ยาเสพติดให้โทษตามกฎหมาย ว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ และวัตถุออกฤทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
ข้อ 4 คำนิยาม “เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา” หมายความว่าวัสดุการแพทย์ วัสดุทันตกรรม วัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ วัสดุเอกซเรย์ วัสดุอื่น ๆ ที่ใช้ในทางการแพทย์ และให้หมายความรวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้กับผู้ป่วยเฉพาะราย
ข้อ 5 การบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ให้ดำเนินการโดยคณะกรรมการระดับหน่วยงาน ส่วนราชการ หรือดำเนินการโดยคณะกรรมการร่วมระดับอำเภอ ระดับจังหวัด ระดับเขต หรือกลุ่มของหน่วยงานของส่วนราชการ แล้วแต่กรณีโดยคณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะทำงานย่อยตามประเภทของยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาตามความเหมาะสม
การบริหารจัดการโดยคณะกรรมการของหน่วยงาน ให้ดำเนินการตั้งแต่ระดับโรงพยาบาลชุมชนหรือระดับกองขึ้นไป ทั้งนี้การบริหารจัดการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้ดำเนินการโดยคณะกรรมการร่วมตามวรรคหนึ่ง ในระดับอำเภอหรือจังหวัด คณะกรรมการและคณะกรรมการร่วมให้เป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด ให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็น ผู้รวบรวมรายงาน วิเคราะห์ กำกับ และประเมินผลการปฏิบัติตามระเบียบนี้
หน่วยงาน ยา เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา รพศ./ รพ.ชุมชน ระดับรพ. / จังหวัด รพ.สต เป้าหมายข้อ 5 การบริหารจัดการ โดยคณะกรรมการ หน่วยงาน ยา เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา รพศ./ รพ.ชุมชน PTC รพ PTCจังหวัด คณะกรรมการเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา หรือ แบ่งกรรมการตามประเภทเวชภัณฑ์ เป็น วัสดุวิทยาศาสตร์ วัสดุทันตกรรม วัสดุการแพทย์ ระดับรพ. / จังหวัด รพ.สต คณะกรรมการร่วมระดับอำเภอ หรือจังหวัด
องค์ประกอบคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ประธาน ผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการหรือ ผู้ที่ผู้อำนวยการมอบหมาย กรรมการ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งผู้สั่งใช้ ผู้ใช้ และผู้รับผิดชอบการจัดซื้อจัดหา หน่วยงาน กรรมการและเลขานุการ ผู้รับผิดชอบยาหรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยานั้น ๆ
หน้าที่คณะกรรมการ กำหนดนโยบาย : กำหนดความต้องการ การจัดซื้อจัดหา การความคุมเก็บรักษา การเบิกจ่าย การใช้ และรวมถึงมาตรการด้านความปลอดภัย จัดทำกรอบบัญชีรายการยาและเวชภัณฑ์ฯ ควบคุมกำกับ การดำเนินการตามนโยบายและแผน สรุปรายงานผลการควบคุมกำกับ และวิเคราะห์ความเสี่ยงให้ผู้บังคับบัญชา
ข้อพิจารณาการดำเนินการ การแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ในระดับรพ/จังหวัด(รวม or แยกกลุ่มเวชภัณฑ์ ?) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระดับจังหวัดและระดับอำเภอ
ข้อ 6 การจัดทำบัญชีรายการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของหน่วยงานสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในส่วนภูมิภาค ให้คณะกรรมการตามข้อ 5 เป็นผู้จัดทำให้สอดคล้องกับกรอบบัญชีรายการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาตามวรรคสอง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของหน่วยงานหรือส่วนราชการ ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จให้ส่งบัญชีรายการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอนุมัติ
ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการจัดให้มีกรอบบัญชีรายการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาในจังหวัดที่มีความสอดคล้อง ลดหลั่นตามศักยภาพและระดับของหน่วยงาน รวมถึงกำหนดกรอบบัญชีรายการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาที่จะมีการใช้ร่วมกันในหน่วยงานทุกระดับในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดนั้น ๆ เพื่อให้การใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาเป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน และเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการและการรับส่งต่อผู้ป่วย การจัดทำบัญชีรายการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของหน่วยงานสังกัดส่วนราชการให้เป็นไปตามที่หัวหน้าส่วนราชการกำหนด
