สำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง
โรงเรียนชาวนาจังหวัดอ่างทอง
ความเป็นมา เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2552 ณ ตำบลเทวราช อำเภอไชโย งบประมาณสนับสนุนเพิ่มเติมจากสำนักปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง) การดำเนินกิจกรรมได้รับความร่วมมือจากผู้เข้ารับการอบรมเป็นอย่างดี ผู้เข้ารับการอบรม คือ เกษตรกรแกนนำและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร (สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดและสำนักงานเกษตรอำเภอ) วิทยากรหลัก คือ อาจารย์พรรณพิมล ปันคำ ปราชญ์ชาวบ้านตำบลศรีเมืองชุม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย วิทยากรร่วม คือ อาจารย์สุวัฒน์ ทรัพยะประภา อาจารย์ผ่าน ปันคำ และอาจารย์ภักดี ใจคำ
ระยะเวลาเรียน 20 สัปดาห์ หลักสูตร ระยะเวลาเรียน 20 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 5 ชั่วโมง
ตัวอย่าง สัปดาห์ที่ 1 วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนร่วมพิจารณาเสนอข้อคิดเห็นปัญหาการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เนื้อหา สภาพการทำการเกษตรในปัจจุบัน, การใช้สารพิษ สารเคมีในการทำการเกษตรกับการดูแลสุขภาพ, การตัดสินใจร่วมกระบวนการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงสู่การทำการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ เป็นการลดต้นทุนและปลอดภัย
ผู้เรียนร่วมพิจารณาเสนอข้อคิดเห็นปัญหาการทำอาชีพเกษตรและตัดสินใจร่วมกระบวนการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงสู่การทำการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ เป็นการลดต้นทุนและปลอดภัย
ตัวอย่าง สัปดาห์ที่ 13 วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนศึกษาระบบนิเวศน์ พัฒนาการของข้าว การเคลื่อนไหวของแมลง เน้น แมลงที่ทำลายพืชในแปลงเรียนรู้ เนื้อหา ระบบนิเวศน์และพัฒนาการของข้าวและการทำลายของแมลง, การสาธิตการทำปุ๋ยหมักแห้ง, การทำปุ๋ยน้ำ
ศึกษาระบบนิเวศ พัฒนาการของข้าว การเคลื่อนไหวของแมลง เน้น แมลงที่ทำลายพืชในแปลงเรียนรู้
ปี 2553 การขยายผล 1.หมู่ที่ 3 ตำบลมงคลธรรมนิมิต อำเภอสามโก้ 2.หมู่ที่ 4 ตำบลองครักษ์ อำเภอโพธิ์ทอง 3.หมู่ที่ 7 ตำบลจำปาหล่อ อำเภอเมืองอ่างทอง
ปี 2554 1.หมู่ที่ 4 ตำบลหลักแก้ว อำเภอวิเศษชัยชาญ 2.หมู่ที่ 5 ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก 3.หมู่ที่ 8 ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอวิเศษชัยชาญ 4.หมู่ที่ 5 ตำบลรำมะสัก อำเภอโพธิ์ทอง
