สถานการณ์ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ 7 จังหวัดภาคใต้
จำนวนผู้สูงอายุ 60+ (คน) จำนวนและร้อยละของผู้สูงอายุในภาคใต้ประเทศไทย พ.ศ. 2538-2553 จำแนกตามเพศ ปี พ.ศ. จำนวนผู้สูงอายุ 60+ (คน) ร้อยละของผู้สูงอายุ รวม ชาย หญิง 2538 615,000 293,000 322,000 7.83 7.43 8.24 2543 716,000 339,000 377,000 8.58 8.09 9.08 2548 807,000 378,000 429,000 9.21 9.84 2553 910,000 423,000 487,000 9.97 9.23 10.73 ภาคใต้ คือ จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดตรัง จังหวัดพัทลุง จังหวัดสตูล จังหวัดยะลา จังหวัดระนอง จังหวัดกระบี่ จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
ปัญหาอุปสรรคการจัดกิจกรรมของชมรมของผู้สูงอายุเขตภาคใต้ 1. สถานการณ์ความไม่สงบทำให้รูปแบบการจัดกิจกรรมของชมรม แต่ละครั้งมีการเปลี่ยนแปลง ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมสั้นลง มีการรวมตัวของสมาชิกชมรมเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อออกกำลังกาย บริเวณใกล้บ้าน สมาชิกร่วมกิจกรรมแต่ละครั้งน้อยลง จะใช้วิธีสลับ สับเปลี่ยนกันมา เพราะความไม่ปลอดภัยขณะเดินทางจากบ้านไปร่วมกิจกรรมที่จุดนัด หมายของกลุ่ม 2. ไม่สามารถเยี่ยมผู้สูงอายุตามแผนที่กำหนดไว้ได้ หากมีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น 3. ความชัดเจนในการเป็นโครงการ Vertical Program ค่อนข้างช้า ทำให้การดำเนินงานใน พื้นที่ล่าช้าไปด้วย
สรุปผลการสำรวจประชากรสูงอายุไทยปี 2550 1. ด้านสถานการณ์สุขภาพผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ประเมินสุขภาพตนเองว่ามีสุขภาพดี คิดเป็นร้อยละ 43.0 โดยผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป พบว่ามีปัญหาสุขภาพมากกว่าผู้สูงอายุช่วงอื่น 2. ด้านการดูแลผู้สูงอายุ สถานภาพของผู้สูงอายุในครัวเรือนส่วนใหญ่อยู่ในฐานะหัวหน้าครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 56.4 ผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวมีเพียงร้อยละ 7.7
3. ด้านการทำงาน รายได้ และการออมของผู้สูงอายุพบว่า ผู้สูงอายุที่ทำงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 35.1 โดยภาคใต้มีจำนวนผู้สูงอายุที่ทำงานสูงสุดและส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรม 4. ด้านการเข้าถึงข้อมูลการศึกษา การเรียนรู้ตลอดชีวิตพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เข้ารับการศึกษาในลักษณะการศึกษานอกโรงเรียน ประมาณ 6 ล้านคน
5. สถานการณ์เด่นของผู้สูงอายุปี 2550 คือความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญและเตรียมสังคมไทยให้พร้อมรับกับการเป็นสังคมผู้สูงอายุ จึงมีสถานการณ์เด่น 4 กิจกรรม ได้แก่ การสรรหาผู้สูงอายุแห่งชาติประจำปี 2550 มาตรการทางภาษีสำหรับผู้สูงอายุ บทบาทท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุ และเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ 6. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ ดูแลผู้สูงอายุที่ควรให้ความสำคัญ การส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการรับรู้สิทธิของผู้สูงอายุ และบทบาทท้องถิ่นในการดูแลและจัดการผู้สูงอายุในท้องถิ่นตนเองได้
7. ผู้สูงอายุในภาคใต้ มีภาวะอารมณ์ซึมเศร้าสูงสุด (ร้อยละ 15.5) ผู้สูงอายุภาคเหนือ มีภาวะรู้สึกตนเองไม่มีคุณค่ามากที่สุด(ร้อยละ 10.9) ผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร มีปัญหาภาวะสุขภาพจิตในภาวะต่างๆ มากกว่าผู้สูงอายุภาคอื่นๆ โดยเฉพาะภาวะคิดฆ่าตัวตายสูงถึง ร้อยละ 5.2 รองลงมาคือ ผู้สูงอายุภาคเหนือ (ร้อยละ 4.1) ผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีภาวะคิดฆ่าตัวตาย ต่ำที่สุด ร้อยละ 1.4
สถานการณ์ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ 7 จังหวัดภาคใต้จากการระดมสมองของผู้เข้าร่วมประชุม โรคที่ผู้สูงอายุเป็นมากที่สุดในพื้นที่ของท่านคือโรคอะไรบ้าง ผู้สูงอายุในพื้นที่ของท่านมีกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไปเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ อย่างไร ผู้สูงอายุในพื้นที่ของท่านมีผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพามีจำนวนมากขึ้นหรือไม่ อย่างไร
เอกสารน่าสนใจ
ของฝาก