งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 2 รายได้ประชาชาติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 2 รายได้ประชาชาติ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 2 รายได้ประชาชาติ

2 รายได้ประชาชาติ แนวคิดเรื่องรายได้ประชาชาติเริ่มมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 แต่ในช่วงนั้นไม่มีการจัดระบบที่แน่นอนจนกึ่งศตวรรษที่ 19 จึงมีการค้นคว้าวิธีอย่างจริงจัง รายได้ประชาชาตินำมาใช้ครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ หลังจากรัฐบาลของหลายประเทศก็นำเอาบัญชีรายได้ประชาชาติมาใช้ ประเทศไทย เริ่มทำปี 2493 แต่ในการทำระยะแรก ค่อนข้างจำกัดเนื่องจากข้อมูลสถิติเบื้องต้นของประเทศไทยยังไม่สมบูรณ์ แต่ต่อมาสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ปรับปรุงให้ระบบสมบูรณ์ในปี 2510 เป็นต้นมา

3 กระแสหมุนเวียนของเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจ 2 หน่วย คือ หน่วยครัวเรือน หน่วยธุรกิจ ระบบเศรษฐกิจ 3 หน่วย คือ หน่วยครัวเรือน หน่วยธุรกิจ รัฐบาล ระบบเศรษฐกิจ4 หน่วย คือ หน่วยครัวเรือน หน่วยธุรกิจ รัฐบาลและ ภาคต่างประเทศ ส่วนรั่วไหล หมายถึง ส่วนที่รั่วไหลออกนอกกระแสการหมุนเวียน (S, T, M) ส่วนอัดฉีด หมายถึง รายได้ส่วนที่รับเข้ามาในกระแสการหมุนเวียน (I, G, X)

4 การคำนวณรายได้ประชาชาติ
จากกระแสการหมุนเวียนของการใช้จ่ายและการผลิต ทำให้ทราบว่ามูลค่าผลผลิตทั้งหมดที่ระบบเศรษฐกิจผลิตขึ้นได้ มีค่าเท่ากับ รายได้รวมของภาคครัวเรือน แสดงว่าการคำนวณรายได้ประชาชาติมี 3 วิธีจากธุรกรรมทางเศรษฐกิจชุดเดียวกัน 1. ด้านผลผลิต (Product Approach) 2. ด้านรายจ่าย (Expenditure Approach) 3. ด้านรายได้ (Income Approach) ด้านผลผลิต หาผลรวมมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นทุดท้ายที่ประเทศผลิตได้ ในระยะเวลา 1 ปี คิดเฉพาะมูลค่าสินค้าขั้นสุดท้าย และคิดแบบมูลค่าเพิ่ม ด้านรายจ่าย C + G + I + X – M

5 การคำนวณรายได้ประชาชาติ
3. ด้านรายได้รวมรายได้จากผลตอบแทนการใช้ปัจจัยการผลิต คือ ค่าจ้าง ดอกเบี้ย กำไร ค่าเสื่อม กำไรของ บริษัท ก่อนหักภาษี และภาษีทางอ้อม GDP คือ มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ที่ผลิตขึ้นได้ภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด GNP คือ มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ที่ผลิตขึ้นด้วยปัจจัยการผลิต โดยพลเมืองของประเทศนั้น GNP(gross national product) = GDP + รายได้สุทธิต่างประเทศ NDP (net domestic product)คือ ผลิตภัณฑ์รวมประชาชาติในประเทศ (GDP) หักด้วยค่าเสื่อมราคา หรือ NDP = GDP – ค่าเสื่อม

6 การคำนวณรายได้ประชาชาติ
NNP (net national product) คือ ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (GNP) หัก ด้วยค่าเสื่อมราคา (NNP = GNP – ค่าเสื่อม) NI (National Income) คือ รายได้ที่เกิดขึ้นจริงจากการผลิต NI = NNP – ภาษีทางอ้อมธุรกิจ PI (personel income)คือ รายได้ส่วนบุคคลทั้งหมดก่อนการหักภาษี แตกต่าง จากรายได้ประชาชาติ (NI) คือรายได้ประชาชาติทั้งหมดไม่จำเป็นต้องเป็น รายได้ส่วนบุคคล เพราะแม้รายได้เกิดขึ้น แต่หน่วยผลิตไม่จ่ายให้ครัวเรือนก็ ไม่ถือเป็นรายได้ส่วนบุคคล เช่น ประกันสังคม เงินกำไรที่ยังไม่ได้นำมา จัดสรร ทั้งนี้ PI ยังรวมเงินได้ที่ได้รับมา เช่น เงินโอน

7 การคำนวณรายได้ประชาชาติ
PI = รายได้ประชาชาติ – (ประกันสังคม + กำไรที่ยังไม่ได้จัดสรร+ ภาษีรายได้บริษัท) + เงินโอน + ดอกเบี้ยที่เอกชนได้รับจากรัฐบาล DI ( dispossabel income)คือ รายได้ที่แสดงถึงอำนาจซื้อ DI = PI –ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา PER Capita Income = รายได้ประชาชาติ / ประชากร REAL GDP =

8 ประโยชน์ของรายได้ประชาชาติ
ทำให้ทราบมูลค่าผลผลิตของประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง ทำให้ทราบระดับการใช้จ่ายรวมและรายได้รวมทางระบบเศรษฐกิจ เพื่อทราบฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ปัจจุบันควรจะดูเรื่อง GDH (gross domestic happyness) ประกอบกับGDP เพราะเงินรายได้ไม่ใช่ความสุขแท้จริง การหารายได้ระชาชาติไม่ได้มองเรื่องสิ่งแวดล้อม คุณค่าของชีวิตฯลฯ งบประมาณของรัฐเทียบกับ GDP: งบสวัสดิการสังคม 2%ของ GDP (สวีเดน 31% ญี่ปุ่น 14.7% เกาหลี 5.9%)เก็บภาษีได้ 17% GDP มีรายจ่าย 25.2%GDP (ข้อมูลกุมภาพันธ์ 2553)


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 2 รายได้ประชาชาติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google