การพัฒนาสายอาชีพพนักงาน อาจารย์สุวิต ศรีไหม คณะเทคโนโลยีและการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เขตการศึกษาสุราษฎร์ธานี การพัฒนาสายอาชีพพนักงาน Developing Career
การพัฒนาสายอาชีพพนักงาน การพัฒนาสายอาชีพ ไม่ใช่เพียงการให้การฝึกอบรมเฉพาะเรื่องหรือการวางแผนการทำงานเท่านั้น เป็นการพัฒนาอย่างมีระเบียบแบบแผนและต่อเนื่องซึ่งมีจุดเน้นที่การสร้างและเพิ่มศักยภาพพนักงานในระยะยาว เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของทั้งองค์กรเองและพนักงาน
มุมมองขององค์กรและพนักงาน มุมมององค์กร วิเคราะห์ความต้องการกำลังคนในอนาคต กำหนดขั้นตอนการพัฒนาพนักงาน ประเมินศักยภาพและความต้องการพัฒนา ดำเนินการจัดระบบการพัฒนาพนักงาน มุมมองพนักงาน วิเคราะห์ศักยภาพและความสนใจของพนักงาน ประเมินทางเลือกทั้งภายนอกและภายในองค์กร วางแผนอาชีพและเป้าหมายชีวิตของพนักงาน สร้างการเปลี่ยนแปลงตามความสนใจและเป้าหมาย สายอาชีพของพนักงาน
กระบวนการพัฒนาสายอาชีพ ขั้นการประเมิน (Assessment phase) ขั้นการชี้ทางอาชีพ (Direction phase) ขั้นการพัฒนา (Development phase)
ขั้นการประเมินพนักงาน เพื่อค้นหาจุดอ่อน จุดแข็ง และความสนใจของพนักงาน การประเมินจะทำให้พนักงานสามารถเลือกสายงานที่เหมาะสมกับตนเองได้ การประเมินจะทำให้ค้นพบจุดอ่อนของพนักงานที่ต้องปรับปรุง การประเมินจะประกอบด้วยการประเมินพนักงาน (Self-assessment) และการประเมินองค์กร (Organizational assessment)
การประเมินโดยพนักงาน การประเมินทักษะและความถนัด (Skills assessment) การประเมินความสนใจ (Interest inventory) การประเมินคุณค่าส่วนบุคคล (Values clarification)
การประเมินโดยองค์กร ศูนย์การประเมิน (Assessment center) การทดสอบทางจิตวิทยา (Psychological testing) การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance appraisal) การพิจารณาเลื่อนขั้น ตำแหน่ง (Promotability forecasts) การสืบทอดตำแหน่ง (Succession planning)
ขั้นการชี้ทางอาชีพ ขั้นการชี้ทางอาชีพเป็นการพิจารณาและตัดสินใจเกี่ยวกับสายอาชีพของพนักงานและขั้นตอนการก้าวสู่สายอาชีพที่เหมาะสม ความสามารถของพนักงาน (Competencies) เป็นเครื่องมือหนึ่งในการพิจารณาเพื่อชี้ทางเลือกให้แก่พนักงาน
เครื่องมือเพื่อการชี้ทางอาชีพแก่พนักงาน การให้คำปรึกษาส่วนตัว (Individual career counseling) การบริการสารสนเทศ (Information services) การประกาศตำแหน่งงาน (Job-posting systems) การรวบรวมทักษะ ความรู้ ความสามารถ (Skills inventories) เส้นทางอาชีพ (Career paths) ศูนย์พัฒนาอาชีพ (A career resource center)
เส้นทางอาชีพ (Career Paths) พนักงานต้อนรับ เสมียนประจำ บาร์เครื่องดื่ม ผู้จัดการส่วนเครื่องดื่ม ผู้ช่วยผู้จัดการร้านอาหาร ผู้จัดการร้านอาหาร พนักงานประจำรถ บริกร พนักงานประจำครัว พนักงานจ่ายตลาด ผู้ช่วยพ่อครัว พ่อครัว
ขั้นการพัฒนาอาชีพ วิธีการพัฒนา ขั้นการพัฒนาเป็นกระบวนการที่จะทำให้พนักงานมีทักษะ ความรู้ ความสามารถ เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายในสายงานอาชีพของตนเอง วิธีการพัฒนา ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring) การสอนงาน (Coaching) การโยกย้ายตำแหน่ง (Job rotation) การช่วยเหลือค่าเล่าเรียน (Tuition assistance programs )
แนวคิดเพื่อการพัฒนาตนเอง สร้างเป้าหมายส่วนตัวและกำหนดเป้าหมายที่เป็นไปได้ การไปถึงเป้าหมายเป็นความรับผิดชอบของคุณด้วย ไม่ใช่ขององค์กรฝ่ายเดียว การเพิ่มพูนทักษะ ความรู้มาก่อนการเร่งก้าวหน้าในหน้าที่การงาน พูดคุยกับคนที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณได้ และขอคำแนะนำจากเขา ให้เวลาและลงทุนลงแรงกับเป้าหมายของคุณ
แนวคิดเพื่อสร้างความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน จงจำไว้ว่าผลการปฏิบัติงานเป็นสิ่งสำคัญ แต่ทักษะความสัมพันธ์เป็นตัวตัดสิน ต้องรู้ว่าองค์กรให้ความสำคัญกับอะไร พยายามนำเสนอทางออก ไม่ใช่การบ่นหรือสร้างปัญหา เล่นเป็นทีม ไม่ใช่เด่นคนเดียว คิดถึงลูกค้าอยู่เสมอทุกลมหายใจ ต้องปฏิบัติงานราวกับว่าคุณกำลังทำสิ่งที่สำคัญมากๆ
Suwit Srimai Faculty of Technology & Management Prince of Songkla University, Thailand e-mail : suwit.s@psu.ac.th