โครงสร้างต้นทุนการผลิตและราคาขาย ณ โรงงานสุรา (สุรากลั่นชุมชน) - เมื่อใดที่จะต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างราคาขาย - วิธีการคำนวณภาษีสรรพสามิต
โครงสร้างราคาขายจะเปลี่ยนแปลง เนื่องจาก โครงสร้างราคาขายจะเปลี่ยนแปลง เนื่องจาก มีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีสุรา ตามกฎกระทรวงการคลัง มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลด้านต้นทุน และกำไร ของผู้ได้รับอนุญาตฯ
คำนวณภาษีสรรพสามิตจากฐานใด? - อัตราภาษีตามมูลค่า - อัตราภาษีตามปริมาณ
อัตราภาษีตามมูลค่า มาตรา 8 จัตวา การเสียภาษีสุราตามมูลค่านั้น ให้ถือมูลค่าตาม(1) และ (2) โดยให้รวมภาษีสุราที่พึงต้องชำระด้วยดังนี้.- (1) ในกรณีสุราที่ทำในราชอาณาจักร (2) ในกรณีสุราที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
กรณีสุราที่ทำในราชอาณาจักร วิธีคำนวณภาษีสรรพสามิตตามมูลค่ามี 2 วิธีดังนี้ 1. ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี 2. ภาษีสรรพสามิต = ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมที่ยังไม่รวมภาษีสรรพสามิต x อัตราภาษีสรรพสามิต 1-(1.1 x อัตราภาษีสรรพสามิต) หมายเหตุ ความหมายคำว่า “มูลค่า” คือราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย
กรณีสินค้านำเข้าตามมาตรา 8 จัตวา (2) วิธีคำนวณภาษีสรรพสามิตตามมูลค่ามี 2 วิธีดังนี้ 1. ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต 2. ภาษีสรรพสามิต = (C.I.F + อากรขาเข้า + ค่าธรรมเนียมอื่นไม่รวมVat) x อัตราภาษีสรรพสามิต 1 - (1.1 x อัตราภาษีสรรพสามิต) หมายเหตุ มูลค่าคือ ราคา ซี.ไอ.เอฟ ของสินค้า + อากรขาเข้า + ค่าธรรมเนียม พิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน + ภาษีและค่าธรรมเนียมอื่น ตามที่จะได้กำหนดในพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่รวมถึง Vat + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อกระทรวงมหาดไทย
เมื่อใดจึงใช้สูตรหรือไม่ใช้สูตรในการคำนวณภาษีสุรา กรณีที่ 1 ทราบราคาขาย ซึ่งเป็นมูลค่าสินค้าตามกฎหมายสรรพสามิต และจะต้องไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) กรณีนี้ให้คำนวณภาษีโดย ไม่ต้องใช้สูตร แต่ให้คำนวณภาษีสรรพสามิตดังนี้.- ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต หมายเหตุ การคำนวณภาษีสุราดังกล่าวใช้ในกรณีที่ทราบราคาขาย หน้าโรงงาน และราคาขายดังกล่าวเป็นราคาที่รวมภาษีสรรพสามิต และ ภาษีเพื่อกระทรวงมหาดไทย เรียบร้อยแล้ว
กรณีที่ 2 ยังไม่ทราบราคาขายหน้าโรงงาน จะพบในรายที่ผู้รับใบอนุญาตรายใหม่เริ่มจะเข้าสู่ระบบภาษีสรรพสามิต และยังไม่สามารถตั้งราคาที่รวมภาษีที่พึงต้องชำระ ให้คำนวณภาษีสรรพสามิต โดยวิธีใช้สูตรดังนี้. ภาษีตามมูลค่า = ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมที่ยังไม่รวมภาษีสรรพสามิต x อัตราภาษีสรรพสามิต 1 - (1.1 x อัตราภาษีสรรพสามิต)
อัตราภาษีตามปริมาณ ภาษีสรรพสามิต = ปริมาณสินค้า x อัตราภาษี คำนวณภาษีสุราตามปริมาณดังนี้.- ภาษีสรรพสามิตตามปริมาณ = ขนาดบรรจุภาชนะ x ดีกรี x อัตราภาษี
ตัวอย่างการคำนวณภาษีสุรา กรณีทราบราคาขาย ณ โรงงานสุราที่ใช้เป็นมูลค่าในการคำนวณภาษี สหกรณ์ ก. ผลิตสุราขาวแรงแอลกอฮอล์ 40 ดีกรี บรรจุขวดขนาด 0.625 ลิตร ราคาขาย ณโรงงานตามที่แจ้งต่อกรมสรรพสามิต ขวดละ 42 บาท ให้คำนวณภาษีสรรพสามิตในอัตราตามมูลค่า และตามปริมาณ ? 1) คำนวณในอัตราภาษีตามมูลค่า อัตราภาษีร้อยละ 50 ของมูลค่า ภาษีสุรา = มูลค่า x อัตราภาษี แทนค่า = 42 x 50 % = 21.00 บาทต่อขวด ภาษีเก็บเพิ่มเพื่อมหาดไทย ร้อยละ 10 ของภาษีสุรา = 21.00 x 10% = 2.10 บาทต่อขวด **รวมภาษีที่พึงชำระ = 21.00 + 2.10 = 23.10 บาท ต่อขวด
2) คำนวณในอัตราภาษีตามปริมาณ อัตราภาษีลิตรละ 110 บาท แห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ (ที่ 100 ดีกรี) สุราขาว 100 ดีกรี ปริมาณ 1 ลิตร คิดเป็นภาษี = 110 บาท สุราขาว 40 ดีกรี ปริมาณ 1 ลิตร คิดเป็นภาษี = 110 x 40 บาท . 100 สุราขาว 40 ดีกรี ปริมาณ 0.625 ลิตร คิดเป็นภาษี = 40 x 0.625 x 110 บาท 100 ภาษีสุรา = 27.50 บาท ภาษีเก็บเพิ่มเพื่อมหาดไทย ร้อยละ 10 ของภาษีสุรา = 27.50 x 10 = 2.75 บาท **รวมภาษีที่พึงชำระ = 27.50 + 2.75 = 30.25 บาท ต่อขวด
ตัวอย่างการคำนวณภาษีสุรา กรณียังไม่ทราบราคาขายหน้าโรงงาน สหกรณ์ ข.ผลิตสุราขาวแรงแอลกอฮอล์ 40 ดีกรี บรรจุขวด ขนาด 0.625 ลิตรราคาขายขวดละ 11.75 บาท(เป็นราคาที่ยังไม่ รวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ)ให้คำนวณภาษีโดยวิธีใช้สูตร หมายเหตุ ภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ (ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทย 10%)
วิธีคำนวณ ภาษีสรรพสามิต = ราคาขาย ณโรงอุตสาหกรรม(ยังไม่รวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระ x อัตราภาษีฯ 1 - ( 1.1 x อัตราภาษีสรรพสามิต) ภาษีสรรพสามิต = 11.75 x 50% 1 - ( 1.1 x 50%) ภาษีตามมูลค่า = 13.05 ภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยร้อยละ 10 ที่พึงต้องชำระ = 13.05 x 10% = 1.31 ดังนั้น ราคาสุราซึ่งรวมภาษีสรรพสามิตและภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยร้อยละ 10 แล้ว (ราคาตามมูลค่า) = 11.75+13.05+1.31 = 26.11 บาท