การเตรียมการและการกำหนดท่าทีในการเจรจาต่อรองในระดับสากล กลุ่ม 1
รายงานที่จะนำเสนอ องค์การการค้าโลก: สมาคมคนรวยจริงหรือ (เดือนเด่น นิคมบริรักษ์, TDRI) มองย้อนหลัง : ไทยได้อะไรมา เสียอะไรไป (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์)
รายงานที่จะนำเสนอ (จันทวรรณ สุจริตกุล , ธนาคารแห่งประเทศไทย) มองไปข้างหน้า: การเจรจารอบใหม่ ไทยจะมีโอกาสได้อะไร และต้องเตรียมพร้อมอย่างไร (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์) การปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศ (จันทวรรณ สุจริตกุล , ธนาคารแห่งประเทศไทย)
องค์การการค้าโลก: สมาคมคนรวยจริงหรือ การกีดกันสินค้าจากประเทศยากจนลดน้อยลงหรือไม่ ในกรณีที่มีข้อพิพาททางการค้า ประเทศที่ยากจนได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ การเจรจาในประเด็นใหม่ เช่น TRIPS, SPS, TBT และ Customs Evaluation เป็นประโยชน์แก่ประเทศที่ยากจนหรือไม่ การให้ “แต้มต่อ” แก่ประเทศที่ยากจนใน WTO มีประโยชน์จริงหรือไม่
สรุปผลการศึกษา 1. การเปิดเสรีการค้าที่ผ่านมาเอื้อประโยชน์ให้แก่สินค้าส่งออกจากประเทศอุตสาหกรรมมากกว่าจากประเทศกำลังพัฒนา ภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนา (สิ่งทอ รองเท้า อาหารแปรรูป) สูงกว่าสินค้าจากประเทศอุตสาหกรรม การอุดหนุนสินค้าเกษตรมิได้ลดลงแต่อย่างใดเนื่องจากข้อตกลงมีช่องโหว่
สรุปผลการศึกษา 2. กลไกการเยียวยาข้อพิพาท (dispute resolution) ของ WTO กำหนดให้ผู้ที่ได้รับความเสียหาย “ไปทวงหนี้เอาเอง” โดยการใช้มาตรการตอบโต้ทางการค้า (retaliation)ทำให้ประเทศขนาดเล็กที่มีอำนาจทางการค้าน้อยเสียเปรียบ และในการใช้มาตรการตอบโต้ได้รับความเสียหายมากขึ้น
สรุปผลการศึกษา ไม่มีการวิเคราะห์ (cost benefit analysis) ของข้อผูกพัน 3. ประเด็นใหม่ๆ ที่ประเทศพัฒนาแล้วผลักดันเข้ามาใน WTO ไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้แก่ประเทศที่ยากจนแต่อย่างใดเนื่องจาก ไม่มีการวิเคราะห์ (cost benefit analysis) ของข้อผูกพัน
สรุปผลการศึกษา มาตรฐานที่กำหนดขึ้นอิงมาตรฐานของประเทศพัฒนาแล้ว ต้นทุนในการนำมาบังคับสูง ประเด็นในการเจรจามีความซับซ้อนทางเทคนิค
สรุปผลการศึกษา 4. “แต้มต่อ” ที่ให้กับประเทศกำลังพัฒนา ใน WTO โดยส่วนมากแล้วไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างจริงจังเนื่องจาก ไม่ผูกพัน (เช่นการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค) ไม่เป็นรูปธรรม (เช่นการกำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้วคำนึงถึงความจำเป็นของประเทศกำลังพัฒนาในกรณีที่มีข้อพิพาททางการค้า)
สรุปผลการศึกษา ไม่สอดคล้องกับความต้องการ (เช่นการอนุญาตให้ประเทศกำลังพัฒนากำหนดมาตรฐานสินค้านำเข้าเองได้ ในขณะที่ปัญหาสำคัญคือมาตรฐานสินค้าส่งออก) ไม่โปร่งใส เช่นในกรณีที่ GSP ผูกใช้เป็นเครื่องมือในการต่อรองนอกเวที
สรุปผลการศึกษา มีเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้สิทธิ (เช่น การอนุญาตให้ประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถปรับเปลี่ยนอัตราภาษีที่ต่างไปจากข้อผูกพันเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ แต่เปิดให้การกระทำดังกล่าวถูกตอบโต้จากผู้ที่ได้รับความเสียหาย)
สรุปแล้ว WTO เป็นสมาคมคนรวยจริงในทางปฏิบัติ แต่หากเราไม่เข้าร่วมการเจรจาแล้ว เราจะมีทางเลือก ที่ดีกว่าหรือ ???
ทำไมประเทศกำลังพัฒนาจึงเสียเปรียบ ขาดความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคและด้านกฎหมายจึง “ตามไม่ทัน” ถูกแรงกดดันนอกเวทีการเจรจา (GSP, AID) ขาดผู้นำ ขาดการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน เนื่องจากแต่ละประเทศมุ่งหวังเพียงผลประโยชน์ของตนเอง (Textiles, Agriculture, GSP)
ประเด็นที่ต้องพิจารณา 1. ทำอย่างไรประเทศกำลังพัฒนาจึงจะสร้างอำนาจต่อรองได้ เราจะใช้ประโยชน์จากประเทศจีนและอาเซียนได้อย่างไร เราจะทำให้ประเทศกำลังพัฒนาสละแนวคิดแบบ “ตัวใครตัวมัน” ซึ่งทำให้กลุ่มอ่อนแอได้อย่างไร
ประเด็นที่ต้องพิจารณา 2. การสร้างศักยภาพในการเจรจา เราจะต้องปรับปรุงตัวเองอย่างไร เราจะทำอย่างไรจึงจะมีบทบาทในเชิงรุกแทนที่จะเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ เราควรดำเนินการอย่างไรเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่ยากจนเป็นพันธกรณีผูกพันประเทศที่ร่ำรวย เราจะใช้ประโยชน์จากองค์กรพัฒนาต่างประเทศได้มากน้อยเพียงใด
ประเด็นที่ต้องพิจารณา 3. เราควรมีจุดยืนอย่างไรเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ การลงทุน นโยบายการแข่งขันทางการค้า เกษตร สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม และมาตรฐานสุขอนามัย