ปัญหาจริยธรรมทางธุรกิจ และแนวโน้มในอนาคต ปัญหาจริยธรรมทางธุรกิจ และแนวโน้มในอนาคต
กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก โลกเปลี่ยนจากสังคมปัจเจกชน (สมาชิกแต่ละคนจะพึ่งตนเอง กระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ห่างไกลกัน ต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อตนเอง) สังคมชุมชนการพัฒนา โลกเปลี่ยนจากระบบกรรมสิทธิ์ถือครอง ระบบสิทธิสมาชิกภาพ โลกเปลี่ยนจากการสนองความต้องการของบุคคล สู่ การสนองความต้องการของมวลชน
กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก (ต่อ) โลกเปลี่ยนจากนโยบายของรัฐแบบเฉพาะกิจ นโยบาย แบบสาธารณะ โลกเปลี่ยนจากสิ่งแวดล้อมที่สะอาด สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ โลกเปลี่ยนจากวิทยาการแบบเชี่ยวชาญเฉพาะ วิทยาการ เชิงประโยชน์สูงสุดอันศักดิ์สิทธิ์ โลกเปลี่ยนจากจริยธรรมเชิงนามธรรม จริยธรรม เชิงปฏิบัติการ
ที่มาของปัญหาจริยธรรมทางธุรกิจ ผลประโยชน์ส่วนตัวและความเห็นแก่ตัว การกดดันเพื่อให้ได้มาซึ่งกำไร จุดมุ่งหมายของธุรกิจกับค่านิยมส่วนตัว ความขัดแย้งต่างวัฒนธรรม
ประเภทของปัญหาจริยธรรมทางธุรกิจ จริยธรรมของความสัมพันธ์แบบส่วนตัว จริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของบริษัท จริยธรรมที่เกี่ยวกับกิจกรรมหรือหน้าที่ต่าง ๆ ของบริษัท จริยธรรมด้านบัญชี จริยธรรมด้านการตลาด จริยธรรมด้านการเงิน จริยธรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จริยธรรมในด้านอื่น ๆ ในส่วนอื่น ๆ ของบริษัท
ระดับของปัญหาจริยธรรมทางธุรกิจ ระดับบุคคล ระดับองค์การหรือบริษัท ระดับสมาคม ระดับสังคม ระดับประเทศ
ปัญหาจริยธรรมของธุรกิจในประเทศไทย การมุ่งเน้นพัฒนาภาคอุตสาหกรรม การพัฒนาอุตสาหกรรมที่มุ่งซื้อเครื่องจักร เทคโนโลยี และวัตถุดิบมาจากต่างประเทศ การให้รายได้ที่ต่ำ และการโยกย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงาน การลงทุนอุตสาหกรรมด้านการผลิตที่เน้นเครื่องจักรและ เทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยที่ไม่มีความรู้และความเข้าใจ มาก่อน
สรุปปัญหาจริยธรรมของธุรกิจในประเทศไทย จริยธรรมที่มีต่อเศรษฐกิจ จริยธรรมต่อแรงงาน จริยธรรมที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนแปลงสำหรับอนาคตของจริยธรรมทางธุรกิจ วิกฤตความเชื่อมั่นของสาธารณชน การเน้นคุณภาพชีวิตการทำงาน การลงโทษต่อพฤติกรรมที่ผิดจรรยาบรรณ บทบาทของสื่อและสาธารณชน การเปลี่ยนแปลงรูปแบบและจรรยาบรรณของบริษัท เป้าหมายของการร่วมกันเพื่อการปฏิรูป
ข้อเสนอแนะเพื่อลดพฤติกรรม ขาดจริยธรรมในองค์การ รับคนที่มีจริยธรรมเข้าทำงาน กำหนดนโยบายองค์การ รวมทั้งกฎระเบียบต่าง ๆ ในการปฏิบัติ ผู้บริหารต้องเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติ กำหนดเป้าหมายการทำงานและประเมินผลด้านจริยธรรม มีการอบรมด้านจริยธรรม ตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง มีกลไกต่าง ๆ เช่น จัดให้มีที่ปรึกษาทางด้านจริยธรรม
กรณีศึกษาปัญหาจริยธรรม 1 กรณีผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ถูกภรรยาของนายอูริก วูล์ฟกัง นักธุรกิจชาวเยอรมันกล่าวหาว่ารับเงิน จำนวน 400,000 บาท เพื่อช่วยเหลือเรื่องการนำเรือยอชต์เข้าประเทศ จากการสอบสวนเป็นการภายในของ นสพ. พบว่า ผู้สื่อข่าวได้รับเงินจริง แต่อ้างว่าเป็นค่าทนายความที่เซ็นรับแทนเพื่อนที่เป็นทนายความคดีเรือยอชต์หนีภาษีของนายอูริก วูล์ฟกัง หนังสือพิมพ์เห็นว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม และต่อมาผู้สื่อข่าวคนดังกล่าวตัดสินใจลาออก ดังนั้น คณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติจึงมีมติรับทราบ
กรณีศึกษาปัญหาจริยธรรม 2 กรณีแจกไวน์ในงานเลี้ยง โดยมีใบปลิวแจกไปตามที่ต่าง ๆ ระบุว่า ทีมงานส่วนหนึ่งของหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นไปงานเลี้ยงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย จัดเลี้ยงให้ที่โรงแรมดุสิตธานี และหลังงานเลี้ยงมีการแจกไวน์ขวดละ 20,000 บาท ซึ่งนายกวี จงกิจถาวร บรรณาธิการหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นยอมรับว่ามีเรื่องนี้เกิดขึ้นจริง และหลังงานเลี้ยงมีการแจกไวน์ แต่เป็นขวดละ 5,800 บาท และได้สั่งให้นำไวน์ไปคืนทุกขวด
กรณีศึกษาปัญหาจริยธรรม 3 สุดา เป็นผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัท ขายดี จำกัด ซึ่งขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับโรงพยาบาล สุดา ขายสินค้าให้โรงพยาบาลแห่งหนึ่งมูลค่าสิบล้านบาทโดยบันทึกแจ้งว่า ทางโรงพยาบาลขอบริจาคเงินจากบริษัทห้าแสนบาท แล้วทำการเบิกเงินห้าแสนบาท โดยออกเป็นเช็คเงินสด และสุดาเซ็นรับไปจากฝ่ายการเงิน โดยแจ้งว่าจะนำไปบริจาคให้โรงพยาบาล เมื่อมีการซื้อขายเสร็จแล้ว สุดาเขียนรายงานบันทึกไว้ว่าได้มอบเงินให้โรงพยาบาลแล้ว ตามข้อเท็จจริงโรงพยาบาลไม่ได้ขอบริจาคแต่อย่างใด แต่สุดานำเอาเช็คไปขึ้นเงินสดแล้วเข้ากระเป๋าตัวเอง กรณีนี้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต สุดาประพฤติผิดจริยธรรม มีความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงถึงขั้นไล่ออกจากงานได้