เป้าหมายข้อ 6 การจัดทำกรอบ บัญชียา&เวชภัณฑ์ ที่ใช้ร่วมกันในทุกระดับ รพศ. รพช. M รพช. F รพ.สต. นโยบาย “ ได้พบหมอ รอไม่นาน อยู่ใกล้ไกลได้ยาเดียวกัน”
ข้อ 7 การจัดทำแผนการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาประจำปี ให้หน่วยงานจัดทำและนำเสนอคณะกรรมการตามข้อ 5 หัวหน้าหน่วยงานเพื่อให้ความเห็นชอบและเสนอ หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการมอบหมาย พิจารณาอนุมัติตามลำดับ จากนั้นให้ดำเนินการให้เป็นไป ตามแผน สำหรับหน่วยงานสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในส่วนภูมิภาคให้เสนอแผนการจัดซื้อฯ ต่อนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตามที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขมอบหมายเพื่อพิจารณาอนุมัติ
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเสนอขอปรับแผนจัดซื้อฯ ให้เสนอผู้มีอำนาจตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง(นพ.สสจ.)พิจารณาให้ความเห็นชอบและอนุมัติการปรับแผน แนวทางในการจัดทำแผนและปรับแผนการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาให้เป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
เป้าหมายข้อ 7 การจัดทำแผนจัดซื้อยา&เวชภัณฑ์ ให้ทุกรพ. จัดทำแผนการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาประจำปี (รายละเอียดตามประกาศกระทรวงฯ) โดยกลุ่มงานที่รับผิดชอบยาและเวชภัณฑ์นั้นๆ เป็นผู้รับผิดชอบจัดทำแผน นำเสนอคณะกรรมการตามข้อ 5 และนำเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น
เป้าหมายข้อ 7 การจัดทำแผนจัดซื้อยา&เวชภัณฑ์ ส่วนภูมิภาคให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้อนุมัติแผนและการปรับแผนเมื่อ ต้องการใช้ยา/เวชภัณฑ์ฯนอกแผน อัตราการใช้สูง>แผน, วงเงินเดิมไม่พอ
ข้อพิจารณาการดำเนินการ รพ.จัดทำแผนจัดซื้อยา/เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาปี 2558 ตามร่างประกาศแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน เสนอนพ.สสจ.อนุมัติ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด กำหนดรายละเอียดขั้นตอน ช่วงเวลาการเสนอขออนุมัติแผน ช่วงเวลา/ความถี่ในการขอปรับแผน เกณฑ์/เงื่อนไขมอบหน.หน่วยงานอนุมัติปรับแผนได้ เพื่อไม่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการ แล้วแจ้งสสจ.ทราบ มิชักช้า
องค์ประกอบของแผน (1) รายการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา (2) ประมาณการจัดซื้อประจำปี (3) ประเภทเงินที่จะจัดซื้อ (4) งวดในการจัดซื้อ
รูปแบบแผน
รวบรวมข้อมูลการใช้ย้อนหลัง 3 ปี ประมาณการการใช้ในช่วงปีงบประมาณต่อไป ข้อมูลปริมาณคงเหลือยกมาในปีนี้ กำหนดปริมาณที่จะจัดซื้อ ข้อมูลราคาต่อหน่วย (ราคากลาง ราคาอ้างอิง ราคาจัดซื้อที่ผ่านมา 2 ปี ฯลฯ) ประมาณการ/กำหนดวงเงินการจัดซื้อ
การจัดทำแผนและการกำหนดวงเงินการจัดซื้อให้กำหนด เป็นรายไตรมาส ดังนี้ ไตรมาสที่ 1 จัดซื้อในเดือน ตุลาคม - ธันวาคม ไตรมาสที่ 2 จัดซื้อในเดือน มกราคม – มีนาคม ไตรมาสที่ 3 จัดซื้อในเดือน เมษายน – มิถุนายน ไตรมาสที่ 4 จัดซื้อในเดือน กรกฎาคม – กันยายน สิ้นปี สรุปผลการจัดซื้อ (จำนวน / มูลค่า)
ดำเนินการจัดซื้อตามที่กำหนดในแผน สรุปผลและควบคุมกำกับ รายไตรมาส ประเมินผลการดำเนินการตามแผน ในเดือนตุลาคม
ข้อ 8 หน่วยงานสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในส่วนภูมิภาคที่ตั้งอยู่ในจังหวัดหรือตั้งอยู่ในเขตเดียวกัน สามารถดำเนินการจัดหายาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาซึ่งมีมูลค่าสูงหรือมีปริมาณการใช้มากร่วมกันในระดับจังหวัดหรือเขตเดียวกันได้ตามความจำเป็นและตามความเหมาะสม หน่วยงานสังกัดส่วนราชการเดียวกัน อาจดำเนินการจัดหายา ร่วมกันในกลุ่มของหน่วยงาน หรือส่วนราชการ หรือดำเนินการร่วมกับจังหวัดหรือเขต ในพื้นที่เดียวกัน ตามความจำเป็นและตามความเหมาะสม
สำหรับแผนบริหารจัดการร่วมของยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาในระดับจังหวัด ระดับเขต ระดับกลุ่มของหน่วยงาน ระดับส่วนราชการ ทั้งในเรื่องแผนการจัดซื้อร่วม ต่อรองราคาร่วม แผนการสำรองร่วม แผนการจัดการคลังร่วม เป็นต้น ให้ได้รับการอนุมัติจากนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้ตรวจราชการกระทรวงประจำเขต หรือหัวหน้าส่วนราชการ หรือผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการมอบหมาย แล้วแต่กรณี หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจัดหา แผนการจัดซื้อร่วม ต่อรองราคาร่วม แผนการสำรองร่วม แผนการจัดการคลังร่วม เป็นต้น ให้เป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