รวม 4 ปี เป็นเจ้าหน้าที่ และเกษตรกร จำนวน 684 ราย ปี 2555 ขยายผลเพิ่ม 4 แห่ง คือ 1. หมู่ที่ 7 ต.ศาลาแดง อ.เมืองอ่างทอง เกษตรกร 50 ราย 2. หมู่ที่ 1 ต.ตรีณรงค์ อ.ไชโย เกษตรกร 50 ราย 3. หมู่ที่ 6 ต.วังน้ำเย็น อ.แสวงหา เกษตรกร 50 ราย 4. หมู่ที่ 4 ต.หนองแม่ไก่ อ.โพธิ์ทอง เกษตรกร 50 ราย - รุ่นต่อยอด (เจ้าหน้าที่ และเกษตรกร) จำนวน 50 ราย รวม จำนวน 250 ราย รวม 4 ปี เป็นเจ้าหน้าที่ และเกษตรกร จำนวน 684 ราย
ส่งเสริมการใช้สารธรรมชาติป้องกัน กำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น สารสะเดา และน้ำคั้นสับปะรด
ตารางเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตต่อไร่โดยวิธีชีวภาพ (โรงเรียนชาวนา) และแปลงที่ใช้สารเคมี ปี ๒๕๕๔ รายการ แปลงที่ใช้สารเคมี แปลงที่ใช้วิธีชีวภาพ จำนวน (กก.) จำนวนเงิน (บาท/ไร่) อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ ๒๕ ๕๕๐ ๑๐ ๒๒๐ ค่าหว่าน ๕๐ ค่าเตรียมดิน (ตีดิน, ทำเทือก) ยาคุมเลน ค่าฉีดยาคุมเลน ยาคุมหญ้า ค่าฉีดยาคุมหญ้า ๔๐๐ ๒๐๐ ๑๐๐ การใส่ปุ๋ย - ครั้งที่ ๑ (ข้าว ๒๕-๓๐ วัน) ๑๖-๒๐-๐ ค่าหว่านปุ๋ย - ครั้งที่ ๒ (ข้าว ๔๕-๕๐ วัน) ๑๖-๒๐-๐ - ครั้งที่ ๓ (ข้าว ๖๐-๗๐ วัน) ๔๖-๐-๐ ๔๔๐ ๑๗๐ ปุ๋ยละลายช้า ฮอร์โมนบำรุงต้น+สารสะเดากำจัดแมลง ค่าฉีด ๕ ๑๕๐
ตารางเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตต่อไร่โดยวิธีชีวภาพ (โรงเรียนชาวนา) และแปลงที่ใช้สารเคมี ปี ๒๕๕๔ รายการ แปลงที่ใช้สารเคมี แปลงที่ใช้วิธีชีวภาพ จำนวน (กก.) จำนวนเงิน (บาท/ไร่) สารเคมีกำจัดศัตรูพืช - ครั้งที่ ๑ (๑๕-๒๐ วัน) ยาฆ่าแมลง ค่าฉีดยา - ครั้งที่ ๒ (๕๐-๖๐ วัน) ยาฆ่าแมลง - ครั้งที่ ๓ (๗๐ วัน) ยากำจัดโรคแมลง ๒๐๐ ๕๐ ๓๐๐ - ฮอร์โมนบำรุงต้น+สารสะเดากำจัดแมลง - ค่าฉีด - น้ำส้มควันไม้ป้องกันกำจัดหนู และเชื้อบิวเวอร์เรีย ๐.๕ ๑๐๐ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ๖๐ ค่าเช่านา ๑,๐๐๐ ค่ารถเกี่ยว ๕๐๐ ผลผลิต/ราคา (๑๐,๕๐๐ บาท/เกวียน) ๘๐๐ กก./๘,๔๐๐ บาท ต้นทุน/ไร่ ๕,๒๓๐ บาท กำไร ๓,๑๗๐ บาท ต้นทุน/ไร่ ๓,๗๕๐ บาทกำไร ๔,๖๕๐ บาท
อาจารย์พรรณพิมล ปันคำ และอาจารย์สุวัฒน์ ทรัพย์ประภา ร่วมเป็นวิทยากรในการความรู้เกี่ยวกับการลดต้นทุนการผลิต การป้องกัน และกำจัดศัตรูพืช
ประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับ เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตต่อไร่ เกษตรกรมีสุขภาพแข็งแรง ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง เกษตรกรสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดสู่เกษตรกรรายอื่นๆได้
ภาพกิจกรรมโรงเรียนชาวนา พิธีหว่านข้าว
ภาพกิจกรรมโรงเรียนชาวนา การเรียนการสอน
ภาพกิจกรรมโรงเรียนชาวนา การเรียนการสอน
ภาพกิจกรรมโรงเรียนชาวนา การเรียนการสอน