บทที่ 1 : บทนำ
1.2 เศรษฐศาสตร์คืออะไร ขอบเขตเนื้อหาของวิชาเศรษฐศาสตร์ 1.2 เศรษฐศาสตร์คืออะไร ขอบเขตเนื้อหาของวิชาเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ (Economics) คืออะไร นิยามของวิชาเศรษฐศาสตร์ แยกตามจุดเน้นได้สองประเภท คือ 1. คำนิยามที่เน้นถึงสวัสดิการ 2. คำนิยามที่เน้นถึงความหามาได้ยากของทรัพยากร
คำนิยามที่เน้นถึงสวัสดิการ “ศึกษาถึงสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับการกินดีอยู่ดี” เอ็ดวิน แคนนัน (Edwin Cannan) “ศึกษาถึงสวัสดิการทางเศรษฐกิจ” อาร์เทอร์ ซี. พิกู (Arthur C. Pigou)
คำนิยามที่เน้นถึงสวัสดิการ “ศาสตร์ว่าด้วยการดำรงชีวิตตามปกติของมนุษย์ โดยศึกษาการกระทำของสังคมและปัจเจกชน เฉพาะส่วนที่มี ความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับความบรรลุความอยู่ดีกินดี และการใช้วัตถุปัจจัยเพื่อการอยู่ดีกินดีนั้น” อัลเฟรด มาร์แชล (Alfred Marshall)
คำนิยามที่เน้นถึงความหามาได้ยากทรัพยากร “ คือศาสตร์ที่ศึกษาถึงการเลือกหาหนทางที่จะใช้ปัจจัยการผลิต อันมีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้บรรลุความสำเร็จตามจุดประสงค์ อันมีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน ” ไลออนเนล ซี. รอบบินส์ (Lionel C. Robbins)
ถ้านิยามให้ครอบคลุมจุดเน้นทั้งสองด้าน อาจนิยามได้ว่า ถ้านิยามให้ครอบคลุมจุดเน้นทั้งสองด้าน อาจนิยามได้ว่า เศรษฐศาสตร์ (Economics) หมายถึง วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ การตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้การผลิตและและการแบ่งปัน สินค้าและบริการ สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์และสังคม จนบรรลุสวัสดิการสูงสุด
ความหมายของคำสำคัญๆ ในนิยาม • สวัสดิการ • ความต้องการ • สินค้าและบริการ • ทรัพยากร
สวัสดิการ (Welfare) ในที่นี้หมายถึง สวัสดิการทางเศรษฐกิจ (Economic Welfare) คือ ความพึงพอใจหรือความอยู่ดีกินดีของมนุษย์และสังคม
ความต้องการ (Wants) ความปรารถนาที่จะได้มาซึ่งสิ่งที่จะสร้างหรือเพิ่มพูนสวัสดิการให้แก่ตน ความต้องการของมนุษย์โดยทั่วไปไม่มีขีดจำกัดหรือไม่มีสิ้นสุด
สินค้าและบริการ (Goods and Services) คือ สิ่งที่จะสร้างความสุข ความพอใจ หรืออรรถประโยชน์ (Utility) ให้แก่มนุษย์ได้ทั้งที่มีตัวตนและไม่มีตัวตน อาจเรียกสั้น ๆ ว่า “ทรัพย์”
สินค้าและบริการ (ทรัพย์) สินค้าและบริการ (ทรัพย์) ทรัพย์เสรี (Free Goods) เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีปริมาณไม่จำกัด ไม่มีราคา ได้แก่ อากาศ แสงแดด น้ำทะเล ฝน เศรษฐทรัพย์ (Economics Goods) - มนุษย์สร้าง (ผลิต) ขึ้น มีปริมาณจำกัด มีราคา ได้แก่ หนังสือ นาฬิกา เสื้อผ้า รถยนต์
ทรัพยากร (Resources) ในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง ทรัพยากรการผลิต (Production Resources) คือ สิ่งที่นำมาใช้ผลิตสินค้าหรือบริการประเภทเศรษฐทรัพย์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปัจจัยการผลิต (Fact Of Production)