เป้าหมายข้อ 8 การจัดการร่วมระดับจังหวัดและเขต หลักการคือ ยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาที ใช้ร่วมกัน และมูลค่าสูง ให้ดำเนินการจัดซื้อร่วมกันในระดับจังหวัดหรือระดับเขต ยา มติคณะรัฐมนตรี 13 มีค 50 ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบพัสดุฯ สามารถดำเนินการซื้อร่วมระดับเขต ใช้สัญญาจะซื้อจะขายฯ มอบอำนาจรพ.ออกใบสั่งซื้อเองตามความต้องให้การ เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาที กสธ. กำลังขอยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบพัสดุฯ เหมือนยา หากยกเว้นแล้วจะแจ้งให้ทราบ
ข้อพิจารณาการดำเนินการ กำหนดรายการยา/เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา มูลค่าสูง เพื่อทำแผนจัดซื้อร่วมระดับจังหวัด กำหนดรายการ ต่อรองร่วมกันระดับจังหวัด แผนการ สำรองร่วม แผนการจัดการคลังร่วม
ข้อ 9 ในกรณีที่กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการจัดทำคุณลักษณะเฉพาะของยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยากรณีจำเป็นบางรายการ และแจ้งเวียนให้ทราบให้ส่วนราชการและหน่วยงานต่าง ๆ นำคุณลักษณะเฉพาะดังกล่าวไปใช้เป็นแนวทางในการจัดซื้อต่อไป เป้าหมาย ไม่ให้ล็อก spec
ข้อ 10 ยา แต่ละรายการให้ดำเนินการจัดซื้อตามแผนการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาประจำปี โดยวิธีสอบราคา หรือประกวดราคา หรือวิธีการจัดซื้อทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามวงเงินที่กำหนดในแผนการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาประจำปี และทำสัญญาจะซื้อจะขายแบบราคาคงที่ไม่จำกัดปริมาณ ยกเว้นกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วน ทั้งนี้ เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ให้เป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด เป้าหมาย เมื่อทำแผนแล้ว ให้วางแผนดำเนินการจัดซื้อตามวงเงินในแผน ตามระเบียบพัสดุฯ ในช่วงเวลาที่ดำเนินการ ถ้ายาขาดจากคลัง ให้ซื้อวิธีตกลงราคาก่อน
ข้อ 11 วิธีดำเนินการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ให้หน่วยงานหรือส่วนราชการถือปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มติคณะรัฐมนตรี ประกาศและหนังสือแจ้งเวียนการปฏิบัติของกระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุขและที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ข้อ 12 ในการบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของหน่วยงานจะต้องจัดระบบการควบคุมตรวจสอบซึ่งกันและกันระหว่างผู้ทำหน้าที่จัดซื้อและผู้ทำหน้าที่ควบคุมคลังยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาให้รัดกุม สำหรับหน่วยงานที่มีความพร้อมอาจบริหารจัดการโดย แยกหน่วยจัดซื้อและหน่วยคลังยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาออกจากกันเพื่อให้มีระบบตรวจสอบกันที่ชัดเจน
รายการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาที่มีมูลค่าต่อหน่วยสูง วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ยาเสพติดให้โทษหรือยาที่มีส่วนประกอบเป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ให้หน่วยงาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และส่วนราชการ จัดระบบในการควบคุมกำกับและตรวจสอบที่เข้มงวด รัดกุม และรายงานเป็นลำดับชั้น เป็นประจำทุกเดือนหรือรายไตรมาสตามความเหมาะสม
เป้าหมายข้อ 12 ระบบควบคุมตรวจสอบ แยกผู้รับผิดชอบ จัดซื้อ เก็บรักษา/เบิกจ่าย กุญแจคลัง 2 ชุด แยกผู้จัดเก็บกุญแจ ไม่เปิดประตูคลังตลอดเวลา จัดทำทะเบียนควบคุมเวชภัณฑ์ 2 ชุด แยกผู้รับใบเบิก และผู้จัดยาตามใบเบิก แยก การจ่ายของ/การลงบัญชีเบิกจ่าย วางระบบที่สามารถตรวจสอบการเบิกจ่ายจากคลังได้
ข้อ 13 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เขต และส่วนราชการ ต้องควบคุมและกำกับติดตามการบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา และวิเคราะห์ สังเคราะห์ รวมทั้งประเมินความเสี่ยงในการบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของหน่วยงานในจังหวัดและเขตหรือส่วนราชการ โดยให้สรุปรายงานเป็นรายไตรมาส และรายงานให้กระทรวงสาธารณสุขทราบ ปีละ 2 ครั้ง หลักเกณฑ์และแนวทางการควบคุมกำกับติดตามและรายงานผลการบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาให้เป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ 14 ให้หน่วยงาน ส่วนราชการรายงานผลการดำเนินงานจัดซื้อ การใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่มิ ใช่ยาให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อรวบรวมและสรุปผลการดำเนินการในการบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา และจัดทำราคาอ้างอิงยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ให้หน่วยงานหรือส่วนราชการใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการดำเนินการจัดซื้อต่อไป หลักเกณฑ์และแนวทางการรายงานผลการดำเนินงานจัดซื้อ การใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาให้เป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ 15 การสั่งใช้และการใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ให้คณะกรรมการตามข้อ 5 ของแต่ละหน่วยงาน จัดให้มีนโยบายและระบบการกำกับประเมินและตรวจสอบการใช้ (Utilization Evaluation) ทั้งในด้านประสิทธิผล ความคุ้มค่า และความปลอดภัย และรวมถึงการรายงานผลการกำกับ ประเมินตรวจสอบที่ชัดเจน
เป้าหมายข้อ 15 Utilization Evaluation เพื่อมั่นใจว่า การสั่งใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง เหมาะสม คณะกรรมการกำหนดรายการยา/เวชภัณฑ์ฯ ที่ต้องกำกับติตดามการใช้ จัดทำเกณฑ์มาตรฐานการใช้ กำกับติดตามว่าเป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่ สรุปผลการประเมินเสนอคณะกรรมการ เพื่อการวางแผนการดำเนินการต่อไป
ข้อพิจารณาการดำเนินการ คณะกรรมการเวชภัณฑ์ พิจารณา จัดให้มีนโยบาย ระบบ UE ในกลุ่มเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา
ข้อ 16 หัวหน้าหน่วยงาน หัวหน้าส่วนราชการ ต้องประกาศแนวปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการจัดซื้อจัดหา และการส่งเสริมการขายยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาไว้ในที่เปิดเผย และเป็นลายลักษณ์อักษร เกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการจัดซื้อจัดหาและการส่งเสริมการขายยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ให้เป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ 17 การบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาแต่ละประเภทให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและธรรมาภิบาล ให้เป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด เป้าหมาย กสธ.จะประกาศแนวทางปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ฯ
ข้อ 18 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เขต และส่วนราชการ พึงจัดกลไกส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร ให้มีการยกย่อง เชิดชูหน่วยงาน องค์กร หรือผู้ปฏิบัติงานที่มีการประพฤติปฏิบัติตามระเบียบและเกณฑ์จริยธรรมที่ดี รวมถึงกลไกการกำกับการปฏิบัติตามระเบียบและเกณฑ์จริยธรรม ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เขต และส่วนราชการวิเคราะห์ ประเมิน และรายงานการปฏิบัติที่สัมพันธ์กับการส่งเสริมการขายต่อกระทรวงสาธารณสุขทั้งที่ปฏิบัติและไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรม อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
ข้อ 19 เขต และส่วนราชการสามารถกำหนดแนวทางเพิ่มเติมเพื่อปฏิบัติตามระเบียบและประกาศ ทั้งนี้ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบและประกาศแนบท้ายระเบียบนี้
ข้อ 20 ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขรักษาการและให้มีอำนาจในการออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้ และในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
เขตสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (ร่าง) ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการบริหารจัดการ ด้านยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาฯ พ.ศ.... 1. คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด คณะกรรมการบริหารเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาฯ 10. 9. กรรมการ 2. 3. บัญชีรายการยา/เวชภัณฑ์ฯ แผนจัดซื้อประจำปี Utilization Evaluation จริยธรรม หลักเกณฑ์ฯ 6. 4. แผนจัดซื้อร่วม สำรองร่วม/คลังร่วม จัดซื้อตามระเบียบพัสดุฯ 5. กรอบบัญชีรายการยา/เวชภัณฑ์ฯร่วม อนุมัติ กำกับ จัดทำ 8. รายงาน กำกับ ติดตาม สสจ. จัดซื้อรวม 11. เขตสุขภาพ รายงาน ศูนย์ข้อมูลเวชภัณฑ์ กสธ. 7. กระทรวงสาธารณสุข กำกับ ติดตาม กำกับ ติดตาม
ขอบคุณค่ะ 54