บทที่ 5 บัญชีรายได้ประชาชาติ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ทิศทางการดำเนินงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
Advertisements

เศรษฐศาสตร์แรงงาน EC 471 บทบาทของรัฐบาลในตลาดแรงงาน
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา Personal Income Tax
Supply-side Effects of Fiscal Policy.
ค่าของทุน The Cost of Capital
บทที่ 4 รายได้ประชาชาติ National Income.
การคลังและนโยบาย การคลัง
รหัส หลักการตลาด.
การจัดการเงินทุนหมุนเวียน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตลาด
เศรษฐกิจในชีวิตประจำวัน
การพัฒนาเศรษฐกิจ ความหมาย
รายได้และรายจ่ายของตนเองและครอบครัว
หน่วยเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
การกำหนดนโยบายการคลังและบูรณาการของ 4 หน่วยงานหลัก ( )
“e-Revenue” “ภาษี”เรื่องง่าย ๆ.
Statement of Cash Flows
Revision Problems.
ทฤษฎีและนโยบายการเงิน Monetary Theory and Policy
นโยบายการคลัง Fiscal Policy
CHAPTER-15 “NATIONAL DEBT”
MK201 Principles of Marketing
การเปิดเผยข้อมูลและ นโยบายการบัญชี
ระบบการตลาดและ หน้าที่ทางการตลาด
สรุปใบงาน วิชา ระบบสารสนเทศทางการบัญชี บช. 342
คำถามของการบริหารการค้าปลีก
Topic 11 เงินเฟ้อ เงินฝืด การว่างงาน
สื่อการเรียนรู้ การตัดสินใจในการผลิต
บทที่ 8 นโยบายการคลัง(Fiscal Policy)
ปัญหาเศรษฐกิจที่สำคัญและแนวทางแก้ไข
ธุรกิจในโลกาภิวัตน์ Globalizing Business.
การบริโภค การออม และการลงทุน
รายได้ประชาชาติ.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
บทที่ 4 งบการเงิน.
บทที่ 6 การบัญชีสำหรับกิจการซื้อ-ขายสินค้า
งบลงทุน Capital Budgeting
กลุ่ม 6 เรื่องการตลาด.
บทบาทการบริหารงานสำนักงาน 1
มาตรการภาครัฐในการสนับสนุน การวิจัยและพัฒนา (R&D)
Chapter8 การบัญชีและการวิเคราะห์งบการเงิน
บทที่ 1 หลักการและหน้าที่ทางการเงิน
ผลสรุปการแบ่งกลุ่มย่อยประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ
การเงินธุรกิจ BUSINESS FINANCE
การวิเคราะห์ผลตอบแทนการลงทุน
บทที่ 8 การภาษีอากร และการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ.
การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ และ แผนธุรกิจ
สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3
จิตรา ณีศะนันท์ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี
หน่วยที่ 2 ต้นทุนสินค้าสำเร็จรูป
เด็กไทยรุ่นใหม่ใส่ใจการออม
ปรับค่าแรง300 บาทมีผลกระทบ เศรษฐกิจประเทศไทยจริง?
Chapter 11 ต้นทุนของเงินทุน
การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ ของกระแสเงินหลังหักภาษี
กระบวนการทางเศรษฐกิจ
ผลตอบแทน ผลตอบแทน ผลตอบแทน ผลตอบแทน ผลตอบแทนปัจจัยการผลิต (ค่าเช่า, ดอกเบี้ย, ค้าจ้าง ,กำไร) ปัจจัยการผลิต (ที่ดิน, ทุน, แรงงาน, ผู้ประกอบการ)
ทรัพยากรในทางเศรษฐศาสตร์
ดุลการชำระเงิน Balance of payment
การจ่ายค่าตอบแทนให้กับพนักงานขาย
ต้นทุนการผลิต.
บทที่ 4 การกำหนดขึ้นเป็นรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
ชื่อกิจการ เจ้าของกิจการ.
บทที่ 2 รายได้ประชาชาติ
บทที่1 การบริหารการผลิต
หน้าที่ทางการตลาด Marketing Function
บทที่ 1 บทนำ SIRIPONR SOMKHUMPA.
ผู้สอน ครูศรีวรรณ ปานสง่า
บทที่ 1 หลักการและโครงสร้างของภาษีอากร
บทที่ 5 ภาวะการเงิน.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 5 บัญชีรายได้ประชาชาติ บทที่ 5 บัญชีรายได้ประชาชาติ ระบบบัญชีแห่งชาติ บัญชีประชาชาติหรือบัญชีรายได้ประชาชาติ “วิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและวางนโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐและภาคเอกชน” บัญชีเศรษฐกิจเงินทุน บัญชีดุลการชำระเงิน บัญชีงบดุลแห่งชาติ ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต

กระแสการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจ เป็นพื้นฐานของการทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายได้ประชาชาติ หมายถึง การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ รวมถึงปัจจัยการผลิต โดยมีเงิน ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนของระบบเศรษฐกิจ ยิ่งมีการเปลี่ยนมือของเงินมากเท่าใด รายได้รวมของทั้งระบบเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นเท่านั้น ความหมาย หน่วยเศรษฐกิจ:ผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น ผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้บริโภค ภาคเศรษฐกิจ: การรวมหน่วยเศรษฐกิจต่างๆ ที่มีบทบาท หน้าที่ และเป้าหมาย เหมือนกันเข้าด้วยกัน เช่น ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ ภาครัฐบาล ภาคต่างประเทศ

ภาคเศรษฐกิจ ภาคครัวเรือน เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตคือ แรงงาน ที่ดิน ทุน ผู้ประกอบการ ได้ค่าตอบแทนเป็น ค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย กำไร ภาคธุรกิจ เป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการ และจำหน่าย ภาครัฐบาล :รายได้มาจากการเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ รายได้จากรัฐวิสาหกิจ และการกู้ยืม :รายจ่าย เพื่อการลงทุนสร้างสาธารณูปโภค ซื้อสินค้าจากภาคธุรกิจและครัวเรือน ภาคต่างประเทศ :รายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ :รายจ่ายจากการนำเข้าสินค้าทุน และบริโภค ยังมีการเคลื่อนย้ายทุนและปัจจัยการผลิตอื่นๆ ระหว่างประเทศ

ระบบเศรษฐกิจโดยทั่วไปมี 2 ส่วน ส่วนรั่วไหล (leakage ) หมายถึงรายได้ส่วนที่รั่วไหลออกนอกระบบ ทำให้รายได้ที่หมุนเวียนลดลง ได้แก่ -การออมของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ -ภาษี -นำเข้า -การไหลออกของเงินทุนไปยังต่างประเทศ ส่วนอัดฉีด (Injection) หมายถึง รายได้ที่เพิ่มเข้ามาในระบบ ทำให้รายได้หมุนเวียนเพิ่มขึ้น ได้แก่ -การบริโภค -การลงทุนของภาคธุรกิจ และภาครัฐบาล -ส่งออก -การไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศ

สินค้าและบริการส่งออก รายได้จากการขายปัจจัยการผลิต ( +) ( + ) สินค้าและบริการส่งออก สินค้าและบริการส่งออก ภาคต่างประเทศ สินค้าและบริการสั่งเข้า สินค้าและบริการสั่งเข้า ( - ) ( - ) รายได้จากการขายปัจจัยการผลิต ( + ) ( - ) ลงทุน การออม ภาคธุรกิจ ภาคครัวเรือน สถาบันการเงิน ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ ( - ) ( - ) ภาษี ภาษี ภาครัฐบาล ค่าใช้จ่ายของภาครัฐบาล ค่าใช้จ่ายของภาครัฐบาล ( + ) ( + )

ความหมายและการคำนวณรายได้ประชาชาติ มูลค่าของสินค้าและบริการ ขั้นสุดท้าย ที่ประเทศผลิตได้ในระยะเวลาหนึ่ง(โดยปกติคิดระยะเวลา 1 ปี) การคำนวณรายได้ประชาชาติ สามารถหาได้ 3 วิธี 1. วิธีคำนวณด้านผลผลิต (Product approach) 2. วิธีคำนวณด้านรายจ่าย (Expenditure approach) 3. วิธีคำนวณด้านรายได้ (Income approach)

การคำนวณด้านผลผลิต การคำนวณด้านผลผลิต ได้แก่การหาผลรวมของมูลค่าของสินค้า ขั้นสุดท้าย ที่ประเทศผลิตขึ้นได้ในระยะเวลา 1 ปี สามารถหาได้ 2 วิธี ดังนี้ 1. คิดเฉพาะมูลค่าสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย (final goods) 2. คิดผลรวมของมูลค่าเพิ่ม (value added) ของแต่ละขั้นตอนการ ผลิตเพื่อขจัดปัญหาการนับซ้ำ มูลค่าเพิ่ม = มูลค่าขาย - มูลค่าวัตถุดิบหรือสิ้นค้าขั้นกลาง

การคำนวณรายได้ประชาชาติโดยวิธีรวมมูลค่าเพิ่ม มูลค่าสินค้าขั้นกลาง ขั้นการผลิต มูลค่าขาย (ก) มูลค่าสินค้าขั้นกลาง (ข) มูลค่าเพิ่ม(ก – ข) ข้าวสาลี แป้ง ขนมปัง รวม 4 6 20 30 10 2 14 มูลค่าผลผลิต

วิธีการคำนวณด้านรายจ่าย 1. รายจ่ายเพื่อการบริโภคของภาคเอกชนภายในประเทศ ( C ) - เป็นรายจ่ายที่มีสัดส่วนมากที่สุดของรายจ่ายทั้งหมดประมาณ 55 % - รายจ่ายในการซื้อสินค้าถาวรขั้นสุดท้าย (durable goods) - รายจ่ายในการซื้อสินค้าไม่ถาวรขั้นสุดท้าย (non durable goods) - รายจ่ายค่าบริการ เช่นค่ารักษาพยาบาล ค่าชมภาพยนตร์ 2. รายจ่ายเพื่อการลงทุนของภาคเอกชนภายในประเทศ ( I ) - รายจ่ายเพื่อการก่อสร้างใหม่ - รายจ่ายเพื่อซื้อเครื่องมือเครื่องจักร - ส่วนเปลี่ยนแปลงสินค้าคงเหลือ - ไม่รวมการลงทุนในซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดรอง 3. รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการของภาครัฐบาล ( G ) - รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย - ไม่รวม รายจ่ายที่เป็นเงินโอน เช่น เงินบำนาญ เงินสวัสดิการ 4. การส่งออกสุทธิ ( X - M ) ดังนั้น รายได้ประชาชาติ = C + I + G + (X- M)

วิธีการคำนวณด้านรายได้ การคำนวณรายได้รวมทั้งหมดซึ่งเจ้าของปัจจัยการผลิตได้รับได้แก่ ค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย และกำไร จะรวมเฉพาะรายได้หรือผลตอบแทนจากปัจจัยการผลิตที่มีส่วนช่วยให้การผลิตสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น จึงไม่รวมเงินที่ได้รับมาเปล่าๆ เพราะถือว่าเป็นเพียงการโอนอำนาจซื้อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งเท่านั้น เรียกว่า “ เงินโอน” เช่นเงินสงเคราะห์ บริจาค เงินบำเหน็จบำนาญ เงินประกันสังคม เงินถูกลอตเตอรี่

วิธีการคำนวณด้านรายได้ 1. ค่าจ้างเงินเดือนและเงินทดแทนอื่นแก่ลูกจ้าง - รายได้ที่อยู่ในรูปตัวเงิน เช่น เงินเดือน ค่าจ้างรายวัน - รายได้ที่ไม่ได้อยู่ในรูปของเงิน เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเช่าพัก 2. รายได้ที่เอกชนได้รับในรูปของค่าเช่า - รวมทั้งค่าเช่าที่เจ้าของใช้ประโยชน์เองด้วย - ไม่รวมค่าเช่าที่อยู่ในรูปของบริษัทในรายการนี้ 3. กำไรและรายได้ของกิจการที่ไม่อยู่ในรูปของบริษัท เช่น ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ห้างหุ้นส่วน ร้านค้า สหกรณ์ 4. ดอกเบี้ยสุทธิ - ดอกเบี้ยที่เอกชนได้รับ ไม่รวมที่ได้รับจากรัฐบาลและการปล่อยกู้ให้ เพื่อการบริโภค 5. ค่าเสื่อมราคา 6. กำไรของบริษัทก่อนหักภาษี - ประกอบด้วย เงินปันผล ภาษีเงินได้บริษัท และ กำไรที่ยังไม่ได้จัดสรร 7. ภาษีทางอ้อมธุรกิจ - เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีการขาย ภาษีศุลกากร เป็นต้น

ความหมายของรายได้ประชาชาติ 1. ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น (GDP) มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ประเทศผลิตได้ภายในประเทศเป็นหลัก GDP = C + I + G + ( X – M ) 2. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (GNP) มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ประเทศผลิตได้โดยใช้พลเมืองของประเทศเป็นหลัก GNP = GDP + (รายได้สุทธิจากต่างประเทศ) รายได้สุทธิจากต่างประเทศ = รายได้ที่ได้รับจากปัจจัยการผลิตของไทยในต่างประเทศ – รายได้ที่ได้รับจากปัจจัยการผลิตของชาวต่างชาติในไทย

ความหมายของรายได้ประชาชาติ 3. ผลิตภัณฑ์ในประเทศสุทธิ (NDP) ในการผลิตสินค้าจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรในการผลิต และในแต่ละปี เครื่องจักรจะเกิดการสึกหรอ ดังนั้นถ้าต้องการเฉพาะส่วนของผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิต้องหักค่าเสื่อมราคาออก NDP = GDP – ค่าเสื่อมราคา 4. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ (NNP) ในทำนองเดียวกัน NNP = GNP – ค่าเสื่อมราคา 5. รายได้ประชาชาติ (NI หรือ NNP at factor cost) เนื่องจากรายได้ประชาติจำเป็นต้องคิดในราคาปัจจัยการผลิต NI = NNP – ภาษีทางอ้อมธุรกิจ

ความหมายของรายได้ประชาชาติ 6. รายได้ส่วนบุคคล (PI) เป็นรายได้ที่เจ้าของปัจจัยการผลิตได้รับจริงๆ PI = NI – (รายได้ที่ผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตไม่ได้ รับ) + (รายได้ที่ผู้เป็นเจ้าของการผลิตได้รับ) PI = NI – (ภาษีประกันสังคม + ภาษีรายได้บริษัท + กำไรที่ยังไม่ได้จัดสรร) + (เงินโอน + ดอกเบี้ยที่เอกชนได้รับจากรัฐบาล)

ความหมายของรายได้ประชาชาติ 7. รายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง (DI) - เป็นรายได้ที่เจ้าของปัจจัยการผลิตสามารถนำไปจับจ่ายใช้สอยได้จริง DI = PI - ภาษีเงินได้ส่วนบุคคล 8. รายได้เฉลี่ยต่อบุคคล ( per capita income) - เป็นรายได้ทีแท้จริงเฉลี่ยต่อคน - เนื่องจากแต่ละประเทศมีจำนวนประชากรไม่เท่ากัน - ใช้เพื่อแสดงความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ เช่น รายได้เฉลี่ยต่อบุคคล = GNP / จำนวนประชากรของประเทศ

รายได้ประชาชาติที่เป็นตัวเงินกับรายได้ประชาชาติที่แท้จริง รายได้ประชาชาติที่เป็นตัวเงิน (Money GDP หรือ Nominal GDP) เป็นการคำนวณผลรวมของมูลค่าสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ระบบเศรษฐกิจผลิตได้ ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ ราคาปัจจุบันหรือราคาตลาด รายได้ประชาชาติที่แท้จริง (Real GDP) เป็นการคำนวณผลรวมของมูลค่าสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ระบบเศรษฐกิจผลิตได้ ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยใช้ราคา ณ ปีฐาน (มีราคาคงที่โดยใช้ดัชนีราคา) เข้ามาปรับในการคำนวณ ทั้งนี้เพื่อขจัดปัญหาความผันผวนของราคาตลาดในแต่ละปี *ปีฐานคือปีที่มีภาวะปกติ

ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปริมาณ ราคา มูลค่า ส้ม เสื้อผ้าสำเร็จรูป Money GDP 100,000 5,000 8.00 250 800,000 1,250,000 2,050,000 ปีที่ 2 5,500 8.50 850,000 1,375,000 2,225,000

ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) การคำนวณรายได้ประชาชาติที่แท้จริง Money GDP GDP deflator X 100 Real GDP = ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) เป็นเครื่องมือวัดการเปลี่ยนแปลงระดับราคาสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคใช้จ่ายโดยทั่วไป ข้อแตกต่างระหว่าง GDP deflator กับ CPI Index คือ GDP deflator วัดระดับราคาสินค้าและบริการที่ประเทศผลิตได้ CPI Index วัดระดับราคาสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคใช้จ่ายโดยทั่วไป

ความสำคัญและประโยชน์ของรายได้ประชาชาติ ทำให้ทราบถึงความสามารถในการผลิตของแต่ละสาขาการผลิต ทำให้ทราบถึงโครงสร้างการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ ภาครัฐบาล และภาคต่างประเทศ ทำให้ทราบถึงระบบโครงสร้างรายได้จากการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ต่างๆ เช่น แรงงาน ที่ดิน ทุน และผู้ประกอบการ ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เช่น การกำหนดเป้าหมายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การค้าต่างประเทศ ใช้เปรียบเทียบฐานะทางเศรษฐกิจในระยะเวลาเดียวกันและแตกต่างกัน

ข้อพึงระวังในการวิเคราะห์รายได้ประชาชาติ รายได้ประชาชาติ ไม่ได้รวม ผลผลิตสินค้าและบริการที่ไม่ผ่านตลาด เช่น การปลูกผักสวนครัวทานในบ้าน,ทำงานแม่บ้าน รายได้ประชาชาติ ไม่ได้รวม ผลผลิตสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย เช่น รายได้จากการค้ายาเสพติด รายได้ประชาชาติ ไม่ได้คำนึงถึง การพักผ่อนของแรงงาน สวัสดิการทางเศรษฐกิจ รายได้ประชาชาติ ไม่ได้คำนึงถึง คุณภาพของสินค้าและบริการที่ระบบเศรษฐกิจผลิตได้ รายได้ประชาชาติ ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงส่วนประกอบของการผลิต ที่มีผลต่อสวัสดิการทางเศรษฐกิจ รายได้ประชาชาติ ไม่ได้คำนึงถึงสภาพแวดล้อม ความเสียหายจากการผลิตสินค้าและบริการ