ฉลากและการโฆษณาเครื่องสำอาง โดย ภญ.คุณภร ตั้งจุฑาชัย กลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 18 ธันวาคม 2552
ฉลากเครื่องสำอาง
พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 นิยาม “ฉลาก” รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใด ๆ เกี่ยวกับเครื่องสำอางซึ่งแสดงไว้ที่เครื่องสำอาง ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อ หรือสอดแทรก หรือรวมไว้กับเครื่องสำอาง ภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อ และหมายความรวมถึงเอกสารหรือคู่มือสำหรับใช้ประกอบกับเครื่องสำอาง
สาระสำคัญของฉลากภาษาไทย 1. ชื่อเครื่องสำอางและชื่อทางการค้า- ต้องมีขนาดใหญ่กว่าข้อความอื่น 2. ประเภท/ชนิด 3. ชื่อสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง 4. วิธีใช้เครื่องสำอาง 5. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต/นำเข้า 6. ปริมาณสุทธิ 7. เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต
สาระสำคัญของฉลากภาษาไทย 8. เดือน ปีที่ ผลิต หรือปี เดือน ที่ผลิต 9. เดือน ปีที่หมดอายุ หรือปี เดือนที่หมดอายุ – กรณีเครื่องสำอางที่มีอายุการใช้น้อยกว่า 30 เดือน(ตามบัญชีท้ายประกาศฯ) 10. คำเตือน(ถ้ามี) - ฉลากต้องใช้ข้อความภาษาไทยที่มองเห็นและอ่านได้ชัดเจน อาจมีข้อความอื่นหรือมีภาษาต่างประเทศด้วยก็ได้ ยกเว้น ชื่อของสารที่ใช้เป็นส่วนผสมฯ อาจใช้ภาษาไทย หรือเขียนภาษาไทยทับศัพท์ภาษาอังกฤษ หรือใช้ภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่งได้
สาระสำคัญของฉลากภาษาไทย เครื่องสำอางมีภาชนะบรรจุขนาดเล็กและมีพื้นที่แสดงฉลากน้อยกว่า 20 ตารางเซนติเมตรอย่างน้อยต้องแสดงข้อความ 1. ชื่อเครื่องสำอางและชื่อทางการค้าของเครื่องสำอาง และ 2. เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต ส่วนข้อความอันจำเป็นอื่นให้แสดงไว้ที่ใบแทรกหรือเอกสาร หรือคู่มือที่ใช้ประกอบเครื่องสำอางนั้นด้วย
บทกำหนดโทษ มาตรา 56 - ผู้ใดโดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดใน แหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือสาระสำคัญประการอื่นอันเกี่ยวกับเครื่องสำอาง….ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ หากผู้กระทำความผิดนั้น กระทำผิดซ้ำอีกภายในหกเดือนนับแต่วันกระทำผิดครั้งก่อน…ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
บทกำหนดโทษ มาตรา 57- ผู้ใดขายเครื่องสำอางที่มีการควบคุมฉลาก โดยไม่มีฉลาก หรือมีฉลากแต่ฉลากหรือการแสดงฉลากนั้นไม่ถูกต้อง…ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำโดยประมาท ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำของผู้ผลิตเพื่อขาย หรือผู้นำเข้าเพื่อขายเครื่องสำอางที่มีการควบคุมฉลาก ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- แนวทางการกล่าวอ้างสรรพคุณ
พิจารณาได้จากองค์ประกอบดังนี้ 1. ส่วนประกอบ(Composition) 2. บริเวณที่ใช้(Target site of application) 3. หน้าที่ตามวัตถุประสงค์หลัก(Intended main function) 4. การนำเสนอ(Product presentation) 5. ผลทางสรีรศาสตร์(Physiological effect) ที่มา: Appendix III - Asean Cosmetic Claim Guideline
การโฆษณาเครื่องสำอาง
ตอบข้อซักถาม