การแก้ปัญหากำลังคน การขาดแคลนตำแหน่งสำหรับบรรจุเป็นข้าราชการ เป็นปัญหาเรื้อรัง (ศึกษาร่วมกับ ก.พ. เพื่อหาแนวทางแก้ไข) ปี 2555 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขขอตำแหน่งเพื่อสำหรับบรรจุนักเรียนทุน และอื่น ๆที่จำเป็นต่อระบบบริการสุขภาพ แพทย์ 1,755 คน เภสัชกร 315 คน ทันตแพทย์ 596 คน อื่น ๆ 31,914 คน
การแก้ปัญหากำลังคน สร้างระบบสร้างงานแนวใหม่ (พนักงานกระทรวงสาธารณสุข) แก้ปัญหาขาดอัตราข้าราชการบรรจุ และสร้างความมั่นคงในระบบราชการ สำหรับกลุ่ม ที่จ้างด้วยเงินบำรุง
อาศัยอำนาจโดยมติ ครม. หรือเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ร่าง “ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยพนักงานกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. .....” อาศัยอำนาจโดยมติ ครม. หรือเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
บริหารงานโดย คณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข “กพส” มีปลัดกระทรวง สาธารณสุข เป็นประธาน บุคคลซึ่งได้รับการจ้างและได้รับค่าตอบแทนจากเงินรายได้ของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พนักงานกระทรวงสาธารณสุข เงินบำรุงตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หรือรายรับอื่น ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยความเห็นชอบจาก รมว.คลัง เงินรายได้
ตำแหน่งของ พกส. มี 3 กลุ่มตามลักษณะงาน 1. กลุ่มเทคนิคบริการและบริหารทั่วไป 2. กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะหรือกลุ่มที่ต้อง ปฏิบัติงานภายใต้ พรบ. วิชาชีพ 3. กลุ่มเชี่ยวชาญ รายละเอียดการกำหนดตำแหน่ง ลักษณะงานและ คุณสมบัติเฉพาะกลุ่มให้เป็นไปตามประกาศของ กพส.
การจ้าง พกส. ให้จ้างได้ตามความจำเป็น โดยคำนึงถึงภารกิจ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล สอดคล้องกับเป้าหมายการปฏิบัติราชการของหน่วยบริการ โดยได้รับความเห็นชอบจาก กพส. มีการโยกย้ายได้โดยความยินยอมของคู่สัญญา และหน่วยบริการทั้งสองฝ่าย พกส. ที่มีตำเหน่งและลักษณะงานเช่นเดียวกับข้าราชการ อาจได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับบัญชาหรือทำหน้าที่ทำนองเดียวกับข้าราชการได้ และมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ระบบการจ้าง
การบริหารงานบุคคล ว่าด้วยวินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ให้นำ พรบ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 หรือระเบียบการกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ.2537 มาใช้โดยอนุโลม
ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ ตามบัญชีเงินเดือนข้าราชการ หรือบัญชีค่าจ้างลูกจ้างประจำมาเป็นบัญชีค่าจ้างโดยอนุโลม ทั้งนี้ กพส. อาจกำหนดเงินเพิ่มอีก โดยให้เป็นไปตามนี้ กพส. กำหนด
การเพิ่มค่าจ้าง หรือเลื่อนเงินเดือนปีละ 1 ครั้ง (1 ตุลาคม) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการเพื่อเลื่อนเงินเดือน หรือรับโบนัส มีเงิน พตส. หรือเงินเพิ่มอื่นๆ ได้อีกที่มิใช่ค่าจ้างตามที่ กพส. กำหนด (เช่น เงินเพิ่มตามวุฒิ หรือความสามารถพิเศษ พื้นที่ทุรกันดาร พื้นที่พิเศษขาดแคลน)
สิทธิประโยชน์อื่นๆ ได้แก่ สิทธิประโยชน์อื่นๆ ได้แก่ - การลา - การรับค่าตอบแทนระหว่างเวลา - การรับค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลางาน - ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง - ค่าเบี้ยประชุม - กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานกระทรวงสาธารณสุข - สิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม - สิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ กพส. กำหนด