งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การบริโภคอย่างอย่างสร้างสรรค์ รู้เท่าทัน และการใช้เวลาว่าง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การบริโภคอย่างอย่างสร้างสรรค์ รู้เท่าทัน และการใช้เวลาว่าง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การบริโภคอย่างอย่างสร้างสรรค์ รู้เท่าทัน และการใช้เวลาว่าง

2 การบริโภคของมนุษย์ อายตนะทั้ง 6 ตา บริโภค รูป มี สวย อัปลักษณ์
ลิ้น บริโภครส มี อร่อย จืด หวาน มัน เค็ม เผ็ด และปากบริโภคอาหาร จมูก บริโภคกลิ่น มี หอม เหม็น และอากาศหายใจ หู บริโภคเสียง มีไพเราะ แข็งกระด้าง ร่างกาย อันมีประสาทรับรู้ บริโภคสัมผัส มี นุ่ม แข็ง อ่อน และ จิตใจ อันมีสมองรับรู้ บริโภคธัมมารมณ์ หรือรับรู้อารมณ์ที่มากระทบ มี อ่อนโยน หยาบคาย ชอบใจ พอใจ รังเกียจ

3 ความหมาย “การบริโภค” การบริโภค เมื่อกล่าวขึ้นอย่างลอย ๆ อาจหมายถึง การรับประทานอาหาร แท้จริงแล้วการบริโภคนั้นมีความหมายว่า การใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเอง โดยสิ่งที่มีอยู่นั้นจะเสื่อมสภาพ ร่อยหรอ หรือหมดไปในชั่วระยะเวลาหนึ่ง และอาจต้องหาสิ่งใหม่มาเพิ่มเติมเมื่อต้องการใช้อีก มักใช้คู่กับคำว่า การอุปโภค หมายถึง การใช้สิ่งที่มีอยู่แต่จะไม่หมดไป หรือสามารถทดแทนได้เรื่อยๆ โดยไม่ต้องไปสรรหา รวมเป็น การอุปโภคบริโภค แต่ผู้ที่สามารถทำทั้งการบริโภคและการอุปโภคจะเรียกว่า ผู้บริโภค เพียงอย่างเดียว

4 ความหมาย “ผู้บริโภค” พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ มาตราที่ 3 ได้ให้ความหมายของคำว่า ผู้บริโภค หมายถึง ผู้ซื้อหรือผู้ที่ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้ได้ซื้อสินค้าหรือรับบริการด้วย

5 ปัจจุบันนักเรียนบริโภคอะไร

6 พฤติกรรมการบริโภคสื่อแบบทั่วไป
กระบวนการตัดสินใจในการเลือกรับและใช้ผลิตภัณฑ์ การรับบริการ การคิด ประสบการณ์และจัดกิจกรรมเพื่อตอบสนองความปรารถนา ความต้องการ ความพึงพอใจให้แก่ตนเอง

7 การบริโภคสื่อด้วยปัญญา
การวิเคราะห์ไตร่ตรอง ตัดสินใจเลือกรับหรือกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยความรู้ ความเข้าใจในประโยชน์ และคุณค่าอย่างแท้จริง เป็นคุณค่าของสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายโดยตรง และอาศัยปัญญา ตีราคาเป็นคุณค่าสนองปัญญา

8 การบริโภคสื่อโดยการรับรู้เท่าทันสื่อ
ความสามารถของแต่ละบุคคลเพื่อเข้าถึง เข้าใจ ตีความ ประเมิน และสร้างเนื้อหาสื่อในรูปแบบที่หลากหลาย ด้วยความตระหนักถึงผลกระทบของสื่อ โดยไม่ถูกครอบงำจากสื่อ และสามารถเสริมสร้างอำนาจของตน เพื่อให้สามารถใช่สื่อเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ และการดำรงชีวิต ทั้งของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม

9 ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้เท่าทันสื่อ
1. ทักษะการเข้าถึงสื่อ (Access Skill) 2. ทักษะการวิเคราะห์ (Analysis Skill) 3. ทักษะการประเมินเนื้อหาสาระ (Evaluate Skill) 4. ทักษะการสร้างสรรค์ (Creative Skill) 5. ทักษะการมีส่วนร่วม (Participate Skill)

10 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรู้เท่าทันสื่อ
1. อายุ (Age) 2. สภาพทางเศรษฐกิจ – สังคม (Social – Economic Status) 3. เพศ (Gender) 4. ความพิการ – การไร้ความสามารถ (Disability) 5. การออกแบบของเทคโนโลยีและเนื้อหา (Design) 6. ความตระหนักของผู้ใช้ (Consumer Awareness) 7. คุณค่าที่ได้รับรู้ (Perceive Value) 8. ความสามารถในตนเอง (Self – Efficacy) 9. เครือข่ายของสังคม (Social Network) 10. ส่วนประกอบทางครอบครัว (Family Composition) 11. สภาพที่ทำงาน (Office) 12. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน (Institutional Stakeholder)

11 อิทธิพลต่อพฤติกรรม การบริโภคของนักเรียน
สิ่งแวดล้อม โครงสร้างและสถานะทางสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา ความเชื่อ การได้รับความรู้ด้านโภชนาการ เทคโนโลยี การคมนาคมและการติดต่อสื่อสาร

12 ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภค
รายได้ทั่วไป นิสัยของบุคคล สิ่งแวดล้อมทางสังคม การคาดคะเนรายได้ในอนาคต การให้สินเชื่อในการบริโภค ระดับราคาสินค้าและบริการ

13 การบริโภคอย่างสร้างสรรค์

14 การบริโภคอย่างสร้างสรรค์
สุวรรณี คำมั่น, 2551 “สังคมไทยขาดภูมิคุ้มกันจากการบริโภคผ่านสื่อต่าง ๆ”

15 การบริโภคอย่างสร้างสรรค์
วิทยา เชียงกูล (2546) “แม้ประเทศไทยจะมีสื่อหลากหลายรูปแบบและมีเป็นจำนวนมาก แต่คนไทยยังคงใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อความบันเทิงมากกว่าที่จะใช้เป็นแหล่งเพื่อการศึกษา การเรียนรู้และพัฒนาศิลปวัฒนธรรม”

16 อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์, 2543
การบริโภคอย่างสร้างสรรค์ อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์, 2543 “ข้อมูลข่าวสารและการเรียนรู้จากสื่อ จะต้องเป็นสายใยเครือข่าว ที่ครอบคลุมคนทุกคนในสังคม ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต”


ดาวน์โหลด ppt การบริโภคอย่างอย่างสร้างสรรค์ รู้เท่าทัน และการใช้เวลาว่าง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google