งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รายได้ประชาชาติ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รายได้ประชาชาติ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รายได้ประชาชาติ

2 รายได้ประชาชาติ หรือผลิตภัณฑ์ประชาชาติ
มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ประเทศผลิตได้ในระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติคิดระยะเวลา 1 ปี มูลค่า : P x Q

3 สินค้าและบริการขั้นสุดท้าย (Final Goods and Services)
สินค้าและบริการที่ผู้บริโภคซื้อไปเพื่อ การบริโภคหรือสินค้าและบริการที่ผู้บริโภค ซื้อไปมิใช่เพื่อการขายต่อ

4 ผู้ผลิต ครัวเรือน Expenditure Approach Product Approach
สินค้าและบริการ ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ ค่าตอบแทนปัจจัยการผลิต ผู้ผลิต ครัวเรือน ปัจจัยการผลิต สินค้าและบริการ ขั้นสุดท้าย Product Approach Expenditure Approach Income Approach

5 = มูลค่าสินค้าและบริการ ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ
รายได้ที่นำไปซื้อสินค้าและบริการ

6 วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติ
การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านมูลค่าของสินค้าและบริการที่ระบบเศรษฐกิจผลิตขึ้นในระยะเวลาหนึ่ง เรียกว่า "การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านผลผลิต" (Product Approach)

7 วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติ (ต่อ)
การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายได้รวมที่เจ้าของปัจจัยการผลิตได้รับในระยะเวลาหนึ่ง เรียกว่า "การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายได้" (Income Approach)

8 วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติ (ต่อ)
การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายจ่ายทั้งหมดที่เจ้าของปัจจัยการผลิตใช้ไปใน การบริโภคสินค้าและบริการ และการลงทุน เรียกว่า "การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายจ่าย" (Expenditure Approach)

9 การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านผลผลิต (Product Approach)
เป็นการหามูลค่าของผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิในราคาทุน (Net National Product at factor Cost : NNP at factor cost)

10 ขั้นตอนการคำนวณ คำนวณมูลค่า "ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้นในราคาตลาด" (Gross Domestic Product at market price : GDP at market price) จากค่า GDP จะนำมาหาค่า "ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นในราคาตลาด" (Gross National Product at market price : GNP at market price)

11 ขั้นตอนการคำนวณ (ต่อ)
คำนวณหาค่า "ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิในราคาตลาด" (Net National Product at market price : NNP at market price) ปรับค่า NNP ในราคาตลาดให้เป็น NNP ในราคาทุน ซึ่งในที่นี้ คือ รายได้ประชาชาติ (National Income : NI) นั่นเอง

12 ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้นในราคาตลาด (Gross Domestic Product at market price : GDP at market price) มูลค่ารวมตามราคาตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ที่ผลิตขึ้นได้ภายในอาณาเขตของประเทศนั้นๆ ภายในระยะเวลา 1 ปี โดยไม่คำนึงว่าผู้ผลิตจะเป็นพลเมืองของประเทศนั้นหรือไม่

13 การคำนวณค่า GDP คิดเฉพาะมูลค่าสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ทุกชนิดที่หน่วยธุรกิจขายให้แก่ผู้บริโภคในระยะเวลา 1 ปี คิดจากมูลค่าเพิ่ม (Value added method) มูลค่าเพิ่ม คือ ผลต่างระหว่างมูลค่าขายหักด้วยมูลค่าวัตถุดิบหรือสินค้าขั้นกลาง

14 มูลค่าเพิ่มของการผลิตแต่ละขั้น มูลค่าของผลผลิตแต่ละขั้น ต้นทุนการผลิต
250 630 380 รวม 50 200 ร้ายขายปลีก 100 โรงงานผลิตเสื้อ 45 55 โรงงานทอผ้า 30 25 โรงงานปั่นด้าย - ชาวไร่ฝ้าย มูลค่าเพิ่มของการผลิตแต่ละขั้น มูลค่าของผลผลิตแต่ละขั้น ต้นทุนการผลิต ขั้นการผลิต Value added method

15 ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น พ.ศ.2543
สาขาเศรษฐกิจ มูลค่า (ล้านบาท) การเกษตรกรรม 504,513 การเหมืองแร่และการย่อยหิน 116,798 การอุตสาหกรรม 1,570,842 การก่อสร้าง 150,333 การไฟฟ้าและการประปา 146,155 การคมนาคมและการขนส่ง 396,667 การค้าส่งและการค้าปลีก 784,478 การธนาคาร การประกันภัย และอสังหาริมทรัพย์ 157,306 ที่อยู่อาศัย 125,008 การบริหารและการป้องกันประเทศ 212,515 การบริการ 740,110 ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น (GDP) 4,904,725

16 ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นในราคาตลาด (Gross National Product at market price : GNP at market price)
มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายในราคาตลาดที่ผลิตขึ้นจากการใช้ทรัพยากรของประเทศในระยะเวลา 1 ปี โดยทรัพยากรของประเทศที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายนี้จะอยู่ ภายในประเทศหรือภายนอกประเทศก็ได้

17 GNP = GDP บวก มูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในต่างประเทศโดยใช้ปัจจัย การผลิตของประเทศ หักด้วย มูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในประเทศโดยใช้ปัจจัยการผลิตของต่างประเทศ

18 = ค่าจ้าง + ค่าเช่า + ดอกเบี้ย + กำไร
พิจารณา มูลค่าสินค้า ราคาสินค้า = ค่าจ้าง + ค่าเช่า + ดอกเบี้ย + กำไร 100 = แรงงาน ที่ดิน ทุน ผู้ประกอบการ รายได้

19 มูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในต่างประเทศ โดยใช้ปัจจัยการผลิตของประเทศ
ร้าน Pizza ในอเมริกา ( Pizza ราคา 100 บาท ) แรงงานคนไทย มูลค่าสินค้าที่ผลิตโดยปัจจัยการผลิตไทย = 50 บาท รายได้ของปัจจัยการผลิตไทยในต่างประเทศ

20 ผู้ประกอบการต่างชาติ
มูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในประเทศโดยใช้ปัจจัยการผลิตของต่างประเทศ ร้าน Pizza ในไทย ( Pizza ราคา 100 บาท ) ผู้ประกอบการต่างชาติ มูลค่าสินค้าที่ผลิตโดยปัจจัยการผลิตต่างประเทศ = 30 บาท รายได้ของปัจจัยการผลิตต่างประเทศในไทย

21 GNP = GDP บวก มูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในต่างประเทศโดยใช้ปัจจัย การผลิตของประเทศ หักด้วย มูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในประเทศโดยใช้ปัจจัยการผลิตของต่างประเทศ

22 GNP = GDP + [ รายได้ของปัจจัยการผลิตไทยในต่างประเทศ - รายได้ของปัจจัยการผลิตต่างประเทศในไทย ]

23 ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิในราคาตลาด (Net National Product at market price : NNP at market price)
มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายในราคาตลาด ซึ่งผลิตขึ้นโดยใช้ทรัพยากรของประเทศในระยะเวลา 1 ปี ภายหลังหักค่าใช้จ่ายในการใช้ทุน ของการผลิตสินค้าดังกล่าว

24 NNP at market price = GNP at market price - ค่าใช้จ่ายในการใช้ทุน (ค่าเสื่อมราคา)
ค่าใช้จ่ายในการใช้ทุน หรือ ค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินถาวร คือ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่สำรองไว้เป็นค่าซ่อมแซม ค่าเสื่อมราคาและค่าทรัพย์สินเสียหาย หรือสูญหาย

25 ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิในราคาทุน (Net National Product at factor cost : NNP at factor cost ) หรือ รายได้ประชาชาติ (Nation Income : NI ) NI หรือ NNP ณ ราคาทุน = NNPราคาตลาด ภาษีทางอ้อม NI หรือ NNP ณ ราคาทุน = NNPราคาตลาด ภาษีทางอ้อม หัก เงินช่วยเหลือ

26 ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น (GDP) บวก รายได้สุทธิจากต่างประเทศ
รายได้ประชาชาติ พ.ศ.2543 สาขาเศรษฐกิจ มูลค่า (ล้านบาท) ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น (GDP) 4,904,725 บวก รายได้สุทธิจากต่างประเทศ - 76,874 ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (GNP) 4,827,851 หัก ค่าใช้จ่ายในการใช้ทุน 728,287 ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิในราคาตลาด (NNP) 4,099,564 หัก ภาษีทางอ้อมธุรกิจ หักเงินช่วยเหลือ 484,251 รายได้ประชาชาติ (NI) 3,615,313

27 การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายได้ (Income Approach)
การรวมรายได้ประเภทต่างๆ ที่บุคคลได้รับ ในฐานะเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิต ในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง

28 1. ค่าตอบแทนแรงงาน (Compensation of Employees)
ค่าตอบแทนในรูปของตัวเงิน รวมถึงสิ่งตอบแทนอื่น ๆ ที่คนงานได้รับเพิ่มเติมนอกเหนือจาก ค่าตอบแทนในรูปตัวเงิน รวมถึงค่าตอบแทน ที่จ่ายในรูปสิ่งของ

29 2. รายได้ของบุคคลในรูปค่าเช่า (Rental Income of Persons)
ค่าเช่าที่เอกชนหรือบุคคลธรรมดาได้รับจาก การให้เช่าทรัพย์สินเพื่อการผลิต รวมถึง การประเมินค่าเช่าในกรณีที่บุคคลผู้เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้อยู่อาศัยเอง ค่าเช่าที่องค์การธุรกิจได้รับไม่นำมาคิดรวม เพราะคิดรวมแล้วในยอดกำไรขององค์การธุรกิจ

30 3. รายการดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest)
ดอกเบี้ยที่บุคคลได้รับจากองค์การธุรกิจและสถาบันการเงินต่าง ๆ หักด้วยดอกเบี้ยจาก หนี้สาธารณะ และหักด้วยดอกเบี้ยหนี้ของ ผู้บริโภค

31 4. กำไรของบริษัท (Corporation Profit) หรือ กำไรของนิติบุคคลที่จัดสรรก่อนหักภาษี
กำไรที่บริษัทได้รับจากการผลิตสินค้าและบริการโดยกำไรที่นำมาคิดรวมนี้จะต้องเป็นกำไรของบริษัทก่อนหักภาษี และก่อนจัดสรรจ่ายเป็น เงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น

32 กำไรของบริษัท = ภาษีเงินได้นิติบุคคล
+ เงินปันผล + กำไรที่มิได้จัดสรรเพื่อ สงวนไว้สำหรับบริษัท

33 5. รายได้ขององค์การธุรกิจที่มิใช่นิติบุคคล (Proprietors' Income)
กำไรและรายได้ของกิจการที่ไม่อยู่ในรูปของบริษัท เช่น กิจการเจ้าของคนเดียว การประกอบอาชีพอิสระ ห้างหุ้นส่วน สหกรณ์ประเภทต่าง ๆ

34 6. รายได้ของรัฐบาล (Government Income)
รายได้จากทรัพย์สินและการประกอบการ เช่น ค่าเช่า ดอกเบี้ย และเงินปันผล หรือ กำไรจากการดำเนินกิจการรัฐวิสาหกิจ

35 รายได้ที่ไม่นำมาคิดรวมในรายได้ประชาชาติ
เงินโอน (Transfer Payments) : เงินต่าง ๆ ที่บุคคล องค์การธุรกิจหรือรัฐบาลจ่ายให้แก่ประชาชน โดยที่ผู้รับไม่มีส่วนร่วมในการผลิตหรือไม่ก่อให้เกิดผลทางการผลิตสินค้าและบริการ เป็นเพียง "การโอนอำนาจซื้อ" (Purchasing Powers) จากผู้ให้ไปยังผู้รับ เท่านั้น

36 ประเภทของเงินโอน เงินโอนส่วนบุคคล เงินโอนนิติบุคคล เงินโอนจากรัฐบาล

37 รายได้ที่ไม่นำมาคิดรวมในรายได้ประชาชาติ (ต่อ)
เงินที่ได้รับจากการชำระหนี้หรือจากการขายทรัพย์สินที่มีอยู่แล้ว เงินที่ได้รับจากการกระทำผิดกฎหมาย

38 รายได้ประชาชาติจำแนกตามประเภทรายได้ ปี 2543 รายการ มูลค่า (ล้านบาท)
1. ค่าตอบแทนแรงงานของลูกจ้าง 1,542,959 2. ผลตอบแทนจากที่ดิน ทุน และการประกอบการ 2,159,189 2.1 รายได้จากการประกอบการที่มิใช่นิติบุคคล 1,362,820 2.2 กำไรของนิติบุคคลที่จัดสรรก่อนหักภาษี และกำไรนำส่งรัฐ 472,968 2.3 รายได้จากทรัพย์สินของครัวเรือน รัฐบาล และเงินโอนนิติบุคคล 323,401 หัก ดอกเบี้ยหนี้บริโภคของครัวเรือน 31,192 หัก ดอกเบี้ยหนี้สาธารณะ 55,643 รายได้ประชาชาติ (NI) 3,615,313

39 การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายจ่าย (Expenditure Approach)
การคำนวณรายได้ประชาชาติ โดยนำเอา รายจ่ายของครัวเรือนในการซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายรวมกัน ในระยะเวลา 1 ปี ขั้นตอนการคำนวณเหมือนด้าน Product Approach

40 GDP = Cd Id Gd Xd โดย Cd คือ รายจ่ายของภาคเอกชนเพื่อซื้อสินค้าที่ผลิตขึ้น ภายในประเทศ Id คือ รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าทุนที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ Gd คือ รายจ่ายของรัฐบาลเพื่อซื้อสินค้าที่ผลิตขึ้นภายใน ประเทศ Xd คือ รายจ่ายของต่างประเทศที่ซื้อสินค้าที่ผลิตขึ้น ภายในประเทศ

41 ในทางปฏิบัติ ข้อมูลที่เก็บได้คือ ค่า C, I, G และ X
เมื่อ C = Cd + Cm I = Id Im G = Gd + Gm X = Xd + Xm และ m : Import

42 มูลค่าสินค้าและบริการ ที่นำเข้าจากต่างประเทศ (M)
GDP = Cd Id Gd Xd GDP = (C - Cm) + (I - Im) + (G - Gm) + (X - Xm) GDP = (C + I + G + X) - (Cm + Im + Gm + Xm) มูลค่าสินค้าและบริการ ที่นำเข้าจากต่างประเทศ (M) GDP = C I G + ( X - M )

43 การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายจ่าย (Expenditure Approach)
การคำนวณ GDP รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน (Personal Consumption Expenditures : C) รายจ่ายเพื่อการลงทุนภายในประเทศของเอกชน (Personal Investment Expenditures : I) รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการภาครัฐ (Government Purchases of Goods and Services : G) การส่งออกสุทธิ (Net Export : X - M)

44 รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน (Personal Consumption Expenditures : C)
รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิต ขึ้นใหม่ ในงวดที่คิดรายจ่ายนั้น โดย เอกชน บุคคลธรรมดา และสถาบันที่ตั้งขึ้นโดยไม่หวังกำไร ประกอบด้วย รายจ่ายสำหรับสินค้าถาวร สินค้าไม่ถาวร และการบริการ รวมถึงรายจ่ายที่ไม่ได้อยู่ในรูปตัวเงินด้วย

45 รายจ่ายเพื่อการลงทุนภายในประเทศของเอกชน (Personal Investment Expenditures : I)
รายจ่ายของเอกชน องค์การธุรกิจและสถาบันที่ตั้งขึ้นโดยไม่หวังกำไร ในการซื้อทรัพย์สินถาวรที่ใช้ในการลงทุน

46 รายจ่ายเพื่อการลงทุน ประกอบด้วย
รายจ่ายในการก่อสร้าง อาคาร สถานที่ทำการ สำนักงาน ขึ้นใหม่ รวมถึงการก่อสร้างบ้านที่พักอาศัยขึ้นใหม่ของบุคคลธรรมดาด้วย รายจ่ายในการซื้อเครื่องมือถาวรที่ใช้ในการผลิต ส่วนเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือ (Change in business inventories)

47 ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ
ส่วนเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือ สมมติว่าทุกปี จะผลิตสินค้ามูลค่า 100 บาท 1 มค มีสินค้าคงเหลือ 10 บาท 31 ธค. 44 มีสินค้าคงเหลือ 12 บาท ปี 44 ขายสินค้าได้ 98 บาท GDPผลผลิต = GDPรายจ่าย 100 98 = + 2 แสดงว่าปี 44 มีสินค้าที่ผลิตเหลืออยู่ 2 บาท จึงต้องนำไปรวมในการคิด GDP ด้านรายจ่ายด้วย ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ = +2

48 ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ
ส่วนเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือ สมมติว่าทุกปี จะผลิตสินค้ามูลค่า 100 บาท 1 มค มีสินค้าคงเหลือ 10 บาท 31 ธค. 44 มีสินค้าคงเหลือ 7 บาท ปี 44 ขายสินค้าได้ 103 บาท GDPผลผลิต = GDPรายจ่าย 100 103 = - 3 แสดงว่าปี 44 มีสินค้าที่ผลิตไม่พอกับความต้องการต้องนำสินค้าที่ผลิตในปีก่อนๆ ออกมาขายจำนวน 3 บาท จึงต้องนำไปหักออกในการคิด GDP ด้านรายจ่าย ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ = - 3

49 ส่วนเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือ
= สินค้าคงเหลือปลายปี สินค้าคงเหลือต้นปี

50 รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการภาครัฐ (Government Purchases of Goods and Services : G)
รายจ่ายประเภทเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าล่วงเวลา รายจ่ายสุทธิในการซื้อสินค้า และบริการจากองค์การธุรกิจ รายจ่ายสุทธิในการลงทุนและรายจ่ายใน การป้องกันประเทศ

51 รายจ่าย ประเภทเงินโอน เงินสงเคราะห์ต่างๆ และรายจ่ายประเภทเงินอุดหนุนที่ให้แก่ องค์การธุรกิจ ค่าดอกเบี้ยหนี้สาธารณะ จะไม่นับรวมในยอดรายจ่ายของรัฐบาล เนื่องจากเป็นการจ่ายให้โดยรัฐบาลไม่ได้รับ สินค้าตอบแทน

52 การส่งออกสุทธิ (Net Export : X - M)
รายได้สุทธิที่เกิดจากการส่งสินค้าและบริการไปจำหน่ายต่างประเทศ การลงทุนในต่างประเทศ และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ

53 รายได้ประชาชาติทางด้านรายจ่าย ปี 2543 รายการ มูลค่า (ล้านบาท)
รายจ่ายในการอุปโภคบริโภคของประชาชน (C) 2,751,901 รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการของรัฐบาล (G) 560,767 รายจ่ายในการลงทุนในประเทศของเอกชน (I) 1,082,651 ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ 31,853 มูลค่าสินค้าและบริการส่งออก (X) 3,289,675 หัก มูลค่าสินค้าและบริการนำเข้า (M) 2,862,270 ความคลาดเคลื่อนทางสถิติ 50,148 ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น (GDP) 4,904,725

54 รายได้ส่วนบุคคล (Personal Income : PI)
รายได้ทั้งหมดที่ตกถึงมือบุคคล โดยคิดเฉพาะเงินได้ที่ตกทอดถึงมือบุคคลจริง โดยไม่คำนึงว่าเป็นรายได้ที่บุคคลได้รับในฐานะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตหรือไม่ และไม่คิดรวมรายได้ส่วนที่ไม่ตกทอดไปถึงมือบุคคล แม้ว่าจะเป็นรายได้ที่เป็นผลตอบแทนของเจ้าของปัจจัยการผลิตก็ตาม

55 - รายได้ที่อยู่ใน NI แล้วแต่เป็น รายได้ที่บุคคลไม่ได้รับ
PI = NI + รายได้ที่ไม่อยู่ใน NI แต่เป็น รายได้ที่บุคคลได้รับ

56 การคำนวณรายได้ส่วนบุคคล (PI) ปี 2543 รายการ มูลค่า (ล้านบาท)
รายได้ประชาชาติ (NI) 3,615,313 หัก ภาษีเงินได้นิติบุคคล 154,673 เงินออมของนิติบุคคล 318,295 เงินโอนจากนิติบุคคลให้รัฐบาล 7,090 รายได้ของรัฐบาล 49,202 บวก ดอกเบี้ยหนี้สาธารณะ 55,643 ดอกเบี้ยหนี้ของผู้บริโภค 31,192 เงินโอนจากรัฐบาล 32,621 เงินโอนจากต่างประเทศ 34,721 ผลตอบแทนจากการประกันสังคม 16,621 รายได้ส่วนบุคคล (PI) 3,256,851

57 การคำนวณรายได้ส่วนบุคคล (PI) ปี 2543 รายการ มูลค่า (ล้านบาท)
ค่าตอบแทนแรงงาน 1,542,959 ผลตอบแทนจากการประกันสังคม 16,621 รายได้จากการประกอบการที่มิใช่นิติบุคคล 1,362,820 รายได้จากทรัพย์สินของเอกชนและสถาบันที่ มิได้หวังกำไร 262,250 เงินโอนจากนิติบุคคล 4,859 เงินโอนจากรัฐบาล 32,621 เงินโอนจากต่างประเทศ 34,721 รายได้ส่วนบุคคล (PI) 3,256,851

58 รายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง / รายได้สุทธิส่วนบุคคล (Disposable Personal Income : DI)
รายได้ที่ประชาชนสามารถใช้จ่ายและเก็บออมได้ทั้งหมด ซึ่ง DI จะแสดงถึง "อำนาจซื้อ" (Purchasing Power) ที่แท้จริงของประชาชน

59 การประมาณรายได้ รายจ่าย และการออมทรัพย์ส่วนบุคคล ปี 2543 รายการ
มูลค่า (ล้านบาท) รายได้ส่วนบุคคล (PI) 3,256,851 หัก ภาษีเงินได้ 95,692 หัก เงินโอนให้รัฐบาล 5,339 หัก เงินสมทบการประกันสังคม 27,461 รายได้พึงจับจ่ายใช้สอย (DI) 3,128,359 หัก รายจ่ายของครัวเรือน 2,797,489 รายจ่ายเพื่อการบริโภค 2,751,901 ดอกเบี้ยหนี้บริโภค 31,192 เงินโอนให้ต่างประเทศ 14,396 เงินออมของครัวเรือน (Personal Savings) 330,870

60 รายได้เฉลี่ยต่อบุคคล (Per Capita Income)
รายได้ถัวเฉลี่ยของบุคคลในประเทศ คำนวณจาก ค่า GNP, NI, PI หรือ DI แล้วหารด้วยจำนวนประชากร มีประโยชน์สำหรับเปรียบเทียบฐานะเศรษฐกิจระหว่างประเทศ แสดงถึงฐานะทางเศรษฐกิจของประชากรในประเทศโดยเฉลี่ย และแสดงถึงระดับการ ครองชีพโดย เฉลี่ยของคนในประเทศ

61 รายการ รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรไทย ณ ราคาตลาด 2540 2541 2542 2543
Per Capita GDP (Baht) 78,093 75,594 74,946 78,594 Per Capita GNP 76,057 72,979 72,901 77,362 Per Capita PI 51,360 52,091 51,265 52,188 Per Capita DI 49,101 49,729 49,334 50,129 Population (1,000 Heads) 60,602 61,201 61,806 62,406

62 รายได้ที่แท้จริง หรือรายได้ ณ ราคาคงที่ (Real Income or Income at Constant Prices)
มูลค่าของรายได้ประชาติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยคิดในราคาของปีใดปีหนึ่งที่ต้องการใช้เป็น ปีหลักสำหรับการเปรียบเทียบ ซึ่งปีหลักดังกล่าวเรียกว่าเป็น "ปีฐาน" สามารถคำนวณได้ทั้งจากค่า GDP, GNP หรือ NI ได้ทั้งหมด

63 Real GDP (GDP at Constant Prices)
Real GDP ปีที่ n = Money GDP ปีที่ n GDP Price Index x 100 หมายเหตุ : GDP Price Index = GDP deflator

64 ตัวอย่าง ถ้า GDP at Current Price
ตัวอย่าง ถ้า GDP at Current Price .ในปี 2544 มีมูลค่า 4,500 ล้านบาท GDP Price Index (GDP deflator) ของปี 2544 เท่ากับ 148 จงหา Real GDP ของปี 2544 Real GDP ปีที่ n = Money GDP ปีที่ n GDP Price Index x 100 = 4,500 148 = 3, ล้านบาท

65 ปี พ.ศ. Money GDP (ล้านบาท) Real GDP 2540 4,732,610 3,072,615 2541
Money GDP and Real GDP (ปี 2531 เป็นปีฐาน) ปี พ.ศ. Money GDP (ล้านบาท) Real GDP 2540 4,732,610 3,072,615 2541 4,626,447 2,749,684 2542 4,632,132 2,871,521 2543 4,904,725 3,004,659

66 ปี พ.ศ. (ปี 2531 เป็นปีฐาน) (บาท) 2540 78,093 50,702 2541 75,594
Per Capita Money GDP and Per Capita Real GDP (ปี 2531 เป็นปีฐาน) ปี พ.ศ. Per Capita Money GDP (บาท) Real GDP 2540 78,093 50,702 2541 75,594 44,929 2542 74,946 46,460 2543 78,594 48,147

67 ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับรายได้ประชาชาติ
สินค้าและบริการขั้นสุดท้ายบางอย่างได้มีการผลิต จริง แต่ไม่ได้ซื้อขายผ่านตลาด จึงไม่มีการบันทึก ไว้ในรายได้ประชาชาติ สินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่มีการซื้อขายกันจริง แต่ไม่ได้มีการบันทึกรวมไว้ในรายได้ประชาชาติ เนื่องจากเป็นสิ่งผิดกฏหมาย

68 รายได้ที่เกิดจากอาชีพอิสระต่างๆ ที่ไม่มี การบันทึกหรือบันทึกต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้รายได้ประชาชาตินั้นต่ำกว่าความเป็นจริง รายได้ประชาชาติ ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อ เวลาว่างหรือเวลาพักผ่อน (leisure) ของบุคคล GDP43 = 500 ล้านบาท GDP44 = 1,000 ล้านบาท ทำงาน 8 ชั่วโมง / วัน ทำงาน 20 ชั่วโมง/วัน

69 รายได้ประชาชาติไม่ได้แสดงให้เห็นถึง การกระจายสินค้าและบริการว่าถูกแบ่งสรร อย่างไร
5 95 50 นาย ข นาย ก 100 GDP ประเทศ B ประเทศ A การกระจายรายได้

70 ส่วนประกอบของรายได้ประชาชาติ
การผลิตที่มีผลกระทบในทางลบต่อสังคม ส่วนรวม บุหรี่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล หนังสือลามก สินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ เป็นต้น

71 รายได้ประชาชาติแสดงสวัสดิการทางเศรษฐกิจ ที่สูงเกินความเป็นจริง
รายได้ประชาชาติไม่คำนึงถึงความเสียหายที่ การผลิตก่อให้เกิดขึ้นแก่สังคม สวัสดิการและคุณภาพชีวิตลดลง Social Cost สูง รายได้ประชาชาติแสดงสวัสดิการทางเศรษฐกิจ ที่สูงเกินความเป็นจริง ไม่ได้นำไปหักใน GDP


ดาวน์โหลด ppt รายได้ประชาชาติ